ทส. ขับเคลื่อน G-Green ด้วยชีวิตวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


เพิ่มเพื่อน    

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) กำหนดเรื่องการผลิต การบริการและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นยุทธศาสตร์หนึ่งของหน่วยงาน โดยขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ G-Green ประกอบด้วย โครงการ Green Product , Green Hotel , Green Office , Green National Park , Green Restaurant รวมทั้งได้ขยายสู่โครงการ Green Airport และ Green Coffee Shop โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิต ผู้บริการ และผู้บริโภคปรับพฤติกรรม มุ่งสู่สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ในการผลิต การบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปี 2557 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ ใส่ใจ และเห็นคุณค่าการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ประชาชนและสังคมส่วนรวม ส่งต่อแนวคิดการผลิต การบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติจริงและเห็นผลเชิงประจักษ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในภาคการผลิต ได้แก่ สถานประกอบการขนาดเล็ก ส่วนของภาคบริการ ได้แก่ สำนักงาน โรงแรม ร้านอาหารอุทยานแห่งชาติ รวมถึงผู้บริโภคระดับประชาชน และใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม G Green เป็นเครื่องมือ มีคณะกรรมการระดับประเทศ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมตรวจประเมินและรับรอง โดยหน่วยงานที่ผ่านการประเมินจะได้รับตราสัญลักษณ์ G - Green แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับดีเยี่ยม (G ทอง) ระดับดีมาก (G เงิน) และระดับดี (G ทองแดง) มีอายุการรับรอง 3 ปี

 

ปลัด ทส. กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อน G - Green ด้วยวิถีชีวิตใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ให้การรับรองสถานประกอบการ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มากกว่า 1,854 แห่ง ครอบคลุม 72 จังหวัด ทั่วประเทศ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เห็นผลอย่างชัดเจน ส่งผลให้เกิดการนำแบบอย่างที่ดีสู่การขยายผลไปยังสถานประกอบการ และหน่วยงานอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ต่อยอดยกระดับสู่มาตรฐานในระดับสากล ซึ่งตัวอย่างสถานประกอบการที่ได้รับการรับรองระดับดีเยี่ยม G ทอง ในประเภทต่าง ๆ เช่น ร้าน โบ.ลาน ได้รับการรับรอง Green Restaurant เป็นร้านอาหารระดับ 5 ดาว ใช้แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับหนึ่ง ตั้งแต่การคัดแยกขยะจากต้นทาง ด้วยแนวคิด Zero Food Waste และ Upcycling เปลี่ยนของเสียมาใช้ประโยชน์ใหม่ ทำให้ขยะหมดไปโดยไม่ต้องรอรถขยะมาเก็บทุกวันแม้แต่ก้านผักโหรพาก็มาใช้ปรุงกลิ่นน้ำดื่ม เพื่อใช้บริการในร้าน แนวคิดต่างๆ ถูกนำถ่ายทอดส่งต่อถึงพนักงานทุกคนสู่การปฏิบัติ ส่วน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับการรับรอง Green Office ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 มุ่งมั่นการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ โดยมีเป้าหมาย zero waste to landfill ปัจจุบันสามารถลดขยะได้ 90% คัดแยกขยะในสำนักงานได้ละเอียดกว่า 70 ประเภท นอกจากนี้ยังขยายผลเชิญชวนองค์กรพันธมิตร ชุมชนบนถนนรัชดาภิเษก ร่วมมือกันในการจัดการขยะภายใต้โครงการ Care the Whale ขยะล่องหน ขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน

 

ส่วนโรงแรม Sivatel ได้รับการรับรอง Green Hotel เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว โรงแรมใหญ่ที่รุ่มรวยด้วยความยั่งยืน การบริหารจัดการโรงแรมใช้แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ใส่ใจเรื่องพนักงาน วัตถุดิบอาหารที่ปลอดภัย ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 12,000 กิโลกรัมต่อวันได้เกินกว่าครึ่ง และปลูกจิตสำนึกผู้มาใช้บริการให้สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และร้าน MATA COTTON จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการรับรอง Green Product ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ในการผลิต ฟอกย้อม ทอ และแปรรูปสิ่งทอ มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและมีการดำเนินงานชัดเจนเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังได้พัฒนาการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ลดการใช้น้ำ และลดการใช้สีย้อมเกินความจำเป็นในกระบวนการผลิต การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สำหรับ Goldy Herb บริษัท จี เอซ ซัพพลาย จำกัด กรุงเทพมหานคร อีกผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสบู่สมุนไพร ที่ได้รับการันตีด้วยการรับรอง Green Product รางวัล G ทอง ในปี 2564 มีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและมีการดำเนินการตามเป้าหมายที่ชัดเจน ควบคุมคุณภาพผลิตตามมาตรฐาน มีระบบการจัดการน้ำเสียจากกระบวนการผลิต และป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการผลิตสู่มาตรฐานสากล

 

ปลัด ทส. กล่าวทิ้งท้ายว่า การให้ความรู้ สร้างความตระหนักตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทุกกระดับ ให้เห็นถึงความสำคัญการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกระดับเป็นหัวใจสำคัญต่อผลสำเร็จในการขับเคลื่อนงาน G-Green ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีใหม่ จึงเป็นวิถีที่ไม่ละเลยความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม เป็นการเพิ่มภาพลักษณ์องค์กรในการเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงและขยายตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค และที่สำคัญสามารถลดต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

 

ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ o 2298 5653, 0 2278 8400 ต่อ 1661 หรือทาง Facebook Fanpage กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ เว็ปไซต์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"