มีทางออกอะไรเพื่อไม่ให้เกิด ‘สงครามกลางเมือง’ เมียนมา


เพิ่มเพื่อน    

     มีคำถามว่า ถ้าหากพลเอก มิน อ่องหล่าย และอองซาน ซูจี ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมถอย จะเกิดอะไรขึ้นกับวิกฤติของเมียนมา?

            คำตอบคือ นั่นทำให้โอกาสที่จะเกิด "สงครามการเมือง" มีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

            และนั่นคือโศกนาฏกรรมระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ไม่มีใครอยากเห็น โดยเฉพาะสำหรับเพื่อนบ้านอย่างไทย

            เมียนมามีเพื่อนบ้านใกล้ชิดคือ จีน, อินเดีย, ไทย และบังกลาเทศ

            ไม่มีเพื่อนบ้านเรือนเคียงไหนต้องการเห็นการนองเลือดของคนเมียนมา เพราะผลกระทบจะกว้างไกลไปทั่วภูมิภาค

            และเมียนมาจะกลายเป็นสมรภูมิไม่เพียงแต่ระหว่างกองทัพกับประชาชนและกองกำลังชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ติดอาวุธเท่านั้น

            แต่ยังจะดึงให้มหาอำนาจใกล้บ้าน เช่นจีนกับอินเดียต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายใน

            อีกทั้งจะลากเอาทั้งสหรัฐฯ, รัสเซียเข้ามามีส่วนแก่งแย่งอิทธิพลในเมียนมา

            ไม่ต้องกล่าวถึงประเทศที่มีการลงทุนในเมียนมา เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์ และเพื่อนบ้านอาเซียนอื่นๆ ที่จะต้องมีส่วนพัวพันโดยตรงอีกมากมาย

            จึงเป็นเหตุผลที่ไทยเราจะต้องทำทุกอย่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนบ้านอันสำคัญของเราประเทศนี้ตกหลุมวิกฤตินี้จนกลายเป็นหายนะของตนและของภูมิภาคนี้

            แนววิเคราะห์ด้านหนึ่งบอกว่า ทั้งมิน อ่อง หล่ายและอองซาน ซูจี มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ต่างคนต่างไม่ยอมกันและกัน ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะชักชวนให้ทั้งสอง  "ถอยคนละก้าว"

            แนววิเคราะห์นี้บอกว่า กองทัพเมียนมายึดถือประวัติศาสตร์ที่ว่าทหารเป็นสถาบันหลักของชาติในการกอบกู้อิสรภาพและรักษาความเป็นชาติเอาไว้

            ดังนั้นกองทัพเมียนมาจึงไม่อาจจะยอมให้บทบาทตัวเองลดน้อยถอยหลัง เพราะผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดอาจจะเปิดทางให้พรรค NLD ของอองซาน ซูจีสามารถปกครองประเทศอย่างเต็มที่

            อาจถึงขั้นที่อองซาน ซูจีสามารถปัดกองทัพออกไปจากสมการการเมือง จนทหารหมดอำนาจและบารมีไปเลย

            เพราะหากพรรค NLD สามารถยึดที่นั่งในสภาได้มาก ถึงขั้นที่อาจสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ (เพียงต้องการให้  ส.ส.จากโควตาทหารแปรพักตร์จำนวนหนึ่ง) ก็จะทำให้รัฐบาลพลเรือนเขี่ยกองทัพออกไปจากแวดวงการเมืองได้

            ภาพเช่นนี้แหละที่นักวิเคราะห์มองว่า ทำให้มิน อ่อง หล่ายตัดสินใจยึดอำนาจครั้งนี้ ก่อนที่ตัวเองและสถาบันกองทัพจะถูกอัปเปหิออกจากส่วนแบ่งอำนาจทางการเมือง

            ส่วนอองซาน ซูจีนั้นก็อาจจะไม่ยอมเจรจากับมิน อ่อง หล่าย เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อมติมหาชนอยู่ข้างตนและ  NLD การที่ทหารก่อรัฐประหารจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนรับไม่ได้

            เธออาจเชื่อว่าพลังประชาชนที่ออกมาต่อต้านอย่างแข็งขันและกว้างขวางครั้งนี้ จะทำให้เธอสามารถเอาชนะอิทธิพลกองทัพที่เหลือในที่สุด

            อีกทั้งเมื่อประชาชนคนเมียนมาออกมาประท้วงกันอย่างเหนียวแน่นและกว้างขวาง พร้อมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อให้เธอได้กลับมาบริหารประเทศเช่นนี้ หากมวลชนมองว่าเธอยอมประนีประนอมกับทหาร เธอก็อาจจะเสียความนิยมชมชอบจากประชาชนอย่างมากด้วย

            ทั้งสองฝ่ายจึงมี "เดิมพัน" สูง...ถึงขนาดที่ไม่อาจจะยอมถอยแม้แต่ก้าวเล็กๆ

            และความพยายามของประเทศข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นไทย, อาเซียน หรือสหประชาชาติก็อาจจะไม่มีผลในทางโน้มน้าวให้เกิดการเจรจา เพื่อต่อรองหาทางออกทางการเมืองที่ยังอยู่ในรูปแบบของการแบ่งสันอำนาจกัน

            แต่หากทั้งสองคนไม่ยอมต่อรองเจรจา ทางออกที่เหลือก็คือ "ทางตัน" หรือที่ภาษาการทูตเรียกว่า stalemate

            แค่เป็นเพียง "ทางตัน" ที่แต่ละฝ่ายขยับจากจุดบอดของตัวเองไม่ได้ ก็ยังไม่น่ากลัวเท่ากับว่าเมื่อเกิด  stalemate แล้วจะไม่หยุดนิ่งอยู่เฉยๆ

            แต่จะนำไปสู่ความรุนแรงที่แปรสภาพเป็น "สงครามกลางเมือง" อย่างที่เห็นกันในหลายๆ ประเทศในตะวันออก, ยุโรป และแอฟริกามาแล้ว

            ดังนั้นแม้จะยากเย็นเพียงใด รัฐบาลไทยก็ยังต้องพยายามเสาะแสวงหาทางออกทางการทูตและการเมืองด้วยการประสานกับทุกๆ ฝ่ายเพื่อเริ่มกระบวนการพูดจา

            ประวัติศาสตร์บอกเราว่า การพูดจาไม่ว่าจะยากเย็นและเชื่องช้ายุ่งยากเพียงใด ก็ยังดีกว่าสงครามและการสู้รบแน่นอน

            (พรุ่งนี้: Responsibility to Protect (R2P) จะช่วยเมียนมาได้ไหม?).

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"