"ChulaCOV-19" โชติช่วง


เพิ่มเพื่อน    

ช่วงนี้ โลกกำลังผลัดใบ
    สหรัฐแพ้....
    หนีเอาตัวรอดจากอัฟกานิสถาน ปล่อยให้ตอลิบันยึดประเทศไปครองได้เบ็ดเสร็จ
    "มาเลเซีย" ใกล้บ้านเรา นายกฯ มูห์ยิดดิน ยาสซิน ถวายหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่อ "สมเด็จพระราชาธิบดี"
    ประเทศไทย เมื่อวาน (๑๖ ส.ค.๖๔)
    ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
    ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
    นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ 
    ประกาศขาวดี....
    ผลทดสอบ ChulaCOV-19 พร้อมประกาศชัยต่อชาวโลก "ไทยผลิตวัคซีน mRNA" ใกล้สำเร็จแล้ว
    สงกรานต์ ๖๕ ฉีดได้ทั่วหล้าพี่น้องไทย!
    ข่าวนี้ ทำให้บรรยากาศคลุมประเทศที่มัวซัว พลันพลิกสดใส ทั้งหวัง ทั้งภูมิใจ ประกายเปล่งเจิดจ้าขึ้นมาทันที
    ฟังที่ "ศ.นพ.เกียรติ" ท่านให้รายละเอียดแบบคร่าวๆ ให้ใจมันฟูกัน ต่อจากนี้นะครับ
    จากการทดลอง ChulaCOV-19  ระยะที่ 1/2 เมื่อ 14 มิ.ย.64 ที่เริ่มฉีดเข็มแรกในอาสาสมัครอายุ 18-55 ปี 36 คน     ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว วันนี้ เป็นระยะเวลาการติดตามผลวันที่ 50 
    สำหรับอาสาสมัครอายุ 56-75 ปี อีก 36 คน ส่วนใหญ่ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 
    อย่างไรก็ตาม มีการทดลองเฟส 2 A ก่อนสิ้นเดือน ส.ค.นี้ อาจต้องใช้ระยะเวลาทดลองที่มากกว่ากลุ่มอายุ 18-55 ปี ในอาสาสมัคร 150 คน 
    แบ่งเป็น 120 คน.... 
    ทดลองฉีด ChulaCOV-19 โดยเลือกจากขนาดที่เหมาะสมจากระยะที่ 1     
    ส่วนอีก 30 คน.... 
    ฉีดเปรียบเทียบ เป็นวัคซีนไฟเซอร์  ผลพบว่า "สามารถยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ดี"  
    จากการตรวจภูมิคุ้มกันในอาสาสมัคร ด้านสามารถยับยั้งการจับตัวของ RBD หรือโปรตีนที่กลุ่มหนาม หากจับได้แสดงว่าไวรัสโควิดไม่น่าจะเข้าเซลล์ได้ด้วย 
    จากการเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ในการยับยั้ง พบว่า 
    -ChulaCOV-19 อยู่ที่ 94%  
    -ไฟเซอร์ 94%
     -แอสตร้าเซนเนก้า 84%  
    -ซิโนแวค 75%  
    หากการยับยั้งเกิน 70% น่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ 
    ด้านผลข้างเคียง สรุปผลทดลองเบื้องต้น (ย้ำ-เป็นเพียงการทดลองเบื้องต้น) จากอาสาสมัคร 36 คน ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ 
    มีเพียงเล็กน้อยและดีขึ้นภายใน 1-3 วัน ส่วนใหญ่เจ็บแผลจากการฉีด อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ และจะปวดมากขึ้นในเข็มที่ 2 
    จากการเปรียบเทียบปริมาณการให้วัคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม 
    แสดงให้เห็นว่าอาการข้างเคียงจะพบน้อยมากหรือแทบไม่มีในการให้โดสที่ต่ำ  
    แต่อาการอ่อนเพลีย พบทั้งการให้ในโดสที่ต่ำและสูงประมาณ 50-60% ส่วนใน 25 ไมโครกรัม พบมีไข้ประมาณ 25% 
    เมื่อนำข้อมูลอาการข้างเคียงที่พบในไฟเซอร์มาเทียบ เช่น การเป็นไข้ มีเปอร์เซ็นต์ใกล้เคียงกับผลการให้วัคซีน ChulaCOV-19 (แต่อาจไม่สามารถเปรียบเทียบโดยตรงได้) 
    ส่วนการกระตุ้นภูมิ T-cell ที่สร้างแอนติบอดี เพื่อไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ได้ 
    หลังฉีดเข็มที่ 1 พบผลกระตุ้นภูมิใกล้เคียงกับไฟเซอร์ 
    แต่หลังฉีดเข็มที่ 2 และวัดผลหลัง 3 สัปดาห์ 
    พบว่า T-cell ของ ChulaCOV-19 อยู่ที่ 4,514 
    ไฟเซอร์อยู่ที่ 1,742 
    แสดงถึงความสามารถในการยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ดี 
    ส่วนผลต่อการยับยั้งไวรัส "ข้ามสายพันธุ์" ศ.นพ.เกียรติ บอกว่า 
    ตรวจในแล็บด้วยเทคนิค Pseudovirus จากตัวเลขที่ทำวิจัยจุดตัดที่สามารถป้องกันอาการของโควิดได้ประสิทธิภาพ 
    หากจุดตัดอยู่ที่ 60 
    แสดงว่าความสามารถในการป้องกันจะอยู่ที่ 60% จุดตัดเกิน 185 แสดงว่าความสามารถในการป้องกันก็จะอยู่ที่ 80% 
    เมื่อตรวจสอบวัคซีนที่ใช้ทั้งไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม, อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา พบว่า 
    ChulaCOV-19 มีจุดตัดเกิน 185  
    แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์ และเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการป้องกันในสายพันธุ์เดลตากับไฟเซอร์ พบว่า "ไม่ต่างกันมาก" 
    ครับ....ขอแทรกนิด
    คืออยากย้ำว่า ความที่ ศ.นพ.เกียรติกล่าวต่อจากนี้ "สำคัญมาก" เป็นประเด็นที่ท่านนายกฯ และกระทรวงสาธารณสุข
    "ต้องฟัง" และต้อง "ตัดสินใจ" อย่างยิ่ง!
    "ส่วนเฟส 3 จะดำเนินการหรือไม่อย่างไรนั้น ต้องอยู่ที่กติกาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
    คาดว่าจะกำหนดกติกาการขึ้นทะเบียนวัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตโดยคนไทย จะออกมาในเดือน ก.ย.นี้ 
    ก็จะทำให้วัคซีนของคนไทยทั้ง 4 ทีม ได้รู้ว่าการจะขึ้นทะเบียนต้องดำเนินการอะไรบ้าง? 
    และหากกติกา อย.ให้สามารถขึ้นทะเบียนได้ในเฟส 2 โดยวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย มีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีนชนิด mRNA ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศและได้ขึ้นทะเบียนในเมืองไทย 
    เชื่อมั่นว่า ภายในเมษา.65 ประเทศไทยจะมีวัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตโดยคนไทยใช้ ในการกระตุ้นเข็ม 3 อย่างแน่นอน
    “ปี 2565 เชื่อว่าคนไทยเกิน 80-70% ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว 
    ดังนั้น วัคซีนทั้ง 4 ทีม ที่คนไทยกำลังพัฒนาผลิตอยู่นี้ จะใช้เป็นการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 
    โดยในส่วนของวัคซีน ChulaCov-19 ถ้ากติกาของ อย.ไม่จำเป็นต้องทดลองในเฟส 3 
    ประมาณ เม.ย.65 คนไทยจะได้ฉีดอย่างแน่นอน 
    วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพป้องกันการข้ามสายพันธุ์ได้ดีมาก ตอนนี้มีข้อมูลยืนยันชัดเจน วัคซีน ChulaCov-19 อยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นานถึง 3 เดือน
     เก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ ทำให้จัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีน mRNA ยี่ห้ออื่นอย่างมาก” 
    ขณะนี้จุฬาฯ ได้เตรียมโรงงานผลิตจากโรงงานบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ในประเทศไทย ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตรองรับมาตั้งแต่ปีที่แล้ว 
    หากผลการศึกษาวิจัยสำเร็จตามแผน จะใช้โรงงานแห่งนี้ผลิตวัคซีนโควิด ชนิด mRNA ของจุฬาฯ คาดว่าจะผลิตได้ 30-50 ล้านโดสต่อปี ทำให้สามารถปิดช่องว่างวงจรการผลิตวัคซีนในไทยได้
    "4 ข้อ" ที่จะทำให้ไทยมี 'วัคซีนโควิด-19' ของตนเอง คนไทยต้อง "งดเสพสื่อ" ที่มองลบอย่างเดียว 
    ถ้าประเทศไทยต้องการให้มีอย่างน้อย 1 ใน 4 วัคซีนที่ได้รับการรับรองภายใน เม.ย.65 ซึ่งการจะทำให้ไทยมีวัคซีนของตนเองได้นั้น ต้องมี 4 อย่าง คือ
    1.ไทยต้องไม่บริหารระดมทุนแบบเดิม ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ทั้งภาครัฐ, เอกชน และภาคประชาชน 
    ต้องมีงบที่เพียงพอ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ในส่วนของวัคซีนนี้ ควรระดมทุนกองไว้ 2,500-3,000 ล้านบาท 
    เพราะถ้าทำถึง 2 B ต้องใช้งบประมาณ 500-600 ล้านบาท แต่ถ้าจะเฟส 3 ซึ่งจะทดลองในอาสาสมัครประมาณ 10,000 กว่าคน 
    คาดจะใช้งบประมาณ 1,500 ล้านบาท และอีก 1,000 ล้านบาท สำหรับวัตถุดิบ 
    ตอนนี้ จองวัตถุดิบล่วงหน้าไว้แล้ว แต่ยังไม่มีเงินไปจองเขา ทำให้เราติดขัดในเรื่องนี้ 
    หากมีการระดมทุนกองไว้ชัดเจน คาดจะได้วัคซีน 1 ตัวขึ้นทะเบียนภายในปีหน้า 
    อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัว ถ้าระบบการบริหารติดกับดักราชการแบบไทย คงไม่สามารถทำได้
    2.กติกาในการขึ้นทะเบียนวัคซีน ต้องมีกติกาออกมาชัดเจนภายในเดือน กันยา.จาก อย.
    ว่าการขึ้นทะเบียนจะต้องทำวิจัยระยะ 2 B หรือระยะ 3 อย่างไร จึงจะเพียงพอ?
    3.โรงงานผลิต จะต้องเร่งดำเนินการให้สามารถผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพและจำนวนมาก
    4.นโยบายการจองและจัดซื้อวัคซีนล่วงหน้าต้องมีความชัดเจน
    ครับ....
    นี่คือ "ข่าวดี" ของประเทศไทย ยุคโลกาภิวัตน์มีสโลแกนว่า "ใครครองสื่อ คนนั้นครองโลก"
    ตอนนี้เป็นยุคโควิดภิวัตน์ สโลแกนต้องเป็นว่า "ประเทศไหนผลิตวัคซีนได้ ประเทศนั้นครองโลก"
    รัฐบาล, สาธารณสุข และ อย.
    พลาดครั้งแรก ถือว่า "อุบัติใหม่" แต่ถ้าพลาดอีกครั้ง
    "วิบัติ" แบบบรรลัย ครับ!.

คนปลายซอย 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"