เยียวยาแท็กซี่-วินมอไซค์


เพิ่มเพื่อน    

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนอย่างปฏิเสธไม่ได้ แน่นอนว่าได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการขนส่งสาธารณะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยการให้บริการขนส่งสาธารณะที่ดูเหมือนว่าในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ผู้ใช้บริการลดลงอย่างน่าตกใจ เนื่องจากการเดินทางต้องหยุดชะงัก คนส่วนใหญ่ขานรับนโยบายรัฐบาลด้วยการ Work From Home
    ในเวลาต่อมากลุ่มผู้ให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะได้ออกข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลว่า ​ตามที่ได้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรงไปทั่วโลก​ รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลกระทบถึงประชาชนในทุกสาขาอาชีพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ประกอบการแท็กซี่และผู้ขับรถแท็กซี่ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี
    ขณะเดียวกันยังไม่มีวี่แววว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติได้เมื่อใด จึงทำให้ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพของผู้ขับรถแท็กซี่ และผู้ประกอบการแท็กซี่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ จึงได้มีการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการรถแท็กซี่
    ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยใช้เงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ กรอบวงเงิน 166.9 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ที่มีสิทธิ์ทั้งหมด 16,694 คนใน 29 จังหวัด ซึ่งจะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน โดยแยกเป็นกลุ่มแรกคือ ผู้ที่อยู่ใน 13 จังหวัดแรก ตามประกาศฉบับที่ 25 และ 28 จะได้รับการเยียวยา 2 เดือน หรือคนละ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 16 จังหวัดตามประกาศฉบับที่ 30 ได้เยียวยา 1 เดือน
    โดยเงื่อนไขสำหรับผู้ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามโครงการนี้ ต้องเป็นผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ก่อนวันที่ 11 ส.ค.2564 มีศักยภาพในการขับรถ มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ และบัตรประจำตัวผู้ขับรถสาธารณะ รถที่ใช้ประกอบอาชีพต้องชำระภาษีครบถ้วน มีรายชื่อในฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีรถเช่าต้องยืนยันทะเบียนรถและผู้ให้เช่า โดยกรมการขนส่งทางบกจะทำการตรวจสอบก่อนรับสิทธิ์
    แบ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ประกอบอาชีพใน 13 จังหวัด ตามข้อกำหนดฉบับที่ 25 และฉบับที่ 28 จะได้รับเงินช่วยเหลือในอัตรา 10,000 บาทต่อคน (ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) และการช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ประกอบอาชีพใน 16 จังหวัด ตามข้อกำหนดฉบับที่ 30 จะได้รับเงินช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาทต่อคน (กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง)
    แน่นอนว่าหลังจากนี้จะมีการจ่ายเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชน 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ย.2564 สำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะและรถแท็กซี่ส่วนบุคคล และรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-26 พ.ย.2564 สำหรับรถแท็กซี่ที่เช่าขับ ซึ่งการเยียวยากลุ่มแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ครั้งนี้ได้แสดงถึงความห่วงใยจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ที่เร่งดำเนินการช่วยเหลือจนได้รับการเยียวยาในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกอาชีพหลุดพ้นจากภาวะวิกฤตไปได้.

 กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"