คืน'ชะนี'สู่ป่าเขาพระแทว ภูเก็ต ตัวอย่างความสำเร็จ จ่อยกระดับพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     วันที่ 17 เม.ย. นายวราวุธ​ ศิลปอาชา​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​​ (รมว.ทส.) พร้อมด้วยนายจตุพร​ บุรุษพัฒน์​ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ (ปกท.ทส.) ลงพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว ตรวจติดตามสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ พร้อมให้ขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ทั้งยังได้มอบนโยบายในการดำเนินโครงการคืนชะนีสู่ป่า (The Gibbon Rehabilitation Project) ณ บริเวณน้ำตกบางแป อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยมีว่าที่ร้อยตรี วิกรม จากที่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยหน่วยงานในพื้นที่ และมูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ

      นายวราวุธ กล่าวว่า ชื่นชมการดำเนินงานโครงการคืนชะนีสู่ป่าที่สามารถปล่อยชะนีคืนกลับสู่ป่าธรรมชาติได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งมีไม่กี่ประเทศที่สามารถทำได้ ส่งผลให้พื้นที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว ซึ่งเป็นป่ากลางเมืองแห่งเดียวของ จ.ภูเก็ต มีความอุดมสมบูรณ์ที่สามารถยกระดับเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่มีความสำคัญระดับโลกได้ต่อไปในอนาคต ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑล อยู่ทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสัก-ห้วยทาก จ.ลำปาง พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า จ.เชียงใหม่ และพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง จ.ระนอง ซึ่ง “พื้นที่สงวนชีวมณฑล” นับเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศบนบก ทะเล หรือชายฝั่งทะเล ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และระบบนิเวศ ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน

 

     สำหรับโครงการคืนชะนีสู่ป่า ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกบางแป ดำเนินงานโดย มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว เพื่อช่วยเหลือชะนีรวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ ที่ถูกทารุณกรรมหรือพิการ จากการล่ามาเป็นอาหารด้วยความเชื่อผิดๆ หรือนำมาเลี้ยงอย่างไม่ถูกต้อง โดยการนำสัตว์เหล่านั้นมาฝึกให้รู้จักวิธีการดำรงชีวิตในธรรมชาติก่อนปล่อยคืนกลับสู่ป่า ทั้งนี้ ชะนีทุกชนิดเป็น สัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2535 ทั้งยังมีบทบาทที่สำคัญต่อระบบนิเวศในป่า ในฐานะผู้กระจายเมล็ดพันธ์ุพืช จากพฤติกรรมการกินผลไม้ทั้งเมล็ดและการเคลื่อนที่ไปบนยอดไม้

       การลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการฯ ครั้งนี้ นายวราวุธ และนายจตุพร ยังได้ปลูกต้นปาล์มเจ้าเมืองถลาง ซึ่งเป็นปาล์มเฉพาะถิ่นของ จ.ภูเก็ต โดยเป็นปาล์มสกุลเดียวและชนิดเดียวของโลก ที่มีถิ่นกำเนิดที่ จ.ภูเก็ต ทั้งยังหาได้ยากในธรรมชาติ ณ บริเวณน้ำตกบางแปอีกด้วย

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"