ไบเดนเห็นอาเซียน สำคัญมากกว่าทรัมป์ไหม?


เพิ่มเพื่อน    

วันนี้ 20 มกราคม 2021 ตรงกับวันที่โจ ไบเดน จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

                เข้านั่งตำแหน่งที่มีอิทธิพลทางการเมืองที่สุดของอเมริกา...และของโลก

                สำหรับคนเอเชีย คำถามใหญ่ก็คือ ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐจะมีความสนใจเอเชีย โดยเฉพาะอาเซียนมากน้อยกว่าโดนัลด์ ทรัมป์ เพียงใด

                ผมเชื่อว่าไบเดนและทีมงานด้านต่างประเทศ, เศรษฐกิจและความมั่นคงของเขาจะมองเห็นอาเซียนเป็นกุญแจสำคัญต่อคำมั่นสัญญาของไบเดนว่า

                America is Back!

                นั่นหมายถึงการที่สหรัฐกำลังจะ “กลับมา” มีบทบาทคึกคักอีกครั้งหนึ่งในเอเชีย

                เพราะนั่นหมายถึงการมาถ่วงดุลอำนาจของจีนในภูมิภาคที่มีความสำคัญต่ออนาคตของโลกเป็นอย่างยิ่ง

                ประเด็นสำคัญสำหรับไทยและอาเซียนก็คือ จะต้องทำให้ “การกลับมาสนใจเอเชีย” ของอเมริกาเกิดประโยชน์กับภูมิภาคนี้

                มิใช่เพียงแค่การเอื้อประโยชน์ให้มหาอำนาจสหรัฐกลับมามีอิทธิพลเพื่อตนเองเท่านั้น

                นักวิเคราะห์ด้านเอเชียในสหรัฐแสดงความเห็นว่า ความพร้อมและความตั้งใจของไบเดนที่จะเพิ่มบทบาทของสหรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะช่วยสร้างความมั่นใจในกลุ่มผู้นำของอาเซียน

                นั่นหมายความว่าไบเดนจะต้องแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมถึงความตั้งใจของวอชิงตันที่จะกลับมามีบทบาทผู้นำในลักษณะ “ที่สามารถคาดเดาได้” อีกครั้งหนึ่ง

                คำว่า “คาดเดาได้” หรือ predictable มีความสำคัญสำหรับผู้นำในเอเชีย

                เพราะตลอด 4 ปีที่ทรัมป์นั่งทำเนียบขาวนั้น นโยบายจากวอชิงตันต่อเอเชียตกอยู่ในภาวะเอาแน่เอานอนไม่ได้

                ทรัมป์เล่นเกมต่อรองแบบทวิภาคีเพื่อกดดันให้ประเทศต่างๆ ยอมตามเงื่อนไขของเขา

                ผู้นำเอเชียไม่อาจจะประเมินได้ว่าสหรัฐจะมีนโยบายอย่างไร และการต่อรองแต่ละครั้งมีเป้าหมายเพียงระยะสั้นหรือระยะยาวอย่างไร

                ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา สหรัฐมีความกังวลว่าจีนพยายามเข้าครอบครองพื้นที่ในทะเลจีนใต้ และพยายามจะกดดันให้ประเทศคู่พิพาทในย่านนี้ยอมตามเงื่อนไขของจีน

                อเมริกาส่งเรือรบเข้ามาลาดตระเวนในทะเลจีนใต้เป็นสัญญาณเตือนเป็นระยะๆ

                อีกทั้งยังให้ความสนับสนุนทางทหารแก่บางประเทศของอาเซียนเพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนถึงปักกิ่ง

                แต่ท่าทีของทรัมป์ก็ยังเป็นลักษณะห่างเหินจากอาเซียน ไม่ให้ความสำคัญเหมือนรัฐบาลสหรัฐก่อนๆ

                ด้วยเหตุนี้จึงเกิด “สุญญากาศแห่งอำนาจ” ในเอเชีย

                เป็นการเปิดช่องให้จีนเข้ามาสร้างอิทธิพลกดดันในภูมิภาคได้อย่าชัดแจ้ง

                นักวิชาการอเมริกันด้านนี้บอกว่า จีนได้ใช้ soft power กับประเทศสมาชิกของอาเซียนเพื่อชนะใจในประเด็นปัญหาต่างๆ

                มีตั้งแต่การช่วยผ่อนคลายปัญหาเศรษฐกิจจากกรณีโควิด-19

                และเข้าร่วมกิจกรรมการพบปะของอาเซียนอย่างแข็งขัน

                อีกทั้งยังแสดงความใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง

                ในทางกลับกัน สหรัฐกลับมีท่าทีเหินห่างและเฉยเมยกับอาเซียน โดยทรัมป์เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของอาเซียนเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2560

                และมอบหมายให้ตัวแทนเข้าร่วมการประชุมแทนหลังจากนั้น

                ไม่แต่เท่านั้น อเมริกายังไม่ยอมรับข้อเสนอความสัมพันธ์และความร่วมมือแบบพหุภาคีเหมือนที่เคยเป็นมาตลอด

                หนีไม่พ้นว่าผู้นำอาเซียนเริ่มไม่แน่ใจว่าจะทำตัวอย่างไรกับทรัมป์ และจะบริหารความสัมพันธ์กับวอชิงตันอย่างไร

                นักวิเคราะห์ที่อเมริกาบางคนเชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐชุดใหม่ภายใต้การนำของไบเดนจะมีท่าทีที่ตรงกันข้ามกับทรัมป์

                เชื่อว่าไบเดนจะหันมากลับมาพึ่งพากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุภาคีอีกครั้ง

                ไม่ยึดแต่เพียงคบหากันแบบ “สองต่อสอง” สไตล์ทรัมป์

                แนวทางพหุภาคีเป็นแนวทางปฏิบัติดั้งเดิมของพรรคเดโมแครตมาช้านาน

                ด้วยวิธีนี้จะช่วยสร้างกรอบความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น

                จะช่วยลดความขัดแย้งกับความไม่แน่นอนลงได้

                หรืออย่างน้อยก็จะเป็นการช่วย “ซื้อเวลา” ให้กับอาเซียนสร้างดุลความสัมพันธ์กับสหรัฐและจีนได้ในระยะเวลาต่อแต่นี้ไป

                ต้องไม่ลืมว่าสหรัฐจำเป็นต้องอาศัยอาเซียนเพื่อต้านอิทธิพลของจีนเช่นกัน

                แม้ว่าหลายประเทศในอาเซียนต้องพึ่งพาจีนอยู่ทั้งในเรื่องการค้าและการลงทุน แต่หลายประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะไทยก็เป็นพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐมานานเช่นกัน

                ถ้าสหรัฐภายใต้ไบเดนมีความริเริ่มด้านการค้าใหม่ อาเซียนก็คงพร้อมที่จะนั่งลงพูดคุยกับทีมงานของไบเดนอย่างกระตือรือร้นแน่นอน

                เหมือนได้เจอเพื่อนเก่าที่คุ้นเคยมากกว่าคนรู้จักที่ส่งเสียงโหวกเหวกทำนอง “นักเลงโต” อย่างทรัมป์เป็นแน่นอน.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"