มหิดล-สสส.มอบรางวัล Happy Family Award 25 องค์กรต้นแบบ


เพิ่มเพื่อน    

 

นวัตกรรมสร้างเสริมครอบครัวมีสุขคนทำงานในองค์กร ตกผลึกเสริมพลังครอบครัวอบอุ่นสร้างสรรค์ สสส.มอบโล่รางวัล Happy Family Award ประจำปี 2563 ชื่นชม “25 องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข” กระตุ้นสร้างความคุ้มกันให้ครอบครัวไทย ฉีดวัคซีนเข้มแข็ง-อบอุ่น-สงบสุข-พอเพียง พร้อมเผชิญทุกปัญหา 16 องค์กรรับรางวัล อีก 9 องค์กรผวาโควิดงดเดินทาง สถาบันวิจัยประชากร ม.มหิดล เผยระดับคะแนน “ครอบคร้วมีสุข” ปี 2562 เฉลี่ยเท่ากับ 68.7 ขับเคลื่อนสร้าง “นักสร้างเสริมครอบครัวมีสุข” ในองค์กร หวังต่อยอดขยายผลครอบคลุมสถานประกอบการทั่วไทย

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย จัดงาน “องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข” ประจำปี 2563 หรือ Happy Family Award 2020 ภายใต้โครงการการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กร ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม โดยมี ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ครอบครัวมีสุขในทศวรรษต่อไป” ในบรรยากาศการสวมหน้ากากอนามัย และ Face Shield อย่างเคร่งครัด มีตุ๊กตาหมีน้องปัญญาดี น้องมีสุข และน้องอบอุ่นเป็นขวัญใจในงาน

 

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข สุข สุขภาวะ สุขภาพ เป็นหน้าที่ของ สสส.สนับสนุนชุมชนสร้างความสุขที่เกี่ยวกับครอบครัว การเข้าถึง 24 ล้านครอบครัวผ่านองค์กรสุขภาวะครอบครัว ผ่านชุมชนด้วยมิติครอบครัวสอดแทรกความเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในฐานะเป็นประธานเปิดนิทรรศการ “องค์กรต้นแบบ ครอบครัวมีสุขประจำปี 2563 สสส.ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลจัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสริมเพิ่มพลังขวัญและกำลังใจและประกาศเกียรติคุณองค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข งานนี้เกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาคี องค์กร ช่วยกันขับเคลื่อนจนเกิด “ครอบครัวมีสุข” “คนทำงานมั่นคง” “องค์กรมั่งคั่ง” จึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทุกท่านในที่นี้ได้ร่วมมือร่วมใจกันทำงานอย่างเต็มที่

 

ในศตวรรษที่ 20 การงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ที่สมุทรสาครแรงงานจากพม่าแยกจากครอบครัวเข้ามาทำงานในโรงงาน เครื่องจักรหมุนสถานที่ทำงานดังเดิมทำลายความเป็นครอบครัวในทางอ้อม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ ทุกคนจะวิ่งกลับไปเยี่ยมบ้าน เยี่ยมครอบครัว ถ้าอนุญาตให้ทำงานใกล้บ้านเป็นเรื่องดีมาก ในมิติการพัฒนาที่ยั่งยืน UN ลงนาม SDG 17 ข้อ คนรุ่นใหม่ ILO มีส่วนร่วมผลักดันด้วยมิติผลักดันคนรุ่นใหม่มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดูแลขั้นพื้นฐาน ใน พ.ศ.นี้คุณภาพชีวิตเหนือกว่าปัจจัยพื้นฐาน ต้องมีความปลอดภัยเป็นมิติสำคัญในโรงงานต่างๆ สสส.ผลักดัน Happy 8 มาแล้ว 10 กว่าปี การจะมีความสุขในองค์กรได้นั้น 1 ใน 8 จะต้องมี happy family สอดคล้องกับ SDG

 

สุขภาพไม่ใช่เพียงร่างกายไม่เจ็บป่วย แต่จิตใจ ปัญญา จิตตปัญญาสังคม คุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เพียงแต่หมอ พยาบาล โรงพยาบาลที่จะเอาอยู่ใน พ.ศ.นี้เท่านั้น เป็นเวลา 4-5 ศตวรรษ ความสุข ความทุกข์ กาย จิตปัญญาขึ้นอยู่กับมดหมอหยูกยา 10% อีก 90% ขึ้นอยู่กับสังคม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต

 

ขณะนี้เชื้อโรคโควิดกลับมาเมืองไทยอีกครั้ง ขณะเดียวกันคนไทยต้องเผชิญกับโรค NCDs โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 76% ดังนั้นมิติในเชิงสุขภาพขอเชิญชวนมาช่วยกันสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นหน่วยตั้งต้นให้คนมีความสุข จะสุขหรือทุกข์หนีไม่พ้นครอบครัว ชีวิตเราตั้งแต่เกิดมามีชีวิตรอดมาได้ เติบโตมีคุณภาพชีวิต ครอบครัวเป็นเบอร์ต้นๆ ถ้าครอบครัวทำหน้าที่ไม่ดีมีปัญหา สมาชิกในครอบครัวจะมีความสุข หรือจะกลายเป็นหน่วยสร้างความทุกข์อย่างมหันต์ได้

 

Healthy Family เป็นจุดตั้งต้นของการสร้างสุขภาพ ครอบครัวอบอุ่นดูแลความสุขด้วยปัจจัยพื้นฐาน อยู่อย่างพอเพียงเป็นรากฐานชีวิตให้มีความสุข สสส.ตั้งเป้าว่า 1 ใน 10 ครอบครัวอบอุ่นต้องสร้างครอบครัวให้เกิดความร่มเย็น ครอบครัวเข้มแข็ง ครอบครัวสะท้อนว่าเรามีความสุขหรือไม่

 

ดร.สุปรีดากล่าวว่า สถานการณ์แนวโน้มครอบครัวไทยยุคใหม่มีหลายเรื่องที่น่ากังวล ด้วยลักษณะของครอบครัวหลักของสังคมไทย ส่วนใหญ่เป็น “ครอบครัวเดี่ยว” มีสมาชิกในครอบครัว 2-3 คน ซึ่งครอบครัวที่มีสมาชิก 1-2 คน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงมาก ขณะเดียวกันครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่เป็น “ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว” มากกว่า 1 ใน 3 ของครอบครัวที่มีเด็กเจนเนอเรชั่นซี-อัลฟา (Generation Z-Alpha) ซึ่งมีอายุระหว่าง 3-14 ปี มีแนวโน้มที่ไม่ได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก และเกิดครอบครัวแหว่งกลางเพิ่มขึ้น หรือครอบครัวที่มีรุ่นปู่ย่าตายายอาศัยอยู่กับรุ่นหลานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเท่าตัว ที่น่าห่วงที่สุดคือ ในปี 2560 มีผู้สูงอายุ ร้อยละ 41.5 จากประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 11.3 ล้านคน อาศัยอยู่ในครอบครัวเปราะบาง ที่ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองหรือดูแลคนในครอบครัว ในจำนวนนี้ ร้อยละ 50.2 ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับคู่สมรสตามลำพัง และร้อยละ 26.1 ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคนเดียวมีแนวโน้มสูงขึ้น

 

 

“วิกฤติทางสังคมที่ครอบครัวไทยต้องเผชิญเพราะผลกระทบจากโควิด-19 พบว่า ด้านเศรษฐกิจและการเงินมีครอบครัวไทยเพียงร้อยละ 23.4 เท่านั้น ที่ไม่มีปัญหาด้านการเงิน แต่อีกร้อยละ 76.6 ต้องเผชิญกับปัญหาด้านการเงินและเศรษฐกิจในระดับที่แตกต่างกันไป ด้านสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว พบว่ามีครอบครัวไทยร้อยละ 5.8 เมื่อมีความหงุดหงิดและโมโหแทบไม่สามารถควบคุมการใช้อารมณ์กับคนในครอบครัวได้เลย ทำให้ร้อยละ 0.9 มีการใช้ความรุนแรงทางร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังมีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ทั้งความขัดแย้งทางความคิด มุมมองทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน ช่องว่างระหว่างวัย ซึ่ง สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทำงานภายใต้โครงการ “คุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยน” เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี ลดความขัดแย้งในครอบครัว นอกจากนี้ สสส.สนับสนุนการสร้างเสริมความอบอุ่นและเข้มแข็งในครอบครัว ทั้งในสถานที่ทำงาน (Workplace) และในชุมชน (Community) รวมถึงในสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะปัญญา และทักษะด้านความรู้ รวมถึงสนับสนุนนโยบายที่เป็นมิตรสำหรับครอบครัว” ดร.สุปรีดากล่าว

 

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต จากการสำรวจความสุขของครอบครัวไทยในช่วงการระบาดของโควิดด้วยการสำรวจออนไลน์กลุ่มตัวอย่าง 1,500 คน 2 ใน 3 อยู่ต่างจังหวัด ร้อยละ 90 มีความสุขมากถึงมากที่สุดที่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว 1 ใน 3 รู้สึกใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น ครึ่งหนึ่งรู้สึกเป็นห่วงกังวลเมื่อต้องเว้นระยะห่างระหว่างสมาชิกในครอบครัว กว่าร้อยละ 20 ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ครอบครัวมีความเครียดสูงถึงสูงมาก

 

ในวาระครบรอบ 20 ปี สสส. ในปี 2564 นี้ สสส.มุ่งมั่นที่จะดูแลสถาบันครอบครัวให้อบอุ่นเข้มแข็งด้วยนวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน ทั้งเชิญชวนตัวแทนจากภาคเอกชน ภาคธุรกิจ องค์กรและสถานประกอบการ ภาคีเครือข่ายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงผลงานและร่วมงานครบรอบ 20 ปี สสส. ในช่วงเดือน พ.ย.2564

 

 

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า แผนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. สนับสนุนสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในการทำงานผ่านโครงการการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กร ปี 2561-2564 โดยมีภารกิจหลักในการสนับสนุนองค์กรภาคี 122 องค์กรทั่วประเทศให้สามารถสร้างเสริมครอบครัวมีสุขคนทำงานองค์กรอย่างต่อเนื่อง

 

ภายใต้แนวคิด “ครอบครัวมีสุข” โดย 4 องค์ประกอบนำไปสู่ “ครอบครัวมีสุข” ได้แก่ ความอบอุ่น มีความผูกพันเข้าใจ ความพร้อมในการปรับตัว 2.ความสงบสุข หมายถึงไร้ความรุนแรง 3.ความเข้มแข็งมีภูมิคุ้มกัน พึ่งพาตนเองได้ และ 4.ความพอเพียง พอประมาณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมดำเนินการสำรวจ “ครอบครัวมีสุข” และฝึกอบรมนักสร้างเสริมครอบครัวมีสุขในองค์กร ให้มีศักยภาพในการเขียนแผนปฏิบัติการที่นำไปปฏิบัติจริง ตลอดจนมีการเยี่ยมองค์กรเพื่อติดตามประเมินผลสำเร็จของกิจกรรม สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกัน “ครอบครัวมีสุข” ด้วย 4 วัคซีน ได้แก่ วัคซีนเข้มแข็ง วัคซีนอบอุ่น วัคซีนสงบสุข และวัคซีนพอเพียง เป็นการสร้าง “ครอบครัวสุขภาวะ” ให้เป็นพื้นฐานแห่งความสุขของคนในชาติ หนุนเสริมทุกภาคส่วนในการสร้าง “ครอบครัวอบอุ่น” และ “ครอบครัวมีสุข” เพื่อเกิดเป็นต้นแบบ ขยายฐานอย่างต่อเนื่อง

 

รศ.ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า นิทรรศการ “องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุขประจำปี 2563 จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด ประสบการณ์ กิจกรรม ผลสำเร็จระหว่างภาคีองค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุขที่ได้ร่วมกันกับโครงการพัฒนาสร้างเสริม บุคลากรและครอบครัวเกิดเป็นครอบครัวอบอุ่นและมีสุข การเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ 25 องค์กรครอบครัวมีสุขต้นแบบร่วมกัน Vote บูธ องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุขที่ชื่นชอบ สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ภาคีนำมาจัดแสดงและจำหน่าย การนำเสนอแนวคิดเป็นบทเรียนที่ดีในการนำไปเป็นตัวอย่างปรับใช้เพื่อความอยู่รอดหากต้องเผชิญวิกฤติ

 

 

ด้าน รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต หัวหน้าโครงการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการ “การสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กร” โดยขับเคลื่อน “ครอบครัวอบอุ่น” ไปสู่ “ครอบครัวมีสุข” จำนวน 122 องค์กร รวมทั้งสร้าง “นักสร้างเสริมครอบครัวมีสุข” จำนวน 772 คน จาก 70 องค์กรที่มีความพร้อมด้วยหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการครอบครัวมีสุขคนทำงาน” ทำให้เกิด “แผนปฏิบัติการสร้างเสริมครอบครัวมีสุข” ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในบริบทต่างๆ ของสถานประกอบการ นอกจากนี้ ผลการสำรวจครอบครัวมีสุขของคนทำงานองค์กรในปี 2562 ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2562 จำนวนทั้งสิ้น 12,565 คน พบว่า ดัชนีครอบครัวมีสุขของคนทำงานองค์กรคือ 68.7 โดยแบ่งเป็น ความอบอุ่นมีค่า 72.2 ความสงบสุขมีค่า 76.7 ความเข้มแข็งมีค่า 60.0 และความพอเพียงมีค่า 64.9

 

 

ทั้งนี้ มีการมอบโล่รางวัลให้กับ 25 องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข และประกาศผล “องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข” ประจำปี 2563 แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ “ดี” “ดีมาก” “ดีเด่น” ในระดับ “ดี” ได้แก่ บริษัท สมชายการยางเซอร์วิส จำกัด 1977 ในระดับ “ดีมาก” ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง

 

ในระดับ “ดีเด่น” ได้แก่ บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้มีการมอบรางวัล Popular Youtube Vote และมอบรางวัล Popular Conference Vote ด้วยคือ บ.วิริยะเครปโปรดักส์ จำกัด ทำงานบนหลักการเราจะเดินไปด้วยกัน เดินคู่กันตลอดไป เป็น บ.ผลิตเนื้อปูบรรจุกระป๋อง พนักงานในชุมชนจับปูม้า แต่นับวันปูม้าจะลดน้อยลง จึงทดลองทำธนาคารปูในชุมชน จับแม่ปูไข่นอกกระดอง เพาะเลี้ยงปูเป็นโครงการ happy love crab แล้วนำปูไปปล่อยทะเล ทำให้ท้องทะเลมีปูม้ามากมาย มีรายได้เพิ่มขึ้น

 

บ.นาราสมุทร จำกัด ตาตง นครสวรรค์ จำกัด ร้านน้องโบ๊เบ๊ประตูน้ำ 2 พิษณุโลก บ.ศรีแก้วหล่มเก่า บ.อีซูซุกาญจนบุรี สำนักงานใหญ่ บ.ยูบิส (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) บ.โปรดักส์ ดีเวลลอปเม้นท์ เมนูแฟคเจอร์ริง จำกัด บ.เอ็มแอนด์อาร์แลบเบอราทอรี่ จำกัด กิจตรงยามาฮ่าอุบลราชธานี ห้างหุ้นส่วนจำกัดชัยรุ่งเรืองยนต์ 333 โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวชุนกี่ วิสาหกิจชุมชนกระทุ่มรายพัฒนา บ.สุภาฟาร์มผึ้ง วิสาหกิจชุมชนไอริช  มี 16 องค์กรที่เดินทางมารับรางวัลได้ อีก 9 องค์กรอยู่เชียงใหม่ พิษณุโลก สมุทรสาคร ไม่สะดวกในการเดินทางมารับรางวัล

 

Happy Family Project

Happy Family Project สสส.โครงการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุข เพื่อคนทำงานองค์กรในประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

Happinometer Model ตรงตามที่ตนต้องการ ตรงตามที่องค์กรต้องการ ใช้ความเป็นมืออาชีพทำงานอย่างมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาสร้างเสริมความรู้ความสามารถทักษะ

การพัฒนาสร้างเสริมคุณภาพชีวิต กาย ผ่อนคลาย จิตวิญญาณ สังคม ปัญญา (สุขภาวะ 5 ด้าน)

11 มิติ Happinometer : Happy body .Happy Relax .Happy Heart.Happy Soul.Happy Family.Happy Society.Happy Brain .Happy Money.Happy Work-Life Happy Engagement Happy Work-life Balance

ผลสำรวจองค์กรมีความสุขระดับประเทศ ในปี 2555-2562 เฉลี่ย 2555 : 57.1 ปี 2562 : 60.2

เฉลี่ยสูงสุดในปี 2558 : 62.2 เฉลี่ยต่ำสุดปี 2556 : 57.1

(ครอบครัวมีสุข คนทำงานมั่นคง องค์กรมั่งคั่ง อบอุ่น สงบสุข เข้มแข็ง พอเพียง Smart People-work-Goals)

ปี 2562 องค์กร 122 แห่ง จัดอบรมหลักสูตร R2HF ให้กับภาคีเครือข่ายครอบครัวมีสุขให้ 100 องค์กร มีการจัดประกวด “ครอบครัวมีสุขต้นแบบประจำปี 2563” ติดตามประเมินสำรวจครอบครัวมีสุข 122 องค์กร ปี 2563 (รอบ 2 ปี)

 

ผลสำรวจครอบครัวมีสุขปี 2562 ภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย ครอบครัวมีสุขของคนทำงานในองค์กร 68.7คะแนน ค่าคะแนนเฉลี่ยภาพรวมครอบครัวมีสุขตามองค์ประกอบหลัก 76.7 ความสงบสุขมาเป็นอันดับ 1 ความเข้มแข็ง ความพอเพียงตามมา ดังนั้นจำเป็นต้องเสริมสร้าง “นวัตกรรมครอบครัวมีสุข” คนทำงานองค์กรในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นต้นแบบการบริหารจัดการ “แผนปฏิบัติการครอบครัวมีสุข” ในสังคมไทย ขยายผล “นักสร้างเสริมครอบครัวมีสุขต้นแบบ” การฝึกอบรมระยะสั้น “นักสร้างเสริมครอบครัวมีสุข”

 

ขณะเดียวกันยังได้มีการสำรวจผลกระทบโควิด-19 ที่มีต่อองค์กรภาคีเครือข่าย 87% สามารถต้านทานและยังอยู่รอดได้ ในขณะที่ 13% ต้องหยุดกิจการชั่วคราว ผลกระทบต่อคนทำงานในครอบครัว 97.6% ได้รับผลกระทบ 2.4% ไม่ได้รับผลกระทบ

วัคซีนครอบครัวมีสุข ความสงบสุข ความอบอุ่น ความพอเพียง ความเข้มแข็ง

ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในครอบครัวประเภทต่างๆ เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดโควิด-19 ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 28.4% ครอบครัวอยู่คนเดียว 32.0% ครอบครัวพ่อแม่ลูก 33.3% สามีภริยาไม่มีลูก 40.5% ครอบครัวขยาย 34.2%

เรื่องที่กระทบคนทำงานมากที่สุดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

ค่าใช้จ่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ 35.0% ความวิตกกังวลหรือความหวาดระแวงการติดเชื้อโรค 19.1% การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันในสังคม 15.5% การปรับเปลี่ยนรูปแบบวันเวลาการทำงาน 13.3% การเดินทางเป็นประจำ 7.1% อื่นๆ 3.5%

 

ผู้ได้รับรางวัล Happy Family Award 2020

ศรีศักดิ์ แสงสุข ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์ 44 ลำผักชี สารภี บัวเกษ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กระทุ่มรายพัฒนา หนองจอก เล่าถึงความร่วมมือร่วมใจทำให้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกเพื่อต่อยอดไปทำเป็นรายได้ ด้วยการลงทุน 100 กว่าบาท ผลิตของใช้ในครัวเรือนประเภทสบู่ ซักล้าง ครีมอาบน้ำ ยาสีฟัน ทำจากฟักข้าว สมุนไพร ใบบัวบก ลดการใช้สารเคมี กลุ่มยาดมสมุนไพร

 

ปกติแล้วเมื่อทำอาหารของทอดจะเหลือน้ำมันนำมาแปรรูปเป็นสบู่ซักล้าง เสื้อผ้าชุดนักเรียน ถุงเท้ามีคราบสกปรกเลอะเทอะ หม้อภาชนะนำมาขัดล้างได้เป็นอย่างดี การทำขนมปั้นสิบไส้เห็ด ขนมเปี๊ยะหิมะ เราอยากให้ชุมชนมีสุขภาพดี ส่งเสริมให้มีการปลูกผักทุกครัวเรือน ปลูกน้ำเต้าแบ่งกันกิน เหลือขายได้ เป็นการทำงานร่วมกันในชุมชน

 

ปราณี งอกงาม รวมกลุ่มชาวบ้าน 21 คน เป็นวิสาหกิจชุมชนไอริช ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย 1596/640 ม.4 ถนนเทพารักษ์ อ.เมือง สมุทรปราการ 10270 เริ่มแรกทำคนเดียวในปี 2557 จากนั้นรวมกลุ่มชาวบ้านในปี 2560 กลุ่มเข้มแข็งมีเงินออม ค่อยๆ ปลดหนี้ด้วยการปล่อยกู้กันในกลุ่มเพื่อปลดหนี้เงินกู้นอกระบบ จัดให้มีร้านค้าชุมชนนำสินค้าที่ผลิตได้มาจำหน่าย สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการซักผ้า ซักล้างภายในครัวเรือนที่ปราศจากสารเคมี ขณะนี้นำข้าวหอมมะลิที่ผลิตได้จากร้อยเอ็ดมาจำหน่ายที่ร้านค้าชุมชนด้วย มีโรงสีชุมชน นำมาขายในกลุ่มสมาชิกของแม่บ้านด้วยสนนราคาไม่แพง รับประทานข้าวใหม่สดอร่อย ปลอดภัย ไร้สารเคมีเจือปน

 

ปราณีเล่าว่า ขณะนี้บุตรสาว กนกวรรณ งอกงาม เรียนจบปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา มศว ประสานมิตร กำลังเรียนต่อปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อม มาช่วยวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสมาชิก เพื่อผลิตสินค้าปลอดภัยให้กับผู้บริโภค “ลูกสาวเป็นคนตั้งชื่อบริษัทสื่อความหมายว่า I Rich”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"