รู้ก่อนช็อปปิ้งออนไลน์


เพิ่มเพื่อน    

เกิดข่าวใหญ่สุดช็อกในแวดวงการเงิน หลังจากจู่ๆ มีลูกค้าธนาคารไทยจำนวนมากออกมาร้องเรียนว่า บัญชีของพวกเขาโดนตัดเงินทีละจำนวนน้อยๆ แต่ถี่ๆ หลายรายการ โดยข้อความระบุว่า Purchase via EDC ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการซื้อสินค้าบริการผ่านบัตรเดบิต และมาตัดเงินจากบัญชีธนาคารอีกที โดยรายการที่เกิดขึ้นจะพบมากในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้เสียหายมีมากถึง 20,000 คน
    หลังจากเกิดเป็นข่าวที่สื่อกระแสหลักนำไปตีแผ่ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยก็ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจง มีเนื้อหาดังนี้
    ตามที่ปรากฏข่าวพบลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรเดบิตจำนวนมากประสบปัญหาการทำรายการชำระเงินโดยที่ไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตนเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้รับทราบปัญหาและได้ตรวจสอบสถานการณ์ดังกล่าว โดยเบื้องต้นพบว่า มิได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากธนาคาร แต่เป็นรายการที่เกิดจากการทำธุรกรรมชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และไม่ใช่แอปดูดเงินตามที่ปรากฏเป็นข่าว
    ขณะนี้ธนาคารเจ้าของบัตรได้ดำเนินการระงับการใช้บัตรของลูกค้าที่มีรายการผิดปกติ และติดต่อลูกค้า รวมทั้งอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบร้านค้าที่มีธุรกรรมที่ผิดปกติเหล่านี้
     นอกจากนี้ ลูกค้าที่ตรวจสอบพบความผิดปกติของรายการธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันการทำธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเร่งคืนเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายตามขั้นตอนของธนาคารโดยเร็วต่อไป
    ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยธนาคารพาณิชย์มีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและมีการตรวจสอบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบรายการที่ผิดปกติ ธนาคารจะแจ้งลูกค้าเพื่อตรวจสอบและยืนยันรายการธุรกรรม และพร้อมจะดูแลลูกค้าด้วยความรับผิดชอบเสมอ
    จากแถลงการณ์ดังกล่าว จับใจความได้ดังนี้ 1.ธนาคารยืนยันว่า ความเสียหายในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการรั่วไหลของข้อมูลจากฝั่งธนาคาร 2.ผู้เสียหายทั้งหมดไปธุรกรรมชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ 3.ไม่ได้เกิดกรณีแอปดูดเงิน 4.ธนาคารเจ้าของบัญชียินดีคืนเงินให้ลูกค้า กรณีไม่ได้ทำธุรกรรมจริง 5.ลูกค้าต้องตรวจสอบธุรกรรมที่ผิดปกติของตัวเอง
    เมื่อทั้งหมดมีข้อสรุปว่า ปัญหามาจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากเว็บไซต์ในต่างประเทศ ดังนั้นก่อนช็อปปิ้งก็ควรจะมีความรู้ในการตรวจสอบด้วยตัวเองก่อนว่า ควรจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าหรือเว็บไซต์นั้นหรือไม่
    1.ช็อปเฉพาะร้านค้าบนเว็บไซต์ที่ใช้ HTTPS เพราะไซต์ที่ใช้ HTTPS ช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ส่งทั้งหมดจะได้รับการเข้ารหัส และอาชญากรนั้นจะไม่สามารถดักขโมยข้อมูลของคุณได้
     2.หลีกเลี่ยงใช้บัตรเครดิตในการช็อปปิ้ง และใช้บัตรเดบิตเมื่อซื้อสินค้าออนไลน์ แต่สำหรับบัญชีบัตรเดบิตที่ใช้ช็อปปิ้งออนไลน์ควรมีวงเงินจำกัดเฉพาะที่จะใช้ซื้อสินค้าเท่านั้น ไม่ควรเก็บเงินในบัญชีดังกล่าวเยอะเกินไป
    3.ควรตรวจสอบใบแจ้งยอดใช้จ่ายบ่อยๆ หรือจะให้คุณสมัครรับ SMS เพิ่มในบัญชีของคุณ
    4.ตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม คาดเดายาก ใช้การผสมตัวอักษร (ทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก) ตัวเลขและอักขระพิเศษ
     5.อย่าใช้ฟรี WI-FI สาธารณะที่ไม่รู้ที่มาที่ไปในขณะช็อปออนไลน์ และช็อปผ่านอุปกรณ์ส่วนตัวเท่านั้น
    6.ช็อปผ่านแอปพลิเคชัน หรือผู้ขายที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
    นี่คือเคล็ดลับเบื้องต้นที่จะทำให้ปลอดภัยที่สุดในการช็อปปิ้งออนไลน์. 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"