"คามิชิไบ" ศิลปะเล่านิทานดั้งเดิมจากญี่ปุ่น


เพิ่มเพื่อน    

โนซากะ กำลังเริ่มพาทุกคนเข้าสู่โลกนิทานคามิชิไบ


การเล่านิทานหรือฟังนิทานสำหรับเด็ก นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดพัฒนาการ การเรียนรู้ สร้างสมาธิ และการสื่อสาร ให้กับเด็กๆ  ซึ่งศิลปะการเล่านิทานมีหลายรูปแบบ อย่างในประเทศญี่ปุ่น มีศิลปะการเล่านิทานจากแผ่นกระดาษ หรือที่เรียกว่า"คามิชิไบ "ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "ละครกระดาษ "ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสืบทอดยาวนานกว่า 100 ปี

 


เอกลักษณ์ของ"คามิชิไบ" คือ ศิลปะลีลาการเล่าเรื่องของนักเล่าแต่ละบุคคล การดำเนินเรื่องด้วยรูปวาดบนแผ่นกระดาษ ในอดีตภาพที่ใช้เล่านิทานนักเล่าจะเป็นคนวาดด้วยตัวเอง  และในการเล่าจะต้องมีกล่องไม้ ที่มีบานพับแทนโรงละคร เรียกว่า บุไต (Butai)  ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเล่า เปรียบเสมือนมีทีวีสร้างความสนุกสนานกับผู้ฟัง และช่วยเติมเต็มจินตนาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


ปัจจุบัน"คามิชิไบ" ถูกนำกลับมาใช้เป็นเครื่องมือในการเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง ทั้งในโรงเรียน หรือห้องสมุดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก อย่างในประเทศไทยเองก็มีกลุ่มคนที่ศึกษาและนำกลวิธีดังกล่าวมาใช้อยู่บ้าง อาทิ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของหอภาพยนตร์ หรือกิจกรรมเล่านิทานของ TK Park  
ด้วยเหตุนี้  TK Park จึงได้เปิดพื้นที่ออนไลน์ร่วมเรียนรู้ศิลปะการเล่านิทานแบบ"คามิชิไบ" แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ในกิจกรรม “The Art of Kamishibai เล่าศิลป์ คามิชิไบ” โครงการร่วมทุนระหว่างสถาบันอุทยานการเรียนรู้และ The Japan Foundation, Bangkok จากการบรรยายสดออนไลน์ โดยวิทยากรรับเชิญ คุณโนซากะ เอสึโกะ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการแสดงและการสร้างสรรค์คามิชิไบ ผ่านทาง Facebook: TKpark อุทยานการเรียนรู้ และ Youtube: TKpark Channel ที่จะมาถ่ายทอดเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือการเล่านิทานโดยใช้เทคนิคคามิชิไบ และความแตกต่างจากนิทานภาพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสำหรับเด็กในยุคสมัยใหม่  เหมาะอย่างยิ่งกับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กเล็ก และผู้สนใจศิลปะการเล่าเรื่องสำหรับเด็ก

โนซากะ เอสึโกะ 


โนซากะ เอสึโกะ หัวหน้างานโครงการระหว่างประเทศ สมาคมคามิชิไบนานาชาติแห่งญี่ปุ่น กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นนักแปลหนังสือนิทานภาพเด็ก และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาก็ได้เข้ามาทำงานในสมาคมคามิชิไบฯ สำหรับคามิชิไบนั้นมีมานานและได้รับความนิยมจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งการมาถึงยุค ของโทรทัศน์เฟื่องฟูในช่วงปี 1950  ทำให้คามิชิไบรูปแบบเก่าเสื่อมความนิยมลง   ปัจจุบันมีการฟื้นฟู นำกลับมาเล่านิทานให้เด็กฟังแพร่หลายมากขึ้น  มีการแปลเป็นภาษาจีน อังกฤษ ฝรั่งเศส  


ในมุมของตน  โนซากะ บอกว่า  คามิชิไบ มี 2 รูปแบบคือ ผู้ฟังมีส่วนร่วม และเรื่องสมบูรณ์ด้วยตัวเอง ในที่นี้คือเหมาะสำหรับเด็กโต ที่คนดูไม่ต้องมีส่วนร่วมก็ได้ และจำนวนหน้าของคามิชิไบมีตั้งแต่ 12 แผ่น และ 16 แผ่น ใช้เวลาในการเล่าหากเป็นเรื่องสั้นประมาณ 6-7 นาที และเรื่องยาวก็ไม่ควรเกิน 15 นาที นิยมเล่าในชั้นเตรียมอนุบาล หรือ 3-5 ขวบ ก็มีผลงานที่สามารถฟังได้ทุกเพศทุกวัย

บุไต สำหรับนักเล่าคามิชิไบ


โนซากะ  ยังให้ข้อมูลอีกว่า นิทานภาพ ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับคามิชิไบ อาทิ มีภาพประกอบ มีประโยค-เนื้อเรื่อง ที่เหมือนกัน ส่วนข้อแตกต่าง คือ นิทานภาพมีการเย็บสันเล่ม เรื่องจะดำเนินไปด้วยการเปิดหน้าไปเรื่อยๆ ประโยคจะอยู่หน้าเดียวกับภาพผู้อ่านหรือผู้เล่าก็จะหันหน้าเข้าหนังสือ แม้ว่าจะครูที่อ่านให้เด็กหรือให้คนอื่นฟัง ผู้เล่าก็ยังคงหันหน้าเข้าหาหนังสือ และสามารถผลิกย้อนกลับไปอ่านหน้าเก่า อีกทั้งยังเป็นการตัดสินใจอ่านด้วยตัวเอง สามารถสนุกสนานเพลิดเพลินได้คนเดียว  ในขณะที่ คามิชิไบ จะประกอบด้วยตัวผู้เล่าหรือผู้แสดง กระดาษที่มีเนื้อเรื่องและภาพนิทาน และบุไต


สำหรับ ผู้รับหน้าที่ผู้เล่าหรือผู้แสดง โนซากะ บอกว่า ที่ญี่ปุ่นจะใช้คำว่า การแสดง เพราะมีลักษณะของการแสดง ทั้งการดึงกระดาษเข้า-ออก การสบสายตากับผู้ฟัง แตกต่างจากแสดงละคร ที่จะต้องมีบทของตัวเอง ผู้เล่าจะหันหน้าไปหาคนดู ทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง  มีการซ้อมการแสดง ก่อนเริ่มเล่าควรให้เครดิตผู้แต่งนิทานที่นำมาเล่า จากนั้นในจังหวะการดึงออก สอดเข้าก็ทำอย่างพอดี และจบเรื่องด้วยประโยค ขอจบนิทานลงด้วยภาพนี้นะคะ   ข้อควรระวังของการแสดงคามิชิไบ คือการที่ตัวผู้เล่าเด่น หรือใช้เสียงที่เป็นธรรมชาติ มีสูงต่ำ แต่ไม่ดัดเสียงจนเกินไป เพราะผู้ฟังอาจจะไม่สนใจตัวเนื้อเรื่อง ผู้แสดงต้องมีส่วนร่วม กับผู้ฟัง และผู้ฟังอาจจะมีกิริยาตอบโตได้ด้วย

คามิชิไบ เรื่อง GROW GROW  GROW BIGGER


โนซากะ กล่าวเพิ่มว่า กระดาษที่มีเนื้อเรื่องและภาพนิทาน  จะไม่มีความซับซ้อน แต่จะเป็นการวาดภาพของตัวละครที่โดดเด่นในเรื่องอย่างชัดเจน เนื้อหาจะอยู่ที่ด้านหลังกระดาษ พร้อมมีภาพประกอบเล็กๆ เพื่อจะบอกให้นักแสดงทราบว่าภาพที่อยู่เบื้องหน้าผู้ฟัง คือ ภาพอะไร และ บุไต หรือกรอบไม้ ที่มีการใช้ตั้งแต่ยุคแรกที่มีคามิชิไบ แต่บานพับ 3 ด้าน เพิ่งมีขึ้นในยุคหลังๆ เพราะบุไตเปรียบเสมือนโรงละครหรือเวที   ทำให้มีกรอบภาพของนิทานที่ชัดเจนมากขึ้น และยังเป็นการเชื่อมผู้ฟังเข้าสู่โลกของนิทาน  โดยผู้แสดงต้องหาตำแหน่งยืนที่ตัวเองมั่นใจด้วย หากผู้ที่สนใจฝึกคามิชิไบครั้งแรกก็อาจจะเป็นการสร้างกรอบด้วยกระดาษหรือสิ่งต่างๆ ขึ้นมาแทนก่อนได้


“อย่างเรื่อง GROW GROW  GROW BIGGER ที่เหมือนเป็นความฝันของเด็กๆทุกคนที่อยากโตขึ้น และในฐานะผู้ใหญ่ก็อยากเห็นเด็กๆเติบโตเช่นกัน ผลงานเรื่องนี้ได้รับความนิยมมายาวนานเพราะเป็นความปราถนาที่ค่อนข้างเป็นสากลสำหรับเด็กๆ ติดอันดับคามิชิไบ ที่ขายดีทั่วโลก ทั้งนี้ไม่แนะนำให้นำนิทานภาพมาทำเป็น คามิชิไบ เพราะมีเรื่องลิขสิทธิ์ และการแยกประเภทศาสตร์ที่ชัดเจนแล้ว สำหรับการปรับให้เข้ากับยุคสมัย บางครั้งเรื่องเล่าโบราณ ตัวนักเขียนก็จะย่อหรือตัดในส่วนที่เฉยเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย บางเรื่องที่นำมาเล่าคามิชิไบจึงอยู่มากว่า 50 ปี” โนซากะ ทิ้งท้าย

กระดาษภาพคามิชิไบด้านหน้าและด้านหลัง

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"