5 ชุมชนหนุนโมเดลจัดการขยะยั่งยืน ดึงเยาวชนขับเคลื่อน"แยกก่อนทิ้ง"


เพิ่มเพื่อน    

 

 

       ปัญหาของขยะชุมชนสามารถลดได้ จุดเริ่มต้นเป็นการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง  ส่งเสริมให้ชาวบ้านแยกขยะก่อนทิ้ง ซึ่งจำเป็นต้องให้ความรู้ในการจัดการและคัดแยกขยะที่ถูกต้อง จะแยกขยะเปียก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก โลหะ ขยะอันตราย จนกระทั่งขยะติดเชื้ออย่างหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ไม่นำมาทิ้งรวมกัน

      ความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อส่งเสริมเรื่องการแยกขยะ เช่น โครงการ “เยาวชนเจ้าบ้าน สืบสานวัฒนธรรม” ร่วมกิจกรรม “ชุมชนพอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” ดำเนินการภายใต้โครงการ “เก็บ กลับ-รีไซเคิล”  เมื่อวันก่อน  เป็นกิจกรรมช่วยกระตุ้นให้ทุกคนได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และสนับสนุนการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้อง

     กิจกรรมนี้มีความตั้งใจสนับสนุนให้เกิดโมเดลการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนโดยชุมชนเพื่อชุมชน โดยมีเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติร่วมเป็นกระบอกเสียง และมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางเพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการขยะในระดับชุมชนที่จะสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน และสิ่งแวดล้อมไปในคราวเดียวกัน นับเป็นกิจกรรมดีๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐ และเอกชน โดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และชุมชน อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดและยกระดับโครงการเยาวชนเจ้าบ้าน สืบสานวัฒนธรรม สู่การปลูกฝังการรักษาสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน   

       

      น้องๆ เยาวชนจากโครงการ “เยาวชนเจ้าบ้าน สืบสานวัฒนธรรม” ผ่านการคัดสรรเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 7-14 ปี ที่เรียน หรืออาศัยอยู่ในชุมชน 5 แห่ง ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร  วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  และวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร หรือชุมชนพื้นที่ใกล้ๆ  มีความกล้าแสดงออก มีจิตอาสา  และสามารถถ่ายทอดเชื่อมต่อองค์ความรู้ให้กับผู้อื่นได้

     เยาวชนเจ้าบ้านกลุ่มนี้ต้องเข้าอบรมเป็นระยะเวลา 2 วัน เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชุมชนที่สนใจ และมีการฝึกซ้อมนำเสนอและเล่าเรื่องราวในพื้นที่จริง   โดยเกณฑ์การตัดสินจะวัดจาก ทักษะการพูด ความถูกต้องของภาษา  การแสดงออกทางบุคลิกภาพ วิธีการเล่าเรื่องและความถูกต้องและเสน่ห์ในการสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์  โดยมีคณะกรรมการเป็นตัวแทนของแต่ละหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรในการจัดโครงการนี้เป็นผู้คัดเลือก เป็นการเสริมสร้างทักษะความรู้เรื่องในชุมชน แนะนำท้องถิ่นที่ตนเองอยู่เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิด  รวมทั้งการเป็นเจ้าบ้านที่ดีและผู้สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทยต่อไปในอนาคต เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ให้น้องๆ เยาวชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

      สำหรับที่มาโครงการ “เยาวชนเจ้าบ้าน สืบสานวัฒนธรรม” เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน รวมถึงบริษัทเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้ร่วมกันสืบสานวัฒนธรรม บอกเล่าประวัติศาสตร์ เผยแพร่ความรู้และข้อมูลเกี่ยวชุมชนที่ตนเองอาศัยให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเยาวชนจะเป็นตัวแทนนักสื่อสารเรื่องราวของวิถีชุมชนและสถานที่สำคัญที่อยู่ในพื้นที่ที่ตนเองเรียนหรืออาศัยอยู่ โดยจะทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน พร้อมเล่าเรื่องต่างๆ โดยน้องๆ เยาวชนถือเป็นตัวแทนของชุมชนที่สามารถให้ความความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิถีชุมชนของตัวเอง นำไปสู่ความภาคภูมิใจ และเป็นการช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้เป็นคนที่กล้าพูดกล้าสื่อสาร โครงการนี้ได้รับการตอบรับเป็นผู้ปกครองเป็นอย่างดี และดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2558

 

   


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"