'อมตะ'ชะลอลงทุนนิคมฯในเมียนมาเกาะติดนโยบายการเมืองรัฐบาลใหม่


เพิ่มเพื่อน    

 

2 ก.พ. 2564 นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะคอร์ปเรชัน จำกัด (มหาชน)  (AMATA) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ขณะนี้ อมตะได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีโครงการอยู่ระหว่างเข้าไปพัฒนาเมืองอัจฉริยะอมตะย่างกุ้ง (Yangon Amata Smart & Eco City, YASEC) หลังจากได้รับใบอนุญาต (license)จากรัฐบาลเมียนมาในการประกอบกิจการนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองย่างกุ้ง บนพื้นที่ประมาณ 2,000 เอเคอร์ หรือ ประมาณ 5,000 ไร่  โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่ในระยะแรกแล้ว โดยใช้งบลงทุนประมาณ 140 ล้านบาท ประมาณ 200 เอเคอร์ หรือ ประมาณ 500 ไร่ ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา 

ทั้งนี้จากสถานการณ์ความผันแปรทางการเมือง ประกอบกับการแพร่ระบาดโควิด 19 ที่เกิดขึ้น ยอมรับว่าแผนการพัฒนาโครงการดังกล่าวได้รับผลกระทบต่อการเข้าไปพัฒนานิคมฯ ดังนั้นอาจจะทำให้แผนการพัฒนามีความล่าช้าออกไปอีก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของกลุ่มลูกค้า ที่อยู่ระหว่างการเจรจาเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ประมาณ 20 ราย ที่มีทั้งญี่ปุ่น และ ยุโรป ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ 100 เปอร์เซ็นต์   

“ยอมรับว่านักลงทุนต่างชาติโดยส่วนใหญ่กังวลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของรัฐบาลในเมียนมา โดยเฉพาะกลุ่มยุโรป และประเทศอเมริกา เนื่องจากกลุ่มประเทศเหล่านี้มักจะไม่เห็นด้วยกับนโยบายการแทรกแซงทางการเมือง ดังนั้นจึงอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศเมียนมาในระยะต่อไป แต่อย่างไรก็ตามคงต้องรอความชัดเจนนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเมียนมาต่อไป” นายวิบูลย์ กล่าว 

อย่างไรก็ตามแผนการพัฒนาโครงการดังกล่าวในระยะต่อไป  อมตะ เตรียมแผนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หากเกิดกรณีที่นักลงทุนยังไม่ตัดสินใจเข้ามา จึงจำเป็นต้องเลื่อนการพัฒนาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบไฟฟ้าและระบบน้ำ แต่เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติก็คงเดินหน้าพัฒนาโครงการดังกล่าวต่อไป  

สำหรับแผนการพัฒนานิคมฯโครงการในเมียนมา เป็นการขยายพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้น ในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน ถือเป็นพื้นที่มีศักยภาพที่มีความพร้อมในการสร้างความได้เปรียบทางการค้า เนื่องจากเป็นประเทศที่เปิดใหม่ มีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำ ประกอบกับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออก ดังนั้นหากรัฐบาลเมียนมา ใช้หลักการในระบอบประชาธิปไตย ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและต่างประเทศได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"