หนักหน่วง!!!'กนง.'ชี้สารพัดปัจจัยเสี่ยงกดดันศก.64


เพิ่มเพื่อน    

 

7 เมษายน 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 ซึ่งมีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยที่ประชุม กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มการฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า โดย กนง. ประเมินว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการระบาดระลอกใหม่ไม่รุนแรงกับการระบาดครั้งก่อน เนื่องจากภาครัฐดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่ไม่เข้มงวดเท่ากับปีที่ผ่านมา และเร่งออกมาตรการการคลังเพิ่มเติมได้เร็ว

โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม โดยในปี 2564 อยู่ที่ 3% และปี 2565 อยู่ที่ 4.7% จากปัจจัยลบสำคัญ ได้แก่ ข้อสมมติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงตามการทยอยเปิดประเทศของไทยที่ล่าช้ากว่าที่คาด รวมถึงนโยบายจำกัดการเดินทางของนักท่องเที่ยวในต่างประเทศที่เข้มงวด โดยเฉพาะจีน รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2565 ที่ปรับลดลงมากขึ้นตามงบประมาณปี 2565 ที่ลดลงตามประมาณการรายได้รัฐบาล และการโอนเงินบางส่วนภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉิน จากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อไปใช้ในแผนเยียวยาในปีนี้ขณะที่ปัจจัยบวกที่ยังเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ได้แก่ การส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และแรงกระตุ้นจากมาตรการภาครัฐที่ออกมาเพิ่มเติมในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

ทั้งนี้ มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ล่าช้าจากข้อจำกัดในการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 แรงกระตุ้นจากภาครัฐที่อาจจะน้อยกว่าคาด ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการ ทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่อาจจะสูงขึ้นมาก ภายหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลง

โดย กนง. เห็นว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ และการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานภาครัฐ มีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป และเห็นควรให้เร่งดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ออกมาเพิ่มเติม เพื่อช่วยกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุด ลดภาระหนี้ และสนับสนุนเศรษฐกิจช่วงฟื้นฟูในอนาคต

“ฐานะทางการเงินที่เปราะบางของภาคเอกชนบางกลุ่ม โดยเฉพาะเอสเอ็มอี และภาคครัวเรือน จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า จึงควรเน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหา โดยประเด็นสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ไม่ใช่ระดับอัตราดอกเบี้ย แต่โจทย์สำคัญคือการกระจายสภาพคล่องในระบบธนาคารที่อยู่ในระดับสูง ไปสู่ธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ จึงควรใช้มาตรการทางการเงินและสินเชื่อซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด”

สำหรับนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง สถาบันการเงินควรเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง มาตรการการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งอนุมัติและเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยังเหลือ ขณะที่ภาครัฐควรร่วมผลักดันนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังโควิด-19 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน และยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว

อย่างไรก็ดี กนง. ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยจะติดตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีน การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความเปราะบางในตลาดแรงงาน รวมทั้งความต่อเนื่องและความเพียงพอของมาตรการภาครัฐในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า และพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติม หากจำเป็น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"