พรบ.ปฐมวัยห้ามสอบเข้าป.1ปรับ5แสน


เพิ่มเพื่อน    

   
บอร์ด อิสระฯ เห็นชอบ เสนอ ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ ครม.พิจารณา ยังยืนยัน ไม่มีสอบเข้าป.1 ฝ่าฝืนถูกปรับไม่เกิน 5 แสนบาท นำเงินเข้ากองทุนเสมอภาคการศึกษา พร้อม หารือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รวบรวม 17 ประเด็น ปรับแก้ข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค การเรียนรู้ตลอดชีวิต  ปลดล็อกให้ความเป็นอิสระของโรงเรียน ยังไม่สรุปว่าจะแก้หรือยกร่างใหม่

นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.... เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และที่ประชุมยังได้มีการหารือพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในส่วนแก้ไขเพิ่มเติมที่จะมาสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ส่วนจะเป็นการเสนอขอแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หรือจะยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติขึ้นมาใหม่นั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ไปพิจารณาข้อดีข้อเสียในภาพรวมก่อนนำเสนอที่ประชุมต่อไป

ด้านนางสาวดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในฐานะกรรมการคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก กล่าวว่า คณะกรรมการอิสระฯ ยังคงยึดร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัยฉบับเดิม โดยในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังยืนยันที่จะกำหนดว่าการรับเด็กปฐมวัยเพื่อเข้ารับการพัฒนาในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและสถานศึกษา โดยวิธีสอบคัดเลือกจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต่อไปจะมีคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นผู้กำหนดแนวทาง ดังนั้น ต่อไปการรับเด็กเข้าเรียนทั้งในระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1 จะไม่มีการสอบ หากสถานศึกษาใดฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 5 แสนบาทเข้ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งจาการรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทางอินเตอร์เน็ตนั้น ก็ได้รับผลตอบรับว่าทุกฝ่ายเห็นด้วยในทุกหลักการของร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัยฉบับนี้ พร้อมทั้งเห็นว่าการยกเลิกการสอบจะทำให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม ในร่าง พ.ร.บ. มีเพียงรายละเอียดเล็กน้อยสามารถไปปรับแก้ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือการพิจารณาขั้นกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 

ด้านนพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ซึ่งอนุกรรมการฯได้ศึกษาและรวบรวม 17 ประเด็นที่จะนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงและกำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ เช่น การเปิดให้มีการศึกษาที่หลากหลายเด็กได้เรียนตามศักยภาพ โดยปรับแก้ข้อกำหนดในกฎหมายที่อาจเป็นอุปสรรค เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การประเมินผลทางการศึกษาที่จะต้องปรับแก้ให้มีการชี้นำการศึกษาไปในทิศทางที่เหมาะสม มีการแบ่งแยกความรับผิดชอบชัดเจนระหว่างกลไกนโยบาย กลไกการกำกับดูแล และกลไกผู้ปฏิบัติ ที่สำคัญคือสิ่งที่คณะกรรมการอิสระฯ ตั้งธงไว้คือให้ความสำคัญกับสถานศึกษา พ.ร.บ.ที่จะเกิดขึ้นใหม่จะให้ความสำคัญกับการเป็นอิสระของโรงเรียน โดยจะกำหนดในกฏหมายให้เอื้อพัฒนาระบบและกลไกการสนับสนุนสถานศึกษาให้ชัดเจนมากขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างยกร่างฉบับแรกให้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และนำกลับไปปรับปรุงรายละเอียดให้สมบูรณ์เพื่อนำเสนอที่ประชุมอีกครั้ง ก่อนเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"