เปลี่ยน" Public School" เป็น "รร.ร่วมพัฒนา "


เพิ่มเพื่อน    

 

เปลี่ยนชื่อ Public School เป็น "โรงเรียนร่วมพัฒนา "ดึงความร่วมมือตั้งแต่ท้องถิ่น ประชาสังคม ผู้ปกครอง ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น "หมออุดม" เผยมีภาคเอกชน 10 แห่ง แสดงความจำนงร่วมดูแล โรงเรียนกว่า 70 โรงแล้ว คาด 23 เม.ย. เคาะอีกรอบ ยันทัน เปิดเทอม ปี 61

    นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ Public School  ว่า ที่ประชุมได้มีมติให้มีการเปลี่ยนชื่อจาก Public School เป็น Partnership School หรือโรงเรียนร่วมพัฒนา เพื่อให้มีความชัดเจนว่าเป็นโรงเรียนที่เกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่าย ไม่ได้ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เท่านั้น โดยจะร่วมมือตั้งแต่ท้องถิ่น ประชาสังคม ผู้ปกครอง ภาคเอกชน และภาคมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น ซึ่งมีความแตกต่างจากโรงเรียนประชารัฐ ที่ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเท่านั้น แต่โรงเรียนร่วมพัฒนา เอกชนไม่ได้เข้ามาช่วยเท่านั้นแต่ต้องเข้ามาพัฒนา บริหารจัดการ ซึ่งภาคเอกชนจะเข้ามาเป็นกรรมการโรงเรียน และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนร่วมพัฒนาจะเป็นการยกระดับกระบวนการเรียนการสอน และเพิ่มความเข้มข้นในส่วนของภาคเอกชน และหน่วยงานที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาโรงเรียน อีกทั้งโรงเรียนรูปแบบดังกล่าว จะเป็นต้นแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในอนาคตของ ศธ. ทั้งหมด เพราะสุดท้ายถ้าการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนต้องมีลักษณะเหมือนในประเทศที่เจริญแล้ว 
    
    รมช.ศธ.กล่าวอีกว่า ตอนนี้มีภาคเอกชนเข้ามาร่วมประมาณ 10 บริษัท ที่แจ้งจำนงจะดูแลโรงเรียนประมาณ 70 กว่าแห่ง เช่น บริษัท มิตรผล จำกัด (มหาชน) ดูแลโรงเรียน 5 แห่ง , บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  6 แห่ง , บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด ( มหาชน) 6 แห่ง และบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)   5  แห่ง เป็นต้น นอกจากนั้น มีบางบริษัทที่ต้องการช่วยเหลือเฉพาะเรื่องและทุกโรงเรียน เช่น บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จะเข้ามาดูแลด้านไอซีทีให้แก่ทุกโรงเรียน ไม่ได้ช่วยโรงเรียนแห่งใดแห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่แจ้งความจำนงเข้ามาช่วยพัฒนาโรงเรียน แต่ยังไม่สามารถหารือกับโรงเรียนได้สมบูรณ์จึงยังไม่สรุป แต่คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย.นี้ และเปิดเรียนทันปีการศึกษา2561 อย่างแน่นอน    


    นพ.อุดม กล่าวต่อว่า และในที่ประชุมภาคเอกชนยังได้แสดงความกังวลว่าหากมีรัฐบาลใหม่การดำเนินการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา  จะไม่ได้ดำเนินการต่อนั้น ตนได้ชี้แจงว่ารัฐบาลใหม่มีสิทธิ์ที่จะไม่ดำเนินโครงการดังกล่าวได้ แต่เชื่อว่าโครงการนี้เป็นสิ่งที่ดี และมีการกำหนดในยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ 20 ปี ซึ่งมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รองรับด้วย หากมีการเปลี่ยนแปลงประชาชนต้องจับตามองอย่างแน่นอน   อีกทั้งยังได้มีการหารือถึงการบริหารงานบุคคล เช่น การจ้างครูใหม่ การทำหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนที่ต้องการคนมีวิสัยทัศน์และต้องอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปีขึ้นไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เป็นต้น และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ยืนยันว่าไม่มีปัญหา ปลดล็อคได้ทุกเรื่อง เพราะจากการศึกษาระเบียบต่างๆ พบว่า สามารถกระทำได้แต่ที่ผ่านมาไม่กล้าทำ 


    ส่วนเรื่องเงินเดือน จะใช้อัตราเงินเดือนเดิมแต่จะมีเงิน Top up เพิ่มใหม่ เนื่องจากต้องมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มอบให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตั้งจัดทำแนวทางการดำเนินการในรูปแบบเชคบุค และจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อให้ดูแลโรงเรียนร่วมพัฒนาให้เกิดการบริหารจัดการได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อมีปัญหาให้ติดต่อมายังหน่วยงานดังกล่าว โดยไม่ต้องส่งเรื่องไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ หรือการศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งหน่วยงานนี้จะมีเลขาฯ กพฐ.เป็นประธาน  ขณะที่ วิทยฐานะยึดตามระเบียบเดิม และมีระเบียบใหม่เพิ่มเติม ด้านการเงินต่างๆ เงินที่บริจาคเข้ามา ต้องเป็นไปตามระเบียบการใช้เงินของภาครัฐโดยเน้นความคล่องตัวมากขึ้น และในการประชุมครั้งหน้า 23 เมษายนนี้  จะเชิญกรมบัญชีกลางเข้ามาหารือ เพื่อปลดล็อคระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"