'ชาญวิทย์' ชมม็อบเอาป้ายผ้าคลุมทับอนุสาวรีย์ ปชต. ช่วยเสริมความขลังไม่มีทางถูกทุบทิ้ง


เพิ่มเพื่อน    

15 พ.ย.63 - นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Charnvit Kasetsiri ว่า Thailand Democracy Monument and Burma Shwe Dagon (อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและเจดีย์ชเวดากอง เมียนมาร์) ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว Aj. Craig Reynolds - Australia เคยเปรียบเทียบวัฒนธรรมสถานทั้งสองนี้ว่ามีความหมาย คล้ายคลึงกัน ในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค

เมื่อฟังแรก ๆ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไร ผมคิดว่ามหาเจดีย์ชเวดากอง ขลังกว่า ส่วนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ขลังน้อยกว่า หลายสิบปีผ่านไป ผมก็เริ่มเปลี่ยนใจ อนุสาวรีย์ของไทย ค่อยๆถูกต่อเติมความขลัง เพิ่มขึ้นที่ละเล็กทีละน้อย จากการเป็นจุดชุมนุมใหญ่ของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จากการแบกศพวีรชน ห่อผ้าขึ้นไปฟ้องประชาชนในเหตุการณ์ ครั้งนั้น จากการดัดแปลงให้กลายเป็นสวนดอกไม้ จากการกีดกันประชาชนออกไปให้ห่าง แม้แต่การเสนอให้ดัดแปลง เปลี่ยนรัฐธรรมนูญและพานแว่นฟ้า ให้เป็นพระรูป รัชกาลที่ 7 บ้าง หรือไม่ก็ให้ทุบทิ้งจากการพยายามลดบารมี รัศมีของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้ดำริให้ก่อสร้าง 2483/1940

แต่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็กลับขลังขึ้นๆจนกลายเป็นที่ชุมนุมใหญ่ เกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ กลายเปนภาพ background ที่ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาปีแล้วปีเล่า

จากช่วงทศวรรษ 2530s ถึง 2550s จนกระทั่ง 2560s ในทุกวันนี้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง คงทุบทิ้งไปง่าย ๆ ไม่ได้แล้ว ครับ
เหตุการณ์จากการชุมนุมเมื่อ 14 พ.ย. 2563 บอกเราว่า ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง change เดินทางมาถึงแล้วครับ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"