ส.ส.ก้าวไกล เรียกร้องรัฐดูแลธุรกิจคราฟท์เบียร์ ธุรกิจกลางคืนอย่างเร่งด่วน


เพิ่มเพื่อน    

4 ก.พ.64 - ที่อาคารรัฐสภา นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 22 พร้อมด้วย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.ปีกแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเเรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กับ (น.ส.) ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงต่อสื่อมวลชน ถึงกรณีการละเลยของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการเยียวยามาตรการต่อผู้ประกอบการธุรกิจภาคกลางคืน นักดนตรี เเละผู้ประกอบการธุรกิจคราพเบียร์อย่างไม่ตรงจุดและไม่ทั่วถึง

นายสุเทพ กล่าวว่า ตนขอเรียร้องให้รัฐบาลเยียวยาอย่างถ้วนหน้า ที่ผ่านมาโควิดรอบแรก พี่น้องแรงงานในระบบประกันสังคมกว่า 11 ล้านคน ไม่ได้รับการเยียวยาแม้เเต่คนเดียว นี่คือสิ่งที่ตนอยากสะท้อนไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะพี่น้องเเรงงานที่ส่งเสียงไปยังรัฐบาลไม่ถึง ตนในฐานะผู้แทนราษฎรจึงช่วยเป็นกระบอกเสียงเเละผลักดัน สิ่งสำคัญที่จะให้รัฐเยียวยา คือต้องไม่มีเงื่อนไขจากภาครัฐ จากที่รัฐระบุกรณีเงินฝากในบัญชีต้องมีไม่เกิน 500,000 บาท ถึงจะได้รับมาตรการเยียวยา ตนคิดว่ากรณีนี้ ไม่ควรกำหนดและเป็นการจำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตนจึงขอฝากไปยังรัฐบาล ให้เยียวยาประชาชน และเร่งพิจารณามาตรการอย่างตรงจุดถ้วนหน้าและทั่วถึง รัฐบาลต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ในวันนี้ตนมาเป็นตัวแทนของแรงงานนอกระบบในฐานะอดีตนักดนตรีกลางคืน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1 ก.พ.) กลุ่มนักดนตรีกลางคืนได้ไปยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี โดยตนขอสะท้อนข้อเรียกร้องใน 2 ประเด็นหลัก คือ ขอให้รัฐเยียวยามาตรการเราชนะโดยให้สามารถถอนเป็นเงินสดได้ เพราะค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำรงชีวิตไม่สามารถใช้เงินในแอฟพลิเคชันใช้จ่ายได้ อาทิ ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียน ฯลฯ โดยขอให้รัฐผู้กำหนดนโยบายที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายเลิกคิดแทนประชาชน ในการเยียวยามาตรการอย่างไม่ตรงจุด ประชาชนเข้าไม่ถึง และขอให้ผ่อนปรนมาตรการในการให้นักดนตรีกลางคืนกลับไปประกอบอาชีพตามปกติ โดยพวกเขายอมรับข้อเสนอและปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ข้อจำกัดเพื่อให้สามารถประกอบเลี้ยงครอบครัวได้ เนื่องจากผลกระทบโควิดทั้ง 2 รอบนั้น ทำให้รายได้ของพวกเขาเหล่านั้นเป็นศูนย์

ขณะที่ นายเท่าพิภพ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อธุรกิจวงการคราฟท์เบียร์อย่างสูง ทั้งการระบาดทั้ง 2 รอบ จากกรณีที่ พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงต่อสื่อมวลชน 1 ก.พ. 2564 ว่า ต้องให้ผู้ประกอบการที่ส่งเสียงว่ายากลำบาก ช่วยเสนอมาตรการมาด้วยว่าจะมีการกำกับดูแลลูกค้าอย่างไร กรณีที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ตนคิดว่าเป็นการละเลย ผลักภาระให้ประชาชนของภาครัฐ รัฐควรมีมาตรการดูแลอย่างตรงจุด ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม โดยในส่วนของวงการคราฟเบียร์ ได้ขออนุญาตบรรจุใส่ภาชนะสแตนเลสปลอดการกัดกร่อน แต่กลับถูกกรมสรรพสามิตสั่งห้าม และขอชะลอการจ่ายภาษีที่สูงก็ยังถูกห้ามอีก ซึ่งแตกต่างจากเจ้าสัวผู้ประกอบการรายใหญ่ของประเทศ กรณีดังกล่าวดูเหมือนรัฐมีอคติ และอยากให้ธุรกิจเล็กๆ อวสานหรือไม่ ตนขอให้รัฐเร่งเยียวยาโดยเร็วก่อนที่ธุรกิจคราฟเบียร์ในไทยจะสูญพันธ์

ด้าน ณธีภัสร์ กล่าวในฐานะกรรมาธิการติดตามเงินพระราชกำหนดกู้เงินโควิดทั้ง 3 ฉบับ ว่า เมื่อวานนี้ที่ประชุมกรรมาธิการได้มีการเรียกสภาพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคมแห่งชาติ มาชี้แจงงบประมาณที่รัฐกู้มาใช้เพื่อบริหารจัดการด้านโควิดยังคงเหลืออยู่ เหตุใดรัฐจึงไม่บริหารและนำงบส่วนนี้มาเยียวยาผู้ใช้แรงงานและประชาชนที่ตกหล่นอย่างทั่วถึง โดยตนจะนำเรื่องดังกล่าวเพื่อเข้าสู่คณะกรรมาธิการ เพื่อให้ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"