PM2.5 คุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ


เพิ่มเพื่อน    

 

ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก เป็นสุภาษิต ที่เข้ากับสภาวการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

ความหมาย คือมีเรื่องราวเดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไขหรือจัดการให้สงบดีก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีกกลายเป็นสองเรื่องขึ้นในคราวเดียวกัน เทียบเคียงกับการระบาดใหม่ของโรคทางเดินหายใจ โควิด-19 ในระลอกที่สองนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 พร้อมกับการเกิดฝุ่น PM2.5 ที่ระดับเกินมาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( มคก./ลบ.ม. ) ซึ่งคุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ ในช่วงเวลาต่อเนื่องกัน ตามภาพข่าวเรื่อง COVID-19 และคุณภาพอากาศ PM2.5 ที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ อยุ่ทุกวันในขณะนี้

การระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 ได้มีการกระจายไปสู่ 64 จังหวัด มีจำนวนผู้ติดเชื้อ13500 คน ณ. วันที่ 24 มค.2564  และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 73 ราย ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพต่อการรับมือ COVID-19 ของรัฐบาลไทยและความร่วมมือของคนไทย คงสามารถควบคุณสถานการณ์ระบาดได้ในเร็ววัน  

ในช่วงเวลาเดียวกันกับการระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 ปัญหาคุณภาพอากาศด้วยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน 50 มคก./ลบ.ม. ก็เริ่มก่อตัวขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังไม่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตจากปัญหาคุณภาพอากาศ แต่ฝุ่นขนาดเล็กที่เราหายใจเข้าปอดทุกวันทำให้ส่อเห็นเค้าลางการก่อตัวปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน ตัวอย่างที่เกิดขึ้นเด็กชายวัย 4 ขวบอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เลือดกำเดาออกจมูกไหลไม่หยุด ปอดเป็นจุดดำซึ่งบ่งบอกของโรคปอดอักเสบ หรือเด็กหญิงวัย 11 เดือนจากอำเภอแม่ริมป่วยจาการสูดดมฝุ่นพิษเข้าไปทำให้ปอดข้างขวาอักเสบ ยิ่งได้รับฝุ่นพิษเข้าร่างกายอยู่เป็นประจำเป็นเวลานาน ท้ายที่สุดก็จะป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้  

อีกตัวอย่างความรุนแรงเมื่อค่าฝุ่น PM2.5 สูงเกินกว่า 999 มคก./ลบ.ม. เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของชาวมองโกเลียหลายพันคนในแต่ละปี เนื่องจากการเผาถ่านหินเพื่อทำความร้อนในช่วงฤดูหนาวที่ซึ่งอุณหภูมิติดลบถึง 25 องศาเซลเซียส

ประเทศไทยเคยมีค่าคุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลกในวันที่ 12 มีนาคม 2562 อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ค่า  AQI อยู่ที่ 271 PM2.5 อยู่ที่ 170 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนกรุงเทพอยู่ลำดับ 6 ค่า AQI อยู่ที่ 159  ในวันเดียวกัน เชียงใหม่ยังตรวจพบค่า PM2.5 สูงเกิน 371 มคก./ลบ.ม.ในหลายพื้นที่ของช่วงหลังเดือนมีนาคม  และคุณภาพอากาศยิ่งแย่ลงอีกในเดือนมีนาคมปี 2563 โดยค่า PM2.5 ที่ปรากฏในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 445 มคก./ลบ.ม.และที่ อำเภออมก๋อยขึ้นสูงที่สุดในระดับ 715 มคก./ลบ.ม.จึงไม่น่าสงสัยในสุขภาพที่แย่ลงของประชาชน จากข้อมูลของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1เชียงใหม่มีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหาหมอก ควันและไฟป่ามีทั้งสิ้น 89219 คนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากและยิ่งนานวันจะทวีความรุนแรงของปัญหาเพิ่มมากขึ้น

Covid-19 ไวรัสเชื้อโรคที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างรุนแรงรวดเร็วในวงกว้างทั่วทุกประเทศโดยไม่เลือกว่าประเทศร่ำรวยหรือยากจน หรือความแตกต่างในรายได้ของคน ไม่ว่าจะร่ำรวยขนาดไหนหรือมีตำแหน่งหนกลใดไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศหรือคนรากหญ้าคนชาติพันธ์ก็มีโอกาสติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ Covid-19 ได้เช่นเดียวกัน วัคซีนที่สร้างโดยมนุษย์ก็สามารถป้องกันโรคนี้ไม่ให้น่ากลัวและกลายเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด 

สำหรับฝุ่น PM2.5 ปัญหาคุณภาพอากาศที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก ในไทยมักจะเกิดจากการเผาไหม้ ทั้งในพื้นที่เพาะปลูกหลังการเก็บเกี่ยวทั้งข้าว อ้อย และข้าวโพด เผาเศษใบไม้ใบหญ้าในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพ ฝุ่นควันจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของรถจำนวนมากในกรุงเทพและเมืองใหญ่  ฝุ่นจากงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น  อาจรวมถึงไฟไหม้ป่าตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ เพียงแต่ธรรมชาติยังคงมีความเมตตา ด้วยลมฟ้าฝน ตามฤดูกาลยังช่วยแบ่งเบาบรรเทาปัญหา ให้เกิดขึ้นเพียงในช่วงฤดูแล้งในวันที่ปราศจากการพัดไหลเวียนของลมและปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ ก็จะจากไปเมื่อมีฝนตกลงมาถูกต้องตามฤดูกาลในช่วงฤดูฝน

อย่างไรก็ตาม สถิติตัวเลขที่รวบรวมโดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ได้แสดงถึงจำนวนวัน ที่ผลของ PM2.5 ที่มีค่าเกิน 50 ในปี พ.ศ.2563   ขอยกตัวอย่างในพื้นที่ภาคเหนือรวม 4 จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ค่าเฉลี่ยในช่วง4 เดือนระหว่าง มกราคม ถึง เมษายน พ.ศ. 2563 มีจำนวนวัน ที่ค่า PM2.5 เกิน 50 ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาสมีผลกระทบต่อสุขภาพ ตั้งแต่ 29.8 % ในเดือน มกราคม 72.4 % ในเดือนกุมภาพันธ์ สูงสุดที่ 91.1 % ในเดือนมีนาคม และลงมาที่ 69.1 % ในเดือนเมษายน ( มากน้อยในแต่ละจังหวัดอาจแตกต่างกันในแต่ละเดือน ) นั่นหมายความว่าคนทางภาคเหนือจะต้องอยู่กับคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นระยะเวลายาวนาน 4 เดือนในแต่ละปี ส่งผลถึงความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะเด็กเยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า  ส่วนในพื้นที่กรุงเทพอาจโชคดีที่ระยะเวลาอาจสั้นกว่าจบในเดือนกุมภาพันธ์ ความเสี่ยงต่อการหายใจเอาฝุ่นเข้าไปสะสมในปอดก็คงไม่น้อย และส่งผลต่อสุขภาพในระยะต่อไป
สงครามกับ PM2.5 เรายังมองไม่เห็นชัยชนะของคนไทย  ทั้ง ๆ ที่มนุษย์เองเป็นผู้สร้าง PM2.5  มนุษย์จะต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหา โดยต้องเริ่มจากความเข้าใจและจริงใจไม่เอื้อประโยชน์กลุ่มใดเป็นการเฉพาะ แก้ปัญหาตรงจุด จะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง มีความเข็มแข็งของชุมชน มีภาคีเครือข่ายทั้งเอกชนภาครัฐและNGO พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนความรู้ที่นำมาแก้ไขปัญหาได้จากภาควิชาการ 
ประการสุดท้ายขอเป็นกำลังใจ เฝ้าติดตามและสนับสนุน โครงการแม่แจ่มโมเดล ที่จังหวัดเชียงใหม่ โครงการนำร่องของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จในเร็ววัน เพื่ออากาศที่บริสุทธ์และคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับลูกหลานของเราคนไทย

วงศกร  พิธุพันธ์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"