แนวโน้มเงินเดือน


เพิ่มเพื่อน    

    ใกล้จะสิ้นปีความคาดหวังของมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่คงไม่ต่างกันมากนัก นั่นคือวันหยุดพักผ่อนกับครอบครัว และเปอร์เซ็นต์การขึ้นของเงินเดือน รวมไปถึงโบนัสที่เป็นดั่งขวัญและกำลังใจในการทำงาน สำหรับบางคนเงินโบนัสประจำปีคือเงินถุงเงินถังที่ใช้เป็นเงินออม เงินชำระหนี้ เงินตั้งต้นเริ่มปีใหม่เลยทีเดียว วันนี้ผู้เขียนจึงนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและผลตอบแทนที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้รับมานำเสนอ
    โดยคอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป รายงานข้อมูลคาดการณ์เงินเดือนปี 2561 ของทั่วโลก โดยผลสำรวจของภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ (Real wage) สูงสุด แม้อัตราการขึ้นเงินเดือนของปี 2560 นี้จะต่ำกว่าปี 2559 ที่ผ่านมา
    สำหรับภูมิภาคเอเชีย คาดการณ์ว่าอัตราเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นราว 5.4% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 6.1% จากเมื่อปี 2559 โดยคาดว่าการปรับอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ (Real wage) จะอยู่ที่ราว 2.8% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก แต่ยังลดลงจาก 4.3% ของปีก่อน โดยจีนจะเพิ่มขึ้นที่ 4.2% ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ในปีก่อนว่าจะเพิ่มขึ้น 4%
    ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี อาทิ เวียดนามคาดการณ์ที่ 4.6% ลดลงจาก 7.2% ส่วนสิงคโปร์ที่ 2.3% ลดจาก 4.7% สำหรับญี่ปุ่นที่ 1.6% ลดลงจาก 2.1% ส่วนประเทศไทยคาดการณ์ว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น 4.5% ซึ่งยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.6 % ในปีที่แล้ว
    โดยภูมิภาคส่วนใหญของโลกมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง เมื่อพิจารณาการปรับขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ คาดการณ์ว่าลูกจ้างทั่วโลกจะได้รับอัตราเฉลี่ยเพียง 1.5% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ปีนี้ที่ 2.3%
    นายบ็อบ เวสเซลเคมเปอร์ หัวหน้าฝ่ายงานระหว่างประเทศ Rewards and Benefits Solutions ของคอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป กล่าวว่า อัตราของการเพิ่มหรือลดเงินเดือนจะแตกต่างไปตามตำแหน่งงาน อุตสาหกรรม ประเทศ และภูมิภาค แต่ประเด็นสำคัญที่เห็นชัดเจน คือ ในส่วนของพนักงานนั้น จะไม่สามารถรู้ได้ถึงการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนที่แท้จริง
    โดยภาวะเงินเฟ้อกระตุ้นอัตราการเพิ่มเงินเดือนในเอเชีย แม้เอเชียจะมีอัตราการเพิ่มเงินเดือนสูงสุดที่ 8.5% แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.7% เพิ่มจากเมื่อปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 0.7% ในขณะที่อียิปต์มีอัตราการเพิ่มเงินเดือนสูงสุดอยู่ที่ 15% แต่กลับพบว่ามีอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 18.8% ทำให้ลูกจ้างมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ -3.8%
    การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกทำให้อัตราการเพิ่มค่าจ้างลดต่ำลง สำหรับในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ ลูกจ้างที่มีทักษะการทำงานสูงจะถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากสำหรับบริษัทในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งลูกจ้างที่มีทักษะเหล่านั้นย่อมคาดหวังว่าจะได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในภูมิภาคย่อมส่งผลทำให้เงินเดือนในภูมิภาคนั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
    ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าให้วิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ และคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรวมในการพิจารณาเรื่องการปรับเงินเดือน แม้อัตราเงินเฟ้อจะเป็นดัชนีเปรียบเทียบและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดในเรื่องการจ่ายค่าจ้าง บริษัทต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้นในการกำหนดและตกลงใช้มาตรการต่างๆ ทั้งในเรื่องปัจจัยด้านต้นทุน ด้านกลยุทธ์ธุรกิจ และเงื่อนไขการดำเนินธุรกิจของแต่ละประเทศ
    โดยโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนต่างๆ ควรได้รับการตรวจสอบและทบทวนอยู่เสมอ เพื่อให้บริษัทมั่นใจได้ว่า การจ่ายผลตอบแทนสามารถแข่งขันได้ในตลาด โดยยังคงมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และการพัฒนาของธุรกิจ    
    เมื่อได้รับทราบข้อมูลแบบนี้แล้ว คนไทยก็ไม่ต้องกลัวไปว่าจะเป็นชาติเดียวมีอัตราการปรับขึ้นเงินเดือนที่ต่ำ เพราะผลกระทบจากเศรษฐกิจภาพใหญ่นั้นส่งผลทั่วถึงในทุกประเทศทั่วโลก.

นัจกร สุทธิมาศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"