การท่าเรือฯจ่อชงครม.เคาะลงทุนแหลมฉบังเฟส3มี.ค.นี้


เพิ่มเพื่อน    

 

24 มี.ค. 2564 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน งานแถลงผลดำการด้านนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) ประจำปี 2564 ว่า ภาพรวมนโยบายของรัฐบาล กทท. ถือเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ที่จะตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้เน้นยํ้าให้ความสำคัญ

สำหรับความคืบหน้าของโครงการฯขณะนี้ได้ผู้ชนะการประมูลแล้วคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า จีพีซี ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด และบริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จากประเทศจีน ซึ่งจะต้องสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้งเนื่องจากราคากลางมีการปรับลดจากราคากลางที่กำหนดไว้ที่ 32,225 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้กลุ่มกิจการร่วมค้า จีพีซี เสนอราคาประมาณ 10,000 ล้านบาท ที่หลังจากมีการหารือร่วมกันได้ข้อสรุปราคาที่ประมาณ 29,050 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราคากลางประมาณ 10% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับราคากลาง อย่างไรก็ตามคาดว่าหากสามารถเข้า ครม.ภายในเดือน มี.ค.นี้ ก็จะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน น่าจะสิ้นสุดการดำเนินการ และคาดว่าน่าจะสามารถลงนามสัญญาได้ภายในปีนี้ รวมถึงจะมีการหารือกับผู้ประกอบการที่รับสัมปทานอีกครั้งเกี่ยวกับสิ่งที่ กทท.กำหนดกับผู้ประกอบการตกลงร่วมกันได้ก็จะเป็นไปตามข้อกำหนด

ด้านเรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) กล่าวว่าภายหลังจากที่ทาง ครม.มีมติเห็นชอบราคาที่คณะกรรมการคัดเลือกโครงการแหลมฉบังระยะที่ 3 ได้เจรจากับผู้ชนะการประมูลแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการฯ ต้องไปเปิดดูร่างสัญญาเพื่อเปิดดูซองข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการฯควบคู่กันไป ซึ่งหลังจากตรวจร่างสัญญาผ่านอัยการเรียบร้อยแล้วจะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการ EEC เพื่อพิจารณาอนุมัติผู้ชนะและเข้าสู่กระบวนการลงนามในสัญญาต่อไป และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้หลังจากนั้นไม่เกินเดือน พ.ค.นี้ และเตรียมออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ช่วงวันที่ 1 พ.ค.นี้

ทั้งนี้ กทท. มีแผนจะยกระดับเป็นท่าเรือชั้นนำที่ได้มาตรฐานสากล โดยการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือของประเทศ นอกจากเหนือจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 แล้ว ยังมีในส่วนของการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟเพื่อก่อสร้างลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟบนพื้นที่ 600 ไร่ ให้สามารถรองรับรถไฟได้ 12 ขบวน พร้อมติดตั้งเครื่องมือยกขนตู้สินค้าชนิดเดินบนราง (Rail Mounted Gantry Crane : RMG) ซึ่งจะรองรับตู้สินค้าได้ 2 ล้าน T.E.U.ต่อปี รวมทั้งโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ) ที่จะเชื่อมโยงการขนส่งภายในประเทศ และระบบโลจิสติกส์ได้อย่างครบวงจร

“กทท.มีแผนยกระดับให้มีมาตรฐานในระดับโลก เพื่อเป็นประตูการค้าหลักและศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง นำระบบ Port Community System (PCS) นำระบบศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลด้านขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อ มาให้บริการ รวมถึงพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ซึ่งร่วมศึกษากับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ และฉะเชิงเทรา (อีอีซี) รวมถึงลงนามความร่วมมือกับกลุ่มอมตะ ที่ได้เข้าไปลงทุน Dry Port ที่ สปป.ลาว เพื่อรับสินค้าจากจีนและลาว ไปยัง ทลฉ. เป็นการต่อยอดในการเพิ่มปริมาณตู้สินค้าอีกทาง”เรือโทกมลศักดิ์ กล่าว

สำหรับท่าเรือกรุงเทพได้มีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือทุ่นแรง พัฒนารูปแบบการให้บริการและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีโครงการปรับปรุงและพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง 20G ส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) และพัฒนาระบบขนส่ง และการขนถ่ายสินค้าให้มีโครงข่ายเชื่อมโยง (Logistics Chain) ภายในประเทศ ให้สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้า ได้ 240,000 T.E.U.ต่อปี

ทั้งนี้ในส่วนของผลการดำเนินงานของ กทท.ในปี 2564 พบปริมาณสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ64 โดยเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงอยู่ที่ 6.24% หรือคิดเป็น 25.762 ล้านตัน และตู้สินค้าผ่านท่า ลดลง 2.81% หรือ 2.311 ล้าน T.E.U. ซึ่งเป็นผลมาจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ประเทศไทยและหลายประเทศมีวัคซีนป้องกันจึงส่งผลให้ปริมาณสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่า มีทิศทางฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เป็นปัจจัยหลักสะท้อนการเติบโตของปริมาณสินค้า ซึ่งส่งผลให้ในเดือนมกราคม64 ปริมาณสินค้าผ่านท่าเพิ่มขึ้น 3.57% อยู่ที่ 9.253 ล้านตัน จาก 8.934 ล้านตัน และตู้สินค้าผ่านท่าเพิ่มขึ้น 2.66% อยู่ที่ 773,055 T.E.U. จาก 753,042 T.E.U.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"