ศิริราชเปิดตัวรถพยาบาลต้นแบบรักษา"โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน-แตก"เคลื่อนที่แห่งแรก ไม่ต้องมารพ.ใช้พื้นที่ปั๊มปตท.ให้การรักษาฉับไว


เพิ่มเพื่อน    

 

ศิริราช “เปิดตัวโครงการต้นแบบรถพยาบาลเคลือนที่ รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน"แห่งแรกของประเทศ     ในรถจะมีทีม 4 คน คือแพทย์ พยาบาล นักรังสีการแพทย์ และพนักงานขับรถ ให้ออกปฏิบัติการรับผู้ป่วย เพื่อการรักษาในรถ Mobile Stroke Unit ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. หรือตามที่ได้ประสานงานไว้แล้ว  นำร่อง 3เดือน 

วันที่ 18 พ.ค.  เวลา 13.30 น.  ณ ห้องประชุม 101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ  80 พรรษา  5 ธันวาคม  2550  (SiMR) ชั้น 1 รพ.ศิริราช   ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์  วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าว “เปิดตัวโครงการนำร่องต้นแบบรถพยาบาลเคลือนที่ รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน รพ.ศิริราช” “Siriraj Mobile Stroke Unit” ร่วมด้วย รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช รศ.นพ.ยงชัย นิละนนท์  ประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช นพ. สุธน อิ่มประสิทธิชัย รองผู้อำนวยการ รพ.นครปฐม  ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข  ดร.นพ. ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นพ.สมชาย จึงมีโชค รองผู้อำนวยการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร  คุณสกาวรัตน์  สมสกุลรุ่งเรือง เลขาธิการมูลนิธิร่วมกตัญญู คุณอรัณ  โตทวด ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และ คุณสุชาติ           ระมาศ  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)    


ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญของโลก หลายปีที่ผ่านมาเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆของโลก  และในประเทศไทย ติด 1ใน 3 การตาย โดยผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 1,000ราย ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5 และพิการถึงร้อยละ 70 ดังนั้น หากแก้ไขได้โดยการไปถึงโรงพยาบาลได้เร็วจะเป็นการลดการเสียชีวิตและตายได้ แต่ไม่ใช่บ้านทุกหลังจะอยู่ใกล้โรงพยาบาล ไม่ใช่บ้านทุกหลังที่จะส่งคนไข้ให้ถึงโรงพยาบาลได้รวดเร็ว  จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกันในการทำงานเชิงรุก โครงการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่โรงพยาบาลศิริราช โครงการนำร่องในการเพิ่มโอกาสของการเข้าถึงการรักษาในระยะฉุกเฉิน  ให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั้งชนิดตีบและแตก  ลดระยะเวลาของการรักษาเพื่อเปิดหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน   เพื่อลดอัตราตายหรือพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทเฉียบพลัน ที่อาจได้รับประโยชน์จากการดูแลเร่งด่วนได้ในพื้นที่เกิดเหตุ  


รศ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  โครงการนำร่องต้นแบบรถพยาบาล เคลื่อนที่รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน รพ.ศิริราช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันดำเนินการนั้น เป็นหนึ่งในกิจกรรม “ศิริราช 130 ปี 130 โครงการ ทำงานเพื่อแผ่นดิน”  ซึ่งการดำเนินการเริ่มจากในโรงพยาบาล แต่ยังต้องการหน่วยงานภายนอก จึงเกิดการเชื่อมโยงการทำงานจนมีวันนี้วันที่ได้ประสานความร่วมมือ ซึ่งในการนำร่องจะเริ่มจากพื้นที่ตอนต้น จาก รพ.ศิริราช-พุทธทมณฑลสาย 4    เริ่มต้นจากทางทิศเหนือวิ่งถนนเลียบคลองมหาสวัสดิ์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนราชพฤกษ์ เพื่อเข้าสู่ทิศตะวันออก จากนั้นวิ่งตรงยาวจนบรรจบถนนเพชรเกษม เพื่อเลี้ยวขวาเข้าทางทิศใต้ มุ่งตรงยาวเพื่อไปเลี้ยวขวาเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 4 ด้านทางทิศตะวันตก ซึ่งการที่เริ่มต้นในบริเวณ รพ.ศิริราชนั้นเป็นการนำร่อง หากได้ผลดีจะได้ขยายผลนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล

ด้าน รศ.นพ.ยงชัย  กล่าวว่า สำหรับการเข้าถึงการรักษาด้วยรถพยาบาลเคลื่อนที่ รพ.ศิริราช เพื่อให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงรถพยาบาลเคลื่อนที่นั้นหากพบเห็นผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทีมีอาการตาตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ตั้งแต่เริ่มมีอาการไม่เกิน  3 ชั่วโมง โให้โทรแจ้ง 1669 เข้าศูนย์เอราวัณ ซึ่งจะมีการรักษาเบ็ดเสร็จในรถ ทางศูนย์ฯ จะคัดกรอง แล้วแจ้งต่อไปยังหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในเขตที่ดูแลเพื่อให้เข้าไปรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ    เพื่อตรวจคัดกรองอาการและนำผู้ป่วยมาที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท.   ขณะเดียวกันทางศูนย์เอราวัณก็แจ้งหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ รพ.ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)  ที่มีผู้เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมองเป็นผู้รับสายและซักถามอาการ และตามทีมแพทย์ ที่ในรถจะมีทีม 4 คน คือแพทย์ พยาบาล นักรังสีการแพทย์ และพนักงานขับรถ ให้ออกปฏิบัติการรับผู้ป่วย เพื่อการรักษาในรถ Mobile Stroke Unit ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ตามที่ได้ประสานงานไว้แล้ว  


รศ.นพ.ยงชัย กล่าวอีกว่า ภายในรถพยาบาลเคลื่อนที่ ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์  ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และตรวจเลือดที่จำเป็นในรถ เพื่อตัดสินการรักษาเบื้องต้น ระบบจะส่งต่อข้อมูลเพื่อปรึกษาทางไกลกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเตรียมความพร้อมของกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลต้นทาง  ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้แพทย์จะให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในรถทันที เพื่อเปิดหลอดเลือดสมองที่อุดตันโดยเร็วที่สุด  หากได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั้งแตกและตีบจะนำผู้ป่วยส่งหอผู้ป่วย Acute Stroke Unit โรงพยาบาลศิริราช  


สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดสมองตีบ และไม่มีข้อห้ามในการให้ยา rtPA (ยาสลายลิ่มเลือด) จะทำการให้ยา ยาสลายลิ่มเลือดบนรถพยาบาลเคลื่อนที่ (Mobile Stroke Unit) ก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จะนำผู้ป่วยส่งหน่วยตรวจโรคแพทย์เวร-ฉุกเฉิน เพื่อดำเนินการตามความเหมาะสมว่าควรรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัด  ทั้งนี้หากสามารถวินิจฉัยว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ก่อนรับขึ้นรถ Mobile Stroke Unit  รถหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)/ มูลนิธิจะนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต้นสังกัดต่อไป โดย ร.พ.ศิริราช เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของภาครัฐที่เป็นผู้บุกเบิกในการสร้างต้นแบบการรักษาด้วยหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ ทั้งนี้หากมีการประเมินแล้วไม่ใช่โรคดังกล่าว ก็จะมีการประสานผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต้นทาง

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ในการนำร่องในพื้นที่เป้าหมาย จะใช้ระยะเวลา 3 เดือน โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ เพื่อวัดในเรื่องเวลาของการเคลื่อนที่ส่งต่อผู้ป่วยในรถ ทั้ง 3 คัน จำนวนคนไข้ที่แจ้งเข้ามา แล้วมาประเมินข้อดีข้อเสียอีกครั้ง แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการรุนแรงและเกิดจากหลอดเลือดใหญ่อุดตันที่มีอาการไม่เกิน 8  ชั่วโมง รวมทั้งมีเนื้อสมองส่วนที่ดีหลงเหลืออยู่มากพอ คือการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4.5 ชั่วโมง ควบคู่ไปกับการใส่สายสวนเพื่อทำการเปิดหลอดเลือด   ซึ่งยิ่งเวลาน้อยก็ยิ่งได้ผลดี 1 ใน 3ของผู้ป่วยอาจกลับมานั่งได้หรือเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว หากการดำเนินการพบว่ามีความเหมาะสม อาจมีรถเคลื่อนที่เช่นนี้ไปให้บริการทุกพื้นที่ เพราะทุกหน่วยงานในวันนี้ทุกองค์กรต้องการให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพดี แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกครั้งทุกคนเมื่อเกิดอาการแล้วต้องได้รับบริการผ่านรถเคลื่อนที่ ซึ่งหากมีบ้านอยู่ใกล้ รพ.ก็สามารถเดินทางไปที่รพ.ได้เลย .

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"