“คุกไม่ได้มีไว้ขังคนจน” แต่มีไว้ขัง “คนที่กระทำความผิดร้ายแรง”


เพิ่มเพื่อน    

เริ่มต้นบทความนี้ด้วยเรื่องราวที่ใคร ๆ ต่างให้ความสนใจในประเด็นที่ว่า “คุกไม่ได้มีไว้ขังคนจน” เพราะเหตุว่าแต่เดิมนั้นโทษตามกฎหมายมีแต่โทษอาญา ไม่ว่าความผิดนั้นจะเป็นความผิดร้ายแรงหรือเป็นความผิดเล็กน้อย ทำให้คนทำผิดเล็กน้อยก็ต้องโทษปรับ หากใครไม่มีเงินจ่ายค่าปรับก็ต้องถูกกักขังแทนการจ่ายค่าปรับ จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” เพียงเพราะแค่คนจนไม่มีเงินเสียค่าปรับเท่านั้นเอง ซึ่งวลีนี้เองสร้างความเสียหายให้แก่กระบวนการยุติธรรมมาก

 

               

 

ต่อไปคำพูดในลักษณะนี้ก็จะไม่มีอีกแล้ว เพราะมาตรการในการลงโทษผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง และไม่กระทบโดยตรงต่อความสงบเรียบร้อยหรือความปลอดภัยของประชาชนจะถูกเปลี่ยนเป็น “ความผิดทางพินัย” และกำหนดหลักเกณฑ์ในการ “ปรับเป็นพินัย” เข้ามาแทน โดยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้รัฐพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง และตามแผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย อันเป็นกลไกทางกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

“การปรับเป็นพินัย” คืออะไร ?

การปรับเป็นพินัย” คือ การสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในฐานความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ต้องชำระเงินหากมีการกระทำความผิด แทนที่จะกำหนดให้เป็นการปรับทางอาญา เมื่อไม่มีโทษอาญาจึงไม่มีการกักขังแทนการปรับ ไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรม ถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าปรับก็ไปทำงานบริการสังคมแทน หรือถ้าเห็นว่าตนไม่ผิดก็โต้แย้งได้ ซึ่งในกรณีนี้เจ้าหน้าที่ต้องทำสำนวนส่งอัยการพิจารณาส่งฟ้องศาลต่อไป

 

 

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้

1. กำหนดให้มี “โทษปรับเป็นพินัย” เป็นโทษอีกประเภทหนึ่ง แยกจากโทษอาญาและโทษปกครอง เพื่อใช้เป็นกฎหมายกลาง

2. มุ่งหมายให้ใช้โทษปรับเป็นพินัยแก่การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในกรณีที่ไม่ร้ายแรง แทนการกำหนดให้เป็นโทษอาญา

3. เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้มีอำนาจสั่งปรับ โดยสามารถกำหนดจำนวนค่าปรับตามความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิด พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมทั้งปวง หรือจะกำหนดให้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนก็ได้

4. ถ้าผู้ถูกปรับเป็นพินัยชำระค่าปรับเป็นพินัยภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ให้ความผิดทางพินัยเป็นอันยุติ โดยไม่มีการจำคุกหรือกักขังแทนค่าปรับ ไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรม และในการชำระค่าปรับเป็นพินัยสามารถชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

5. ถ้าผู้ถูกปรับคัดค้าน หรือไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่ต้องส่งเรื่องและสำนวนให้อัยการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด

6. ให้เปลี่ยนความผิดในทางอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวและความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ เป็นความผิดทางพินัย เว้นแต่การปรับทางปกครองที่เป็นมาตรการบังคับทางปกครอง และโทษปรับทางปกครอง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

 

 

7. ให้เปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายในบัญชี 1 จำนวน 183 ฉบับ เป็นโทษปรับเป็นพินัยภายใน 365 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

8. สำหรับความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามบัญชี 2 จำนวน 30 ฉบับ จะตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนให้เป็นโทษปรับเป็นพินัยก็ได้ แต่ต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อนไม่น้อยกว่า 30 วัน

9. เมื่อพ้น 360 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เฉพาะในการกำหนดโทษปรับอาญาในข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นปรับเป็นพินัย

 

 

ประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไร? จากร่างกฎหมายฉบับนี้

1. เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ใช้ความผิดอาญาเฉพาะการกระทำความผิดที่ร้ายแรงเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินสมควร

 

2. สร้างความเป็นธรรมในสังคมและลดการทุจริต เปลี่ยนความผิดไม่ร้ายแรง เป็นโทษปรับเป็นพินัย (ภายใน 1 ปี จะมีการปรับเปลี่ยนความผิดอาญาตามกฎหมายอย่างน้อย 183 ฉบับ เป็นความผิดทางพินัย)

 

การกำหนดโทษปรับเป็นพินัยต้องคำนึงถึงความรุนแรงของผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิด พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมทั้งปวง ถ้ากระทำความผิดเพราะยากจนข้นแค้นหรือความจำเป็น จะขอให้กำหนดค่าปรับเป็นพินัยต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือจะกำหนดให้ทำงานบริการสังคมแทนก็ได้

               

ไม่มีการกักขังแทนค่าปรับ ไม่ต้องประกันตัว ไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรม

ห้องขัง คุก มีไว้ขังคนกระทำผิดอาญาร้ายแรง “ไม่ได้มีไว้ขังคนจน”

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"