คนไทยกลุ่มไหนจะได้ วัคซีนโควิดเมื่อไหร่ อย่างไร?


เพิ่มเพื่อน    

 

        เมื่อเรากำลังจะได้วัคซีนโควิดจาก Sinovac ของจีนมาในจังหวะใกล้กับที่จะได้จาก AstraZeneca ก็น่าสนใจว่าที่เมืองจีนเขามีนโยบายจัดลำดับการแจกจ่ายและฉีดกันอย่างไร

                ผมเห็นข่าวจากปักกิ่ง โดยเฉพาะที่เขตไหเตี้ยน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา บอกว่า

                เป็นการเน้นฉีดใน “กลุ่มเสี่ยง” เช่น บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและป้องกันโควิด

                นอกจากนั้นก็ให้ความสำคัญแก่คนที่ทำงานเกี่ยวกับขนส่ง โดยเฉพาะอาหารแช่แข็ง

                เหตุเพราะเคยพบเชื้อโควิดบริเวณกล่องและบรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่นำเข้าจากต่างประเทศอยู่หลายครั้งก่อนหน้านี้

                ผู้ได้รับวัคซีนจะต้องมีอายุระหว่าง 18-59 ปี

                เชื่อว่าเป็นกลุ่มที่น่าจะได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนน้อยสุด

                ดูจากรูปวันนั้นจะเห็นว่ามีการจัดเก้าอี้เอาไว้เพื่อให้ผู้ได้รับวัคซีนได้นั่งพักและดูอาการหรือผลข้างเคียงอย่างไร

                ข่าวบอกว่ารัฐบาลจีนมีแผนฉีดวัคซีนฟรีให้กับพลเมืองปักกิ่งในวงกว้าง ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเสี่ยงวัย 18-59 ปี หลังตรุษจีนที่กำลังจะเริ่มวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้

                ของไทยเรานั้น กระทรวงสาธารณสุขบอกว่า ในการจัดหาวัคซีนโควิดจะพิจารณาจากคุณสมบัติของวัคซีน ราคา จำนวนที่จะขายให้ได้ และเวลาที่จะส่งมอบ

                อาจจะต้องรอวัคซีนส่งมานาน 6-8 เดือน หรืออาจเป็นปี

                ด้วยเหตุนี้จึงมีการเจรจาวัคซีนประมาณไม่เกิน 3 ชนิด เพราะต้องการป้องกันปัญหาการขนส่งและการฉีด

                มีคำอธิบายว่าหน่วยงานต่อไปนี้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดก่อนจะมีการแจกจ่ายเพื่อฉีดให้ประชาชนคือ

                คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ คณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนเพื่อคนไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาเรื่องการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

                องค์การ UNICEF ประเมินว่าวัคซีนโควิดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ยังมีปริมาณจำกัด

                กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนดังนี้

                1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน

                2.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน 

                3.ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 

                4.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 เช่น อสม. ทหาร ตำรวจ ที่จะต้องคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาด โดยเริ่มในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี จันทบุรี ระยอง และตราด ฉีดคนละ 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน

                สำหรับระบบการกระจายวัคซีนนั้น ประเทศไทยมีระบบคลังวัคซีนใหญ่ 2 แห่งคือ กรมควบคุมโรคและองค์การเภสัชกรรมที่จะร่วมกันกระจายวัคซีนไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยมีระบบควบคุมอุณหภูมิความเย็นอย่างต่อเนื่องไปยังโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประมาณ 11,000 แห่ง

                ใน กทม.จะมีศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลรัฐสังกัดอื่นๆ โรงเรียนแพทย์และภาคเอกชน โดยจะมีการอบรมเรื่องการฉีดวัคซีน การเก็บวัคซีน การเตรียมจุดบริการ ระบบการขึ้นทะเบียนโดยใช้แอปพลิเคชัน และให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำรวจประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้บริการได้อย่างครบถ้วน ติดตามให้มารับวัคซีนเข็มที่ 2 ได้อย่างแม่นยำ

                รวมถึงการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังรับวัคซีน ซึ่งจะติดตามผู้ได้รับวัคซีนทุกคนเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ตามหลักมาตรฐานสากล

                ผลการทดสอบประสิทธิภาพในมนุษย์ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการขึ้นทะเบียนนั้น พบว่าวัคซีนของ Pfizer มีประสิทธิผล 95% โดยฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน, วัคซีนของ Moderna มีประสิทธิผล 94.5% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน, วัคซีนของ AstraZeneca มีประสิทธิผล 62-90% ขึ้นกับปริมาณการฉีด โดยฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน, วัคซีนของรัสเซีย มีประสิทธิผล 92% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 14-21 วัน ส่วนวัคซีนของซิโนฟาร์ม ประเทศจีน มีประสิทธิผล 79% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน โดยวัคซีนทั้ง 5 ตัวได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศต้นทางแล้ว

                ส่วนวัคซีนของ Sinovac ประเทศจีน มีประสิทธิผล 78%

                ที่บราซิล ผลการใช้แสดงผลที่ 50.4% ทำให้เราต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

                สำหรับการจองซื้อกับ AstraZeneca 26 ล้านโดสนั้น มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตในประเทศไทย โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิต 200 ล้านโดสต่อปี สามารถส่งต่อวัคซีนให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านได้ต่อไป

                ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร?

                คำตอบคือ ผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิดอาจมีอาการทั่วไป เช่น ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง

                เมื่อมีการชี้แจงรายละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้ สิ่งที่จะสร้างความไว้วางใจสำหรับคนไทยทั่วไปก็คือ การให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องและตอบคำถามของประชาชนจากทุกกลุ่มก้อนอย่างชัดเจนและรวดเร็วทันการณ์

                อันตรายของข้อเท็จจริงคือ ข่าวลวง ข่าวปลอม ข่าวคาดการณ์ที่ไม่รู้ที่มาที่ไปนั่นเอง.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"