พัฒนานิคมไทย   สู่โมเดลเศรษฐกิจสีเขียว 


เพิ่มเพื่อน    

ในยุคสมัยที่โลกถูกปรับเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยี ไปพร้อมๆ กับการดูแลสิ่งแวดล้อมให้สามารถคงอยู่ได้กับมนุษย์ไปอีกยาวนานนั้น ความพอดีเรื่องการพัฒนาระบบเศรษฐกิจจึงต้องนำทั้งสองเรื่องมาผนวกรวมกันให้เกิดแนวทางที่จะเดินหน้าแบบครอบคลุมทุกมิติอย่างถูกต้องที่สุด ในปัจจุบันจึงเกิดการผลักดันเศรษฐกิจรูปแบบที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้พร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง หรือที่จะเรียกว่าโมเดล “บีซีจี”  

ซึ่งควบรวมในทุกมิติทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและดูแลสิ่งแวดล้อม โดย “บี” ตัวแรก ย่อมาจากคำว่า ไบโอ อีโคโนมี หรือเศรษฐกิจชีวภาพ ส่วน “ซี” ย่อมากจากเซอร์คูลาร์ อีโคโนมี หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน และ “จี” มาจากกรีน อีโคโนมี หรือเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งทั้ง 3 ตัวนี้กำลังเป็นที่พูดถึงและเป็นโมเดลที่นิยมอย่างมากในการที่จะนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาธุรกิจในยุคสมัยนี้ ได้รับการตอบรับอย่างดี 

“อาทิตย์เอกเขนก” ฉบับนี้จึงอยากพามาดูแผนงานของอีกหนึ่งในองค์กรที่ตระหนักและเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี และพร้อมปรับตัวให้มียุทธศาสตร์การดำเนินงานที่เข้ากับยุคสมัยมากที่สุด นั่นก็คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดย นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ. ที่มีวิสัยทัศน์ ใช้เครื่องมือและช่องทางที่ตัวเองมีอยู่กำกับดูแล และสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุด ให้ดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าว โดยโครงการแรกเป็นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม/โรงงานอุตสาหกรรม สู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ (IEAT 4.0 : Smart Eco Industrial Estate) ขึ้นมา

 “โครงการนี้คือการออกแบบที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างเครือข่ายการทำงานที่ก่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นการลดปัญหาการเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” 


 “สมจิณณ์” กล่าวว่า โครงการนี้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องแล้ว 3 ปี และในปี 64 นี้ ก็มีนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมที่นำร่องสู่การเป็น Smart Eco รวมทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ 1.นิคมอุตสาหกรรมหนองแค ได้นำระบบที่มีการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือระบบการผลิต ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ แบบเรียลไทม์ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรวบรวมน้ำเสีย  

2.นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์น ซีบอร์ด ได้นำระบบที่มีการใช้งานด้านขนส่งอัจฉริยะ โดยพัฒนาระบบกล้อง CCTV ให้สามารถประมวลผลได้แบบเรียลไทม์ เชื่อมต่อข้อมูลการจราจรไปยังแอปพลิเคชันในมือถือ 3.ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้นำระบบที่มีการใช้งานด้านการพัฒนาอาคารอัจฉริยะมาใช้ บริหารจัดการพลังงาน นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โรงงานอุตสาหกรรมที่นำระบบการใช้งานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอัจฉริยะ โดยได้จัดทำระบบฐานข้อมูลของเสียและแผนผังการไหลของเสีย และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเชื่อมโยงหรือแลกเปลี่ยนนำสิ่งปฏิกูลในรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน  


สมจิณณ์ เล่าถึงอีกหนึ่งโครงการที่ กนอ.ได้ดำเนินงาน คือ โครงการพัฒนาระบบการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ หรือเรียกย่อๆ ว่าระบบ PRTR คือ ฐานข้อมูลที่แสดงถึงชนิดและปริมาณของมลพิษ ที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งด้านอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงข้อมูลปริมาณการเคลื่อนย้ายน้ำเสียหรือของเสียออกนอกสถานประกอบการเพื่อบำบัดหรือกำจัด โดยข้อมูล PRTR จะได้รับการสื่อสารไปสู่ภาคประชาชนผ่านทางสื่อต่างๆ ที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้ เช่น อินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ เป็นต้น 


โดย กนอ.ได้ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยได้เริ่มดำเนินงานโครงการตั้งแต่เดือน มี.ค.54 เป็นต้นมา และนำร่องระบบ PRTR ในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และมาบตาพุด ซึ่งการดำเนินงานโครงการมีความคืบหน้าเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน โดยในการออกแบบระบบ PRTR ขั้นพื้นฐาน โครงการได้มีการกำหนดสารเคมีเป้าหมายภายใต้ระบบ PRTR จำนวน 107 สาร และกำหนดนิยามแหล่งกำเนิดประเภทแหล่งกำเนิดที่ถูกกำหนดให้ต้องจัดทำรายงาน (Point Source) 


“เรายังได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พัฒนาคู่มือการประเมินการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษภายใต้ระบบ PRTR สำหรับการประกอบกิจการอุตสาหกรรม 3 ประเภท ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี/ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดประเภท Point Source ไม่ได้จำกัดอยู่แค่โรงงานอุตสาหกรรม แต่ยังครอบคลุมถึงโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และสถานรับบำบัด/กำจัดของเสีย อีกด้วย ส่วนแหล่งกำเนิดประเภทแหล่งกำเนิดที่ไม่ต้องจัดทำรายงานเอง แต่ภาครัฐเป็นผู้ประเมินให้ (Non-Point Source) ได้แก่ การปลดปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ กิจกรรมการเกษตร การก่อสร้าง กิจกรรมในครัวเรือน และโรงงานขนาดเล็ก” 


เห็นได้ว่าแผนงานที่ กนอ.กำลังดำเนินการอยู่นั้น แม้จะเป็นเรื่องที่จะอยู่ในวงการอุตสาหกรรม แต่ผลดีที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะมาสู่ประชาชนโดยตรงแน่นอน เพราะทุกโครงการนั้นเอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดี และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งเชื่อว่าแนวทางปฏิบัตินี้ถ้ามีการควบคุมและทำงานอย่างเข้มข้น จะสามารถเป็นต้นแบบการแก้ปัญหาที่ตรงจุดได้อีกหนึ่งหนทางแน่นอน.  
             
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"