Together We Can ร่วมใจพัฒนาบ้านหนองโพด สู่หมู่บ้านต้นแบบทุกมิติ


เพิ่มเพื่อน    

 

Together We Can รวมกันเราทำได้ สสส.นำผู้ทรงคุณวุฒิ กก.บริหารแผนคณะที่ 6 สื่อมวลชนสัญจร ลงพื้นที่ศึกษากลไกสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งที่บ้านหนองโพด จ.มหาสารคาม เพียง 3 ปีโชว์ผลงานชุมชนต้นตำรับความสำเร็จ ทีมสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด จัดแสดงสรภัญญ์ ชุมชนน่าอยู่ เจาะลึกเบื้องหลังหมู่บ้านหนองโพด หมู่บ้านปลอดขยะ ประชาชนลด ละ เลิก เหล้า การจัดงานบุญ งานศพ ปลอดเหล้าทุกงาน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาวะที่ดี มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบทุกมิติ

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วย ผจก.สสส. เข็มเพชร เลนะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สสส.วีรพงษ์ เกรียงสินยศ กก.บริหารแผนคณะที่ 6 ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ฯลฯ นำคณะสื่อมวลชนสัญจรพื้นที่ตัวอย่างกลไกสภาผู้นำชุมชน เข้มแข็งที่บ้านหนองโพด จ.มหาสารคาม การพัฒนาหมู่บ้านให้เข้มแข็งน่าอยู่ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวไทย ถือเป็นภารกิจในการสร้างสังคมสุขภาวะของ สสส.ภายใต้ชุด โครงการชุมชนน่าอยู่ ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยใช้กลไกสภาผู้นำชุมชนเป็นกลไกสร้างความมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนชุมชนในประเด็นสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ เพื่อให้เป็นรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนของการสร้างเสริมสุขภาพ

 

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. กล่าวทักทายชุมชนพร้อมให้ข้อคิดว่า งานชุมชนน่าอยู่ 350 ชุมชน มีอะไรดีเป็นพิเศษ จึงได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของรุ่น แต่ละปี สสส.สนับสนุน 3-5,000 โครงการ ดังนั้น สสส.อยากเห็นการทำงานด้วยตาว่าบ้านหนองโพดมีอะไรดีเด่น สสส.อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี ที่นี่มีความหลากหลายทำให้พื้นที่ชุมชนพึ่งพาตัวเอง พัฒนาสุขภาวะ มีสุขภาพที่ดีในหลายรูปแบบ สสส.ทำงานครบ 20 ปี ปลายปี 2564 จะมีการจัดงานฉลอง มีตัวแทนรวมคนรูปแบบชุมชนต้นตำรับ ผู้ใหญ่โชคชัย แห่งบ้านหนองกลางดง เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ของสภาผู้นำชุมชนขยายผลเข้าไปในหลายพื้นที่ คีย์แมนสำคัญคือหมออวยพร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจุดประกายการทำงานมากกว่า 3,000 ชุมชน ที่ประยุกต์โมเดล

 

ผมพารองนายกรัฐมนตรี อนุทิน ชาญวีรกูล เข้ามาดูงานที่ จ.สุรินทร์ บ้านสำโรง เป็นที่ประทับใจ เสมือนหนึ่งเอาไฟจุดลามต่อให้ทั่วทั้ง 350 ชุมชน บ้านหนองโพดเริ่มต้นพูดคุยปี 2560 ลงมือทำต่อเนื่องเห็นความก้าวหน้า ใช้เครื่องมือถอดบทเรียน ชุมชนเป็นต้นแบบให้คนเข้ามาศึกษาเรียนรู้เสมือนหนึ่งจุดคบเพลิงให้สว่างทั้งแผ่นดิน เป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นๆ ศึกษาต่อไปด้วย”

 

อุเทน โยทะคง ประธานสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด แนะนำทีมสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด อุทัย พิมพ์ศรีจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านหนองโพด แนะนำภาคีที่เข้าร่วมกิจกรรม พญ.สุกัญญา รัตนประไพกิจ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลให้คณะดูงานจาก สสส. จากนั้นทีมสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพดจัดแสดงสรภัญญ์ ชุมชนน่าอยู่ หมู่บ้านหนองโพด หัวหน้าคณะร้องสรภัญญ์ แม่สมศรี อาจนบลา แต่งกลอนโดย ทองคำ บรรณะศรี สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด

 

 

สวัสดีเด้อพี่น้อง เฮามาฮ้อง สาระภัญญ์ วันนี้มาพบกัน ที่หนองโพด โคตรน่าอยู่ น่าอยู่ ทำอย่างไร จะบอกให้ ใช่หมูหมู ตัวอย่างทำให้ดูมีค่ายิ่งกว่าคำสอน ขยะคัดแยกไป เหล้าจัญไร อย่าสะออน ลด ละ ให้คนออนซอน เลิกดื่มได้อีกหลายคน ทำนาแบบอินทรีย์ ได้ข้าวดีทุกแห่งหน บริโภคในชุมชน กลิ่นหอมอวล ชวนชื่นใจ ปลูกผักทุกครัวเรือน ไม่แชเชือน แบ่งปันไป 4 ขีดกำหนดไว้ต่อหนึ่งวัน ชวนกันกิน กิจกรรม ทางกายนั้น สิ่งสำคัญ ทำให้เคยชิน โรคภัย จักโบยบิน หนีห่างไกล กายใจ แข็งแรง หนึ่งร้อยห้าสิบนาทีสัปดาห์นี้ มาออกแรง ทำได้ใจเข้มแข็ง ทั้งเรี่ยวแรง เพิ่มพลัง วันนี้ชาวหนองโพด เห็นประโยชน์ มีความหวัง ลูกหลาน คนเบื้องหลัง คือพลัง สืบทอดงาน แต่นี้สามกลุ่มวัย รักกันไว้ ยั่งยืนนาน ร่วมมือ ร่วมประสาน เพื่อหนองโพด โคตรน่าอยู่ เพื่อหนองโพด โคตรน่าอยู่ 

 

ทองคำ บรรณะศรี ตัวแทนสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด นำคณะผู้บริหาร สสส.และสื่อมวลชนลงฐานการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ 4 มิติ พร้อมกับเล่าว่า บ้านหนองโพดเป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ห่างจาก จ.มหาสารคาม 8 กม. มีเนื้อที่ 3,575 ไร่ เป็นที่ราบสูง มี 148 ครัวเรือน ประชากร 509 คน ชาย 289 หญิง 220 คน มีพื้นที่ 5 คุ้ม คุ้มบูรพา คุ้มดอกคูน คุ้มหนองโพด คุ้มพร้อมจิต คุ้มรุ่งเรือง กองทุนหมู่บ้านมีเงินออม 1.5 ล้านบาท กองทุนเงิน ZIP (เมนู 5) มีสมาชิก 432 คน ร้อยละ 74.61 ของประชากร มีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรม การทำบุญข้าวจี่ ทำบุญผะเหวด เข้าพรรษา ออกพรรษา มีปราชญ์ชุน พ่อใหญ่ดี นันตะนะ มีความสามารถด้านการบายศรีสู่ขวัญ การสะเดาะเคราะห์ พร้อมใจกันร่วมแรงทำผ้าป่าเพื่อซื้อที่ดินสาธารณะสำหรับขุดสระเพื่อทำประปาหมู่บ้านด้วยงบประมาณ 1.3 ล้านบาท

 

ในปีแรกไม่ได้สนใจปล่อยให้พี่ๆ ลงมือทำ มีเสียงบ่นถึงปัญหา ต่อมาคุณหมอตุ๊กก็เชิญให้เข้าปฐมนิเทศที่บ้านสำโรง ปรึกษาว่าเราจะไปต่อกันอย่างไร มี อ.สฤษดิ์ไปกัน 2 คน แกนนำผู้นำชุมชน 2 คน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำชุมชน และหนูขอไปแถมเพื่อแอบฟังว่าเขาทำอะไรกัน เข้าร่วมรับฟังแนวคิดและศึกษาดูงานที่บ้านสำโรง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อจะนำแนวคิดกลับมาทำความเข้าใจกับคนในชุมชนโดยผ่านการประชาคมหมู่บ้าน และตัดสินใจเป็นมติร่วมกันว่าจะเข้าร่วมโครงการ ตั้งใจสร้างโรงงานขยะ สถานสงเคราะห์บ้านพักคนชรา

 

ชุมชนบ้านหนองโพดหมายถึงหมู่บ้านปลอดขยะ ประชาชนลด ละ เลิก เหล้า การจัดงานบุญ งานศพ ปลอดเหล้าทุกงาน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาวะที่ดี มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบทุกมิติ

 

ท่านคะ ช่วยบ้านหนองโพดสร้างโรงงานขยะ” ก็ได้รับคำตอบว่าคุณทำชุมชนให้ดีที่สุด ให้ผมเข้าไปเยี่ยม ต่อมาผู้ใหญ่มีหนังสือออกมาไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้ากำจัดขยะแล้ว เราอยากรู้ว่าโรงงานขยะกำจัดได้ที่ต้นตอ ไม่ใช่ขนขยะมาข้างบ้านส่งกลิ่นเหม็นไปไกลถึง 3 กม. เมื่อมีข่าวว่าจะสร้างโรงงานขยะใกล้บ้านใครก็ล้วนต่อต้าน เพราะอยู่กับอากาศดีๆ แต่ต้องมาทนรับกลิ่นเหม็นจากกองขยะ เมื่อได้รับทุนจาก สสส. แต่ก่อนบ้านหนองโพดมีการประชุมหมู่บ้านอย่างเนื้อเพลงผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าทางการให้คุ้มทำศาลา คุ้มมีไว้สำหรับบริจาคเงินได้เท่าไหร่ก็นำมาดำเนินการสร้าง สมัยก่อนการประชุมมีการดื่มเหล้าขาว เมื่อเริ่มเมาที่ประชุมก็วงแตก

 

การสร้างกลุ่มให้เข้มแข็ง ผู้ใหญ่บ้านหนองแสงเข้ามาดูงานที่บ้านหนองโพด จากเดิมที่มีสภา 50 คน ปรับลดให้เหลือ 32 คน รวมตัวทำงานด้วยกัน สำรวจประเด็นสะท้อนปัญหาบ้านหนองโพดมีความไม่น่าอยู่ในเรื่องอะไร ปัญหาการประชุมสภาไม่เป็น ดื่มเหล้าแล้วเดินโซเซ มีการด่าทอทะเลาะกันเสียงดัง กลายเป็นสิ่งปกติเป็นเรื่องธรรมดาของคนเมาเหล้า แต่สิ่งเหล่านี้เงียบเสียงไปแล้ว งานศพ งานบุญ งานแต่งงาน มีเหล้าในงานก็ต้องปรับเปลี่ยนไม่มีเหล้า ปัญหาการทะเลาะวิวาทก็ลดน้อยลง ปัญหาการฉีดยาฆ่าหญ้า กลิ่นสารเคมี พบมีบาดแผลก็ต้องสร้างกลุ่มเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา การส่งเสริมให้ปลูกผักกินในบ้าน แต่พบปัญหาว่าไม่มีน้ำจะปลูกผักได้อย่างไร ก็ต้องมีการขุดบ่อน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้

 

 

ผู้นำเป็นหลักทำงาน ‘ใจมาก่อน’ ใช้มิติปรึกษาหารือ

เจาะลึกฐานการทำงานในหมู่บ้าน ผู้นำเป็นหลักในการปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ใจต้องมาก่อน ความเสียสละอยากเห็นชุมชนพร้อมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การหลอมใจไม่ใช่เรื่องที่จะมาได้ลอยๆ ใช้กลไกสร้างผู้นำชุมชน ไม่ปล่อยการนำอยู่เฉพาะผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านตามลำพัง ต้องใช้มิติปรึกษาหารือ

 

คณะทั้งหมดเดินเข้าไปในหมู่บ้าน ท่ามกลางบรรยากาศต้นสักไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ ไม้เลื้อย พืชผักสวนครัวนานาชนิดตั้งแต่หน้าบ้านทุกหลังจนถึงภายในรั้วบ้าน มีการปักป้าย “สวนนี้มีศาสตร์พระราชา” “หนองโพดน่าอยู่เพราะรู้รักและสามัคคี สร้างผู้นำชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำนำสู่การพัฒนา” “ท่องเที่ยวรอบหมู่บ้าน” “หนูจะไม่ทิ้งขยะมั่วๆ” “ปิดไฟ เมื่อไม่ใช้งาน” “กองทุน เกลือไอโอดีน” “รักจัง คุ้มรุ่งเรือง ปลูกผักกินเอง” “สวนหย่อมผักคุ้มรุ่งเรือง” “เขตปลอดสารเคมี”

 

 

การเข้าชมฐานที่ 1 การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (การจัดการขยะและน้ำเสีย การแก้ไขจุดเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางถนน) ปัญหากองขยะ บ่อขยะนอกชุมชนสู่การจัดการขยะในชุมชน ครัวเรือนคัดแยกขยะ 148 ครัวเรือน ร้อยละ 100 สามารถลดปริมาณขยะ 4,495 กก./เดือน คงเหลือปริมาณขยะ 10 กก./เดือน คืนถังขยะให้เทศบาล ราตรี แก้วเนตร ตัวแทนสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด เล่าถึงการขับเคลื่อนงานจัดการขยะด้วยกติกาชุมชน ทำให้เกิดครัวเรือนต้นแบบ 45 ครัวเรือน ร้อยละ 30.41 การนำขยะมารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชน

 

ปางเหนือ อินทรวิชัย ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน บ้านหนองโพด การจัดการขยะทั้งชุมชน ขยายผลปัญหาน้ำเสียที่พบ 3 จุด เกิดการปรับภูมิทัศน์ชุมชนด้วยกลไกจัดการตนเองที่สภาผู้นำชุมชน ผ่านการเรียนรู้ด้วยการศึกษาด้วยตนเองผ่านยูทูบ ลงมือทำตาม 1 จุดเกิดความสำเร็จขยายออกไปเป็น 14 จุด ทำให้ชุมชนสะอาดและสวยงามไม่มีน้ำขัง “แต่เดิมที่นี่น้ำท่วมขังตลอด จึงช่วยกันขุดดินลึกเพื่อทำธนาคารน้ำระบบปิดเกือบทั้งหมู่บ้าน เป็นการแก้ไขปัญหาน้ำสกปรกท่วมขัง”

 

 

บุญเรือง ไกรอาสา ตัวแทนสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด จากการจัดเก็บข้อมูล 11 ประเด็น สู่การทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง โดยให้แต่ละคุ้มดำเนินการจัดเก็บและสรุปปัญหาที่เจอ พบว่ามีข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน 4 ครั้ง มีจุดเสี่ยง 3 แห่ง

ฐานที่ 2 การบริโภคผักปลอดสารเคมี ข้าวอินทรีย์ กิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ มีวิทยากรประจำฐาน วีนัส วรรณขันธ์ ตัวแทนสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด ดำเนินงานลดละเลิกเหล้าทั้งในงานบุญและคนดื่มเหล้า แต่เดิมมีคนดื่มเหล้า 132 คน งานบุญไม่ปลอดเหล้า หลังดำเนินการต่อเนื่อง เกิดงานศพปลอดเหล้า 3 งาน งานแต่งงานปลอดเหล้า 1 งาน บวชปลอดเหล้า 1 งาน กฐินปลอดเหล้า 1 งาน ค่าใช้จ่ายค่าเหล้าลดจาก 3 หมื่นบาท เหลือ 2 หมื่นบาท นักดื่มในชุมชนลดเหล้า 90 คน ลดการดื่ม 36 คน เลิกเหล้า 6 คน ค่าใช้จ่ายค่าเหล้า คนดื่มลดจาก 575,600 บาม เหลือ 81,200 บาท (ลดลงร้อยละ 85.89)

 

การประชุมชาวบ้านจัดขึ้นที่บ้านอมร วรรณขันธ์ อสม. (หญิง) ครัวเรือนตัวอย่างดีเยี่ยม วีนัส วรรณขันธ์ (ชาย) ทั้งนี้ วีนัสนำเสนอข้อมูลว่าสมัยก่อนหมู่บ้านนี้ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่เห็นอยู่ในวันนี้ งานบุญประเพณี 12 เดือน มีทั้งเหล้า เบียร์ มีตัวกระตุ้นให้จัดงาน มิฉะนั้นงานก็จะกร่อยไม่สนุกสนาน วิถีชีวิตก็เป็นแบบนี้มาเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นชุมชนเกษตรกร เมื่อเสร็จจากหน้านา มุ่งหน้าสู่ชุมชนเมือง งานรับจ้างสินค้า เมื่อกลับถึงบ้านก็เหน็ดเหนื่อย ซื้อเหล้าเบียร์ดื่มกินจนเมามาย เกิดการทะเลาะวิวาท บางครั้งขับรถก็เกิดอุบัติเหตุ ซื้อทั้งเหล้าสี เหล้าขาว เพียงแค่ 3 เดือนก็ขายขวดเหล้าได้มากมาย   มีแต่คนเก่งก็ต้องนำเสนอวิธีการ ลด ละ เลิกเหล้าเพื่อให้เป็นตัวอย่าง

 

ที่นี่มีแต่นักดื่ม งานบุญ งานประเพณี งานศพ งานบวช งานกฐิน งานบายศรีสู่ขวัญ นักดื่มหน้าเดิมๆ ทั้งนั้น การที่จะสร้างผู้นำชุมชนน่าอยู่ได้นั้น สิ่งที่จะต้องแก้ไขก็คือสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพ ต้องเลิกเหล้า บุหรี่ให้ได้ ปีหนึ่งมี 12 เดือน ก็ต้องเรียกร้องพี่น้องชาวบ้าน จัดงานบุญ งานศพ งานประเพณีต้องปลอดเหล้า บุหรี่ เป็นความภาคภูมิใจในตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็นการจุดประกาย เริ่มจากงานแต่งงานลูกชายคนโตเมื่อต้นปี 2563 เป็นงานแต่งงานที่ปลอดเหล้า สิ่งเหล่านี้จับต้องได้ “ผมมีศรีภริยาเป็นแม่ทัพที่ดี”

 

สุวรรณา อกอุ่น ตัวแทนสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองโพด ทำกิจกรรมทางกายก่อนดำเนินการ พบคนอายุ 11 ปีขึ้นไปมีกิจกรรมทางกายน้อยกว่า 150 นาที/สัปดาห์ 132 คน คนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วนเท่ากัน หรือมากกว่า 25 ปีขึ้นไป 105 คน หลังดำเนินการ จำนวนคนที่มีอายุ 11 ปีขึ้นไปในชุมชน มีกิจกรรมทางกาย 150 นาที/สัปดาห์ต่อเนื่อง จำนวน 96 คน จาก 132 คน คิดเป็นร้อยละ 72.72 จำนวนคนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีภาวะโรคอ้วนเท่ากับหรือมากกว่า 25 ปีขึ้นไป 105 คน มี BMI ลดลง 35 คน จาก 105 คน (ร้อยละ 33.33)

 

การมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการกินผัก ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรม ไม่ได้มีการตรวจสุขภาพประจำปี ด้วยข้ออ้างว่าทำนาก็เป็นการออกกำลังกายอยู่แล้ว การตรวจต้องมีการคัดกรองจาก อสม. เมื่อตรวจแล้วก็พบโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตรวจพบโรคเพิ่มขึ้นทุกปี จุดผลักดันให้มีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการกินผักเพื่อสุขภาพ ถ้าไม่ออกกำลังกายและยังไม่กินผัก จะเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานตามมา

 

วีรพงษ์ เกรียงสินยศ กก.บริหารแผนคณะที่ 6 จุดประเด็นคำถามว่าอะไรที่ทำให้ตลอดเวลา 3 ปี ทำให้หมู่บ้านน่าอยู่มีความสุข ผู้นำชุมชนและชาวบ้านก็ให้คำตอบว่า “ใจต้องมาก่อน ความเสียสละอยากเห็นชุมชนพร้อมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เมื่อใจมาก่อนอย่างอื่นก็ตามมา

 

ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วย ผจก.สสส. ตั้งคำถามว่า “ทำอย่างไรถึงจะได้ใจ” คำตอบของชาวบ้านก็คือ “ผู้นำต้องเป็นหลักก่อน” “สสส.ดึงใจคนได้ เมื่อผู้นำเป็นตัวอย่าง อันดับแรกเรื่องใกล้ตัว ขยะมีกลิ่นเหม็น เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร เริ่มต้นจากขยะของทุกคนเป็นเรื่องใกล้ตัว เมื่อแก้ไขปัญหาขยะได้สำเร็จ ก็ส่งผลให้ชุมชนน่าอยู่ ร่วมมือร่วมใจกันทำเรื่องอื่นๆ ต่อไปได้ เมื่อใจมา มีเวลาให้ ทุกคนเข้ามาทำงาน บางคนบอกว่าอยากทำ แต่ไม่มีเวลา จริงๆ แล้วแต่ละคนมีเวลาว่างไม่เท่ากันก็จริง แต่เราต้องเสียสละเวลาของตัวเองเพื่อทำงานส่วนรวม”

 

ทุกวันนี้มีโครงการของ สสส.เข้ามาทำในหมู่บ้านตลอด จากเดิมที่อยู่กันอย่างที่เรียกว่าบ้านใครบ้านมัน เมื่อเห็นเพื่อนบ้านทำพื้นที่หน้าบ้านตัวเองน่าอยู่ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้แต่ละบ้านอยากจะทำบ้านตัวเองให้น่าอยู่

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. กล่าวว่า ชุมชนได้ต้นแบบจากบ้านหนองกลางดง ประจวบคีรีขันธ์ มีการสร้างผู้นำชุมชน เกิดการมีส่วนร่วม มีพี่เลี้ยง ข้อมูลทางวิชาการในการแก้ไขปัญหา ชาวบ้านภาคภูมิใจที่แก้ไขปัญหาในชุมชนได้สำเร็จ เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกปี มีหมู่บ้านต้นแบบ ใครสนใจผลงานก็เข้ามาดูงาน เกิดเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นการกระตุ้นด้านสาธารณสุข ใช้เครื่องมือชักจูงให้คนอยากพัฒนาตัวเอง การเล่าเรื่องเพื่อให้เป็นของจริง ชักจูงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หัวใจสำคัญคือกระบวนการทดลองทำจนเกิดเป็นผู้นำ เริ่มต้นจากในครัวเรือน เป็นหัวหอกเรียนรู้กลไกวิชาการ เก็บข้อมูลประเมินผลลัพธ์

 

การหลอมใจไม่ใช่เรื่องที่จะมาได้ลอยๆ ต้องมีการใช้กลไกสร้างผู้นำชุมชน ไม่ปล่อยการนำอยู่เฉพาะผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านตามลำพัง ต้องใช้มิติปรึกษาหารือ รวมแรงรวมใจจัดระบบข้อมูล ใช้ความสมัครใจร่วมกันลงมือทำงานให้เป็นจริง เมื่อสิ่งแวดล้อมดีขึ้น หมู่บ้านสวยงามมีความพร้อมเป็นต้นแบบให้คนอื่นได้เห็นด้วย ความสามัคคีเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"