หนุนจ้างงานคนพิการ 50 อัตรา รับ 10 เส้นทางท่องเที่ยว


เพิ่มเพื่อน    

 

สสส.ติวเข้มทูตอารยสถาปัตย์ รับ 10 เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล เพิ่มโอกาสการจ้างงานคนพิการ รณรงค์สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว ขณะที่สายการบินแอร์เอเชียหนุนจ้างงานคนพิการเชิงสังคมกว่า 50 อัตรา มีบริษัทกว่า 100 แห่งเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการจ้างงาน โดยเฉพาะแอร์เอเชีย เซ็นทรัลกรุ๊ป มีมูลนิธิสนับสนุน 7,000 อัตรา

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล จัดประชุม-เสวนา “ทูตอารย สถาปัตย์” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ต้อนรับเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลใน 10 จังหวัดนำร่อง และพื้นที่เชื่อมโยง ครั้งที่ 5 ทั้งนี้ บรรดาทูตอารยสถาปัตย์ต่างสวมเสื้อสีชมพูเขียนข้อความ “Thailand friendly design the 100 year expo”

 

 

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า สสส.สนับสนุนโครงการ “ทูตอารยสถาปัตย์” ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบันมีทูตอารยสถาปัตย์ (Friendly Design Ambassador) ทั้งนิสิต นักศึกษา เยาวชนและคนพิการประเภทต่างๆ กระจายกำลังอยู่ทั่วประเทศจำนวนกว่า 570 คน ในจำนวนนี้มีทูตอารยสถาปัตย์ที่เป็นคนพิการนั่งวีลแชร์ และคนตาบอด จำนวน 300 คน ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน 50 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของไทย

 

“งานสาธารณะทำเพื่อคนอื่น เป็นการเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับทุกคน ถ้าทำงานสำเร็จเป็นเรื่องยิ่งใหญ่เกิดประโยชน์กับคนอื่นด้วย ที่สำนักงาน สสส. เป็นจุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ใช้กิจกรรมทางกาย ออกกำลังกาย กินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการมีสุขภาพที่ดี สสส. ทำงานเพื่อสุขภาวะคนพิการ เรามีคนพิการ 2 ล้านคน 7 ประเภท ทำอย่างไรให้ประชากรกลุ่มเฉพาะเหล่านี้มีสุขภาพที่ดี” ภรณีกล่าว

 

ภารกิจคือการรณรงค์สำรวจพื้นที่การท่องเที่ยวเพื่อทุกคน ในพื้นที่ท่องเที่ยวใน 10 จังหวัดนำร่องและพื้นที่เชื่อมโยง โดยเครือข่ายทูตอารยสถาปัตย์จะส่งเสริม กระตุ้น และติดตามผลการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการจัดปรับสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน โดย สสส.สนับสนุนการสร้างกลไกบูรณาการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ จัดทำข้อเสนอ ผลักดันนโยบาย รวมถึงรณรงค์สื่อสารสาธารณะ สร้างความตระหนักด้านการจัดปรับสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ระบบขนส่งสาธารณะที่ปลอดภัย ทุกคนเข้าถึงได้ และระบบขนส่งไร้รอยต่อ ล้อ ราง เรือ เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของคนพิการและผู้สูงอายุ ทำให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้อย่างอิสระ

 

“แม้ว่าทูตอารยสถาปัตย์ส่วนใหญ่จะเป็นจิตอาสา แต่จำนวนไม่น้อยเป็นคนพิการประเภทต่างๆ สสส. สนับสนุนพัฒนาศักยภาพคนพิการไปสู่การจ้างงาน โดยทางมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวลจัดอบรมและส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานเชิงสังคม ภายใต้มาตรา 33 และมาตรา 35 ซึ่งทูตอารยสถาปัตย์จะทำหน้าที่สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ผลักดันให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล” ภรณีกล่าว

 

สสส.สนับสนุนการจ้างงานคนพิการ มีบริษัทกว่า 100 แห่งเข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะแอร์เอเชีย เซ็นทรัลกรุ๊ป มีมูลนิธิสนับสนุน 7,000 อัตรา ผู้ร่วมงานนวัตกรรมทางสังคม 2,000   หน่วยงาน เป็นสัดส่วน 100 : 1 คน บางสถานประกอบการยอมจ่ายค่าปรับ ไม่จ้างคนพิการทำงาน มีการสำรวจคนพิการทำงานในสถานประกอบการปรับตัวทำงานกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างดี ก้าวข้ามผ่านอุปสรรค ขณะนี้ สสส.จัดเตรียมความพร้อมคนพิการเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายจับคู่ทำงานด้วยกัน เรามีทูตอารยสถาปัตย์ จำนวน 570 คน ในจำนวนนี้มี 300 คนเป็นคนพิการ จึงเห็นความสำคัญอยากจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง มนุษย์ล้อเหมาะสมกับการทำงานสายการบิน มิตรผลจับคู่กับองค์กรที่ สสส. ร่วมมือกันด้วย

 

กลุ่มจิตอาสาให้คุณค่ากับงาน เรามีความเชื่อมั่นว่าคนพิการมีงานทำ มีศักดิ์ศรี มีความปลอดภัย เดินทางได้ด้วยตัวเองมีความสุข มีสุขภาวะที่ดี สสส.หนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะแกนนำ Change Agent มองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจนมากกว่าคนอื่น สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม ฝากความหวังกับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเส้นทางไร้รอยต่อ รถราง รถขนส่งสาธาณะ เครื่องบิน เรือด่วน เราหวังและฝันที่จะเห็นประเทศไทยมีเส้นทางไร้รอยต่อ ใช้เส้นทางร่วมกันอย่างมีความสุข ทั้งนี้ วิทยากรที่ได้รับเชิญมาให้ความรู้กับทูตอารยสถาปัตย์เป็นการสร้างโอกาสที่ดีในการต่อยอดไปยังหอการค้า บริษัทห้างร้านเอกชนที่มีบารมีในการกำหนดนโยบาย ขยายการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

 

 

กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล กล่าวว่า มูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวลริเริ่มโครงการ “ทูตอารย สถาปัตย์” โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สสส. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สำหรับทูต อารยสถาปัตย์เป็นบุคคลจิตอาสา มีหน้าที่ในการรณรงค์ ส่งเสริม สำรวจ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องอารยสถาปัตย์ (Friendly Design) หรือหลักการออกแบบที่เป็นสากล เป็นธรรม และเป็นมิตรกับคนทั้งมวล เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาตึกอาคาร ฟุตบาททางเดินเท้า สถานที่ สิ่งแวดล้อม รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว ศาสนสถาน สถานศึกษา ระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนบริการต่างๆ เพื่อให้ทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนพิการ และคนที่ใช้รถเข็น สามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ ใช้บริการได้ สะดวก ทันสมัย ปลอดภัย เป็นธรรม ทั่วถึงและเท่าเทียมให้ได้มากที่สุด

 

“ครั้งนี้บริษัทแอร์เอเซียสนับสนุนจ้างงานคนพิการตามกฎหมาย มาตรา 35 ซึ่งเป็นการจ้างงานเชิงสังคม เพื่อให้คนพิการมาทำหน้าที่เป็น “ทูตอารย สถาปัตย์” มากกว่า 50 อัตรา โดยจะรณรงค์สำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล เป้าหมายในการปรับปรุงและพัฒนาตึกอาคาร สถานที่  หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้มีอารยสถาปัตย์ที่พร้อมรองรับสังคมผู้สูงวัย ใส่ใจสิทธิความเสมอภาคของคนพิการ และส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อคนทั้งมวล ส่งผลให้การดำเนินการรณรงค์ ส่งเสริมอารยสถาปัตย์สามารถกระจายตัวและเห็นผลได้มากขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ” กฤษนะกล่าว

 

ทั้งนี้ เส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลต้นแบบ จำนวน 10 เส้นทาง/จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก พระนครศรีอยุธยา พังงา ราชบุรี โดยจะมีการรวบรวมฐานข้อมูลเส้นทางบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลผ่านทางเฟซบุ๊ก www.facebook.com/Friendly Design Ambassadors

 

หากองค์กรบริษัทหรือหน่วยงานใดที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมอันเป็นประโยชน์สุขยั่งยืนของสังคมและประเทศชาติได้อีกทางหนึ่ง โดยการจ้างงานคนพิการตามกฎหมาย มาตรา 35 ขอเชิญติดต่อได้ที่มูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล โทร.08-1855-1199, 08-4664-2231, 06-2195-2457 หรือติดตามรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.thailandfriendlydesignexpo.com หรืออีเมล [email protected]

 

ในช่วงท้ายรายการ กฤษนะเชิญชวนมนุษย์ล้อประกาศเสียงดัง “เมืองไทยเมืองอารยสถาปัตย์ เมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล” เย้ เย้

 

กิตติ สืบสันติพงษ์ ทูตอารยสถาปัตย์ จังหวัดตาก

จังหวัดตากถือเป็น 1 ใน 10 ที่เป็นโครงการนำร่องสถานที่ท่องเที่ยวแบบอารยสถาปัตย์ ซึ่งจากการรณรงค์และสำรวจเส้นทางของกิตติ สืบสันติพงษ์ ทูตอารยสถาปัตย์จังหวัดตาก เล่าว่า “คนพิการอย่างผมเข้าไปนอนพักในชุมชน มีรถรับส่งจัดทัวร์ไปทำกิจกรรมในชุมชนได้ เรามีการท่องเที่ยววิถีชุมชน มี homestay สำหรับมนุษย์ล้อ ทุกภาคส่วนในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน

 

 

กิตติเล่าที่มาที่ไปก่อนจะมาเป็น “ทูตอารยสถาปัตย์” ด้วยว่า “แต่เดิมผมเป็นครูโรงเรียนเอกชน เกิดอุบัติเหตุที่สุโขทัย ผมนั่งรถไปกับเพื่อนทั้งหมด 5 คน เพื่อนเป็นคนขับ ผมนั่งตรงกลางไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ผลจากอุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้กระดูกสันหลังแตก แต่เพื่อนๆ ป่วยฟกช้ำดำเขียวเท่านั้น ผมคนเดียวที่เป็นอัมพาตเมื่ออายุ 25 ปี เป็นเวลา 35 ปีมาแล้ว ผมต้องออกจากงาน ตอนนี้มาทำงานกับคุณกฤษนะ ทำหน้าที่เลขาฯ ดูแลกลุ่มทูตอารยสถาปัตย์ทั่วประเทศไทย ขณะนี้มีทั้งหมด 69 คน จำนวน 49 คน เป็นมนุษย์ล้อ ขับเคลื่อนงานอารยสถาปัตย์ที่จังหวัดตาก”

 

นอกจากนี้กิตติยังมีอาชีพเป็นเกษตรสวนยางพาราที่พิษณุโลกบนพื้นที่ 30 กว่าไร่ เป็นที่ดินที่น้องซื้อไว้ให้เพื่อปลูกยางพาราบนดอย ขณะนี้น้องช่วยดูแลเพื่อส่งรายได้ช่วยจุนเจือค่าใช้จ่าย

 

สำหรับการจ้างงานคนพิการ มีกิจกรรมที่มีการเชิญวิทยากรเพื่อพัฒนาศักยภาพของพวกเราเป็นเรื่องดี เพราะพวกเราไม่มีทุน ขณะนี้แอร์เอเชียให้ค่าตอบแทนพวกเราทุกเดือน เดือนละ 9,521 บาท เซ็นทรัลกรุ๊ปให้เงินเดือนทูต 10 คน เดือนละ 9,521 บาท

 

อดีตรมว.การท่องเที่ยวฯส่งพลังใจถึงมนุษย์ล้อ

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีต รมว.การท่องเที่ยวหญิงคนแรกแจงตัวเลขนักท่องเที่ยวเข้าไทยปีละ 30 ล้านคน เราต้องการนักท่องเที่ยวคุณภาพเรียนรู้ความเป็นไทย อยู่นานวันใช้จ่ายเงินให้มากขึ้น สภาหอการค้าจับมือพันธมิตรพร้อมหน่วยงานรัฐบาลอาสาเป็นช็อปปี้ ลาซาดาของการท่องเที่ยว เมืองไทยเป็นแชมป์ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ medical wellness คนจีนรุ่นใหม่ทำธุรกิจ สิ่งที่เขาต้องการคือ Wellness เงินซื้อสุขภาพไม่ได้ รวยให้ตายก็ป่วยได้ ช่วง 4 ปีคนจีนกว่า 3,000 คน นั่งเครื่องบินมาวิ่งที่บางแสน ไตรกีฬาภูเก็ต เชียงใหม่ และอยู่ต่อเพื่อสุขภาพ Toyota สำรวจคนรุ่นใหม่รักการท่องเที่ยวก่อนมีบ้านและรถ เพื่อประสบการณ์ชีวิต

 

 

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีต รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นักธุรกิจหญิงระดับโลกที่เรียนจบด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ Rhode Island School of Design รองประธานหอการค้าไทย ต้นแบบผู้หญิงเหล็ก CEO หญิงธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (บุตรสาว ดร.กรสุริยสัตย์-ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ (บุลกูล) เป็นหลานปู่ พล.ต.พระสุริยสัตย์ อดีต ผอ.สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หลานตามา-บุญครอง บูลกุล) บรรยายพิเศษเรื่อง “อารยสถาปัตย์กับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล”

 

กอบกาญจน์กล่าวว่า การดูแลสุขภาพไม่ต้องรอป่วย เราต้องแข็งแรงก่อนป่วยด้วยการเล่นกีฬา Happy Model กินดีอยู่ดี ขับเคลื่อนโดยหอการค้าไทย เรามีน้องรุ่นใหม่อยู่ทุกจังหวัดทั่วไทย การวางแผนดีเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็ไม่บังเกิดผล ทุกคนทราบดีว่าโควิดคือวิกฤติ ถ้าเราถามตัวเองเราทำวิกฤติให้เป็นโอกาส เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่ไม่มีเงินก็ไม่ได้ เพราะเรายังต้องทำมาหากินอยู่เพื่อตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น โควิดทำให้เราต้องสะอาดมากขึ้น หยุดคิดเพื่อทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรรมการยุทธศาสตร์ต้องมีขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นแผนเดียวที่ขึ้นหิ้ง แต่จะขึ้นหิ้งหรือไม่ขึ้นหิ้งอยู่ที่ตัวเรา เป็นแผนที่รัฐบาลจะต้องใช้ถึง 20 ปี การสร้างโอกาสขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น การมีข้าวกินมากกว่าการมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำอย่างไรให้เกษตรกรกินดีอยู่ดีมากยิ่งขึ้น ได้ผลผลิตและผลตอบแทนดีขึ้น อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 

 

ด้วยโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูง รถไฟ สนามบิน มีความหลากหลายทางด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับ นักท่องเที่ยวเข้าไทยปีละ 30 ล้านคน เราต้องการนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีความรับผิดชอบ มาแล้วได้เรียนรู้ความเป็นไทย ใช้จ่ายเงินให้มากขึ้น เมื่อก่อนนักท่องเที่ยวมาเมืองไทยพัก 8-9 วัน ชาวยุโรปและสหรัฐพัก 3 สัปดาห์ จีนพักเมืองไทย 7-8 วัน ใช้เงินวันละ 5,000 บาท เป็นค่าโรงแรม อาหาร ค่าเดินทาง ค่าของที่ระลึก ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวพักนานขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น รู้สึกประทับใจพร้อมที่จะกลับมาเที่ยวเมืองไทยมาซ้ำอีก 70% Tourism for All “การท่องเที่ยวที่ดีที่สุดต้องทำให้นักท่องเที่ยวชอบคนไทย เมืองไทย”

 

“เราช่วยกันสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ medical wellness ประเทศไทยเก่งมากในเรื่องการรักษาพยาบาลการดูแลคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเล คนจีนรุ่นใหม่ทำธุรกิจ สิ่งที่เขาต้องการคือ Wellness เงินซื้อสุขภาพไม่ได้ รวยให้ตายก็ป่วยได้ จีนมองว่าไทยมีผู้เชี่ยวชาญหลายด้านที่จะตอบโจทย์ คนจีนเห็นความสำคัญของกีฬาทำให้คนมีร่างกายแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น คนจีนพาครอบครัวเข้ามาวิ่งในงาน Amazing Thailand บางแสน ไตรกีฬาภูเก็ต เชียงใหม่ ตลอดระยะเวลา  3-4 ปีมานี้ คนจีนกว่า 3,000 คน นั่งเครื่องบินมาวิ่งและอยู่ต่อเพื่อสุขภาพ คนจีนไม่มีศาสนา แต่เขาโหยหาที่ยึดมั่นทางจิตใจ ชอบไปวัดสะสมพระเครื่อง นั่งสมาธิ จะเห็นได้ว่า Medical wellness ของไทยตอบโจทย์ของคนทั่วโลก กิจกรรมที่มีคนวิ่งหลายหมื่นคนจากชาวต่างชาติ 50 ประเทศเป็น happy model”

 

กอบกาญจน์กล่าวว่า การพัฒนาศักยภาพสร้างโมเดลกินดีอยู่ดีกระจายรายได้ ข้าวสังข์หยดปลูกที่กระบี่ พัทลุงยืนยันว่าข้าวสังข์หยดของเขาอร่อยมาก ทั้งหมดอยู่ที่การเล่าเรื่อง จังหวัดน่านแหล่งโบราณสถานเมืองเก่าสำคัญๆ มีวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาที่สืบทอดมายาวนาน การทอผ้าน่านมีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะผ้าทอพื้นเมืองซิ่นลายน้ำไหลหยดน้ำ ลายบ่อสวกคั่นลายผ้าอื่นๆ เป็นความงดงามยิ่ง ขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงสถานที่ให้เป็นอารยสถาปัตย์ หอการค้าไทยดูแลเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ดีมีความสุข คนไทยต้องมี service mind รักที่จะให้บริการ ยิ้มจากใจ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลนักท่องเที่ยวให้เกิดความปลอดภัย การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ให้สวมหมวกกันน็อก มีมัคคุเทศก์ด้านกีฬา การใช้ภาษามือสื่อสาร การสร้างมาตรฐานในการแข่งขันกีฬา คือความสุขที่แท้จริง

 

การให้ไม่จำเป็นต้องใช้สตางค์ แต่ให้โอกาส ให้ความรู้ มิติการให้เป็นสิ่งสำคัญช่วยกัน Share เรื่องราวดีๆ สนับสนุนให้เกิดมัคคุเทศก์น้อย มัคคุเทศก์ผู้สูงอายุ การสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นช่วยกันให้รักบ้านเกิด การสร้างตลาดน้ำทุกจังหวัด ทุกจังหวัดล้วนมีของดี กทม.ไม่ใช่ประเทศไทย ลำพูนไม่ใช่ลำปาง ต่างก็มีดีเป็นของตัวเอง พัทลุงไม่ใช่นครศรีธรรมราช ต่างก็มีความสวยงามมีเรื่องราวที่แตกต่างกันไป คนจีนชอบควายในเมืองไทย เพราะประเทศเขาไม่มีควายให้ดูแล้ว เขาเห็นความสำคัญของการกลับคืนสู่ธรรมชาติ

 

“คุณกลินท์ สารสิน ประธานหอการค้าและพันธมิตรร่วมกันจัดทำ app การท่องเที่ยว เพราะคนรุ่นใหม่ใช้โทรศัพท์มือถือในวิถีชีวิต agoda เกิดที่ภูเก็ต เริ่มต้นจากคนสหรัฐ 2 คนสะพายเป้เข้ามาเที่ยวมีความสุขมาก ทดลองทำ app กลายเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ โรงแรมก็อยากจะเข้า agoda ชาร์จ 30% ผู้ประกอบการต้องพึ่ง agoda เพื่อขายห้องได้ ต่อไปเราจะทำเงียบๆ เพื่อแข่งกับ agoda เราอยากมี app เป็นทางเลือก มี marget place เราจะเป็นช็อปปี้ ลาซาดาของการท่องเที่ยว มีภาครัฐ 20 หน่วยงานมีส่วนร่วมในการแชร์ข้อมูลด้วยกัน สภาอุตสาหกรรม สมาคมโรงแรมไทย สมาคมสนามกอล์ฟ ทูตอารยสถาปัตย์ด้วยโหมด Tourism for All เป็นจุดเริ่มต้น เพราะวันหนึ่งเราต้องใช้ เพราะเรามีอายุมากขึ้น ใครมีอะไรดีไม่แย่งกันทำ เราทำงานแบบเชื่อมโยงกันเป็นสะพานสื่อสารให้คนท่องเที่ยวไทย ไทยเที่ยวไทย”

 

การท่องเที่ยวเป็นปัจจัยที่ 5 บริษัท Toyota วิจัยชีวิตรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวในวันนี้ การเดินทางคือการค้นหาความหมายของชีวิต คือความสุข ไม่จำเป็นต้องมีรถยนต์ บ้านก็ได้ รถยนต์ใช้แชร์กับ Grab หรือมีรถคันเล็กๆ ก็พอ ความสุขที่แท้จริงคือการท่องเที่ยว เมื่อเรารับสมัครงาน คำถามแรกที่รู้ว่าได้งานแล้วจะถามว่า จะได้หยุดเมื่อไหร่ บอร์ดคณะกรรมการ รร.นานาชาติ ผู้ปกครองพาลูกมาสมัครเรียน ถามคำถามว่าจะได้หยุดเมื่อไหร่ เพราะเขาต้อง plan เที่ยวกันทุกปี

 

การท่องเที่ยวเป็นทางเลือกที่มีคุณภาพ คือวิถีชีวิตของคนวันนี้และในอนาคต การลงมือทำ เมื่อเขาไม่ทำเราต้องทำ ชีวิตดีที่สุดให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต อย่ารอวัน 100%  เริ่มลงมือทำเมื่อมีความพร้อม 60% ปีหน้าพร้อม 65% อีกปี 70% ดีขึ้นไปเรื่อยๆ “บ้านเรามีสิ่งดีๆ มากมาย เรามีทีมงานที่แข็งแรง เราพร้อมที่จะเป็นกำลังใจและก้าวต่อสู้ไปด้วยกัน” กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร จบประโยคสุดท้ายด้วยน้ำตาคลอเบ้า

 

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ให้สัมภาษณ์ว่า เดินทางไปกับคณะทูตอารยสถาปัตย์ที่ขอนแก่น ส่วนหนึ่งเพื่อดูการออกแบบที่เป็นมิตรกับคนทั้งมวลภายในโรงแรม ตั้งแต่ลานจอดรถ ลิฟต์ ทางลาด ปรากฏว่าทางโรงแรมพูลแมนปรับแก้ไขทันทีเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการ ผู้สูงวัยเข้าใช้บริการได้ ส่วนแหล่งท่องเที่ยวสวนนงนุช พัทยา ของกำพล ตันสัจจา เป็นการออกแบบที่ได้มาตรฐานเอื้อต่ออารยสถาปัตย์.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"