ปัดโดนกินรวบ! คู่ค้า'อาลีบาบา' เพิ่มช่องขายของ


เพิ่มเพื่อน    

    "สนธิรัตน์" ยันไทยได้ประโยชน์ขายสินค้าผ่าน Tmall เครืออาลีบาบา ขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตร ปัดโดนกินรวบ เตรียมเปิดตัวใหญ่กับอี-คอมเมิร์ซระดับโลกอีก ธปท.ชี้อุดหนุนราคาไม่ใช่ทางแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ แนะลดต้นทุน ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลิตภาพ 
    เมื่อวันที่ 23 เมษายน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่มีข้อกังวลจากสังคมว่าความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับ Tmall ซึ่งเป็นเว็บไซต์ในเครืออาลีบาบา  จะทำให้อี-คอมเมิร์ซไทยแข่งขันไม่ได้ และอาลีบาบาจะเข้ามากินรวบระบบโลจิสติกส์ของประเทศว่า  ไทยจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าว โดยในด้านการขายสินค้าเกษตรจะทำให้มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการกับสินค้าข้าว ผลิตภัณฑ์จากข้าว และทุเรียนไปแล้ว ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะทุเรียนสามารถจำหน่ายได้ 8 หมื่นลูกในระยะเวลาแค่ 1 นาที  ส่งผลให้ราคาทุเรียนไทยแบบเหมาสวนปรับตัวขึ้นทันทีเป็นกิโลกรัม (กก.) ละ 70-80 บาท จากเดิม กก.ละ 60-70 บาท ส่วนข้าวกำลังอยู่ระหว่างการติดตามผล แต่เบื้องต้นทราบว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน
    "ความร่วมมือดังกล่าวช่วยให้เกษตรกรไทยมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น และไม่กระทบกับอี-คอมเมิร์ซของไทย เพราะผู้ประกอบการไทยยังสามารถขายออนไลน์ได้ปกติ ไม่ได้มีการเข้ามาผูกขาด  และไทยก็ไม่ได้ร่วมมือแค่อาลีบาบาเพียงแห่งเดียว แต่ได้ร่วมมือในการค้าขายออนไลน์กับแพลตฟอร์มระดับโลกอื่นๆ อีก ทั้ง Amazon.com และ eBay.com ตลาดอเมริกาและยุโรป ShopJJ.com ตลาดสิงคโปร์และอาเซียน Gosoko ตลาดแอฟริกา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าไทยมีความร่วมมือกับทุกแพลตฟอร์ม โดยจะมีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เหมือนกับอาลีบาบาในเร็วๆ นี้" รมว.พาณิชย์ระบุ
    นายสนธิรัตน์กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมจำหน่ายทุเรียนกับ Tmall จะต้องเป็นนิติบุคคล มีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า และสินค้าต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด จากนั้นต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ Thaitrade.com โดยกระทรวงพาณิชย์จะคัดเลือกสินค้าจากผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และนำไปเจรจาจับคู่ธุรกิจกับผู้นำเข้าของ Tmall เพื่อนำไปวางขายใน Thai Rice Flagship  Store ซึ่งจนถึงขณะนี้มีผู้ประกอบการไทยกว่า 100 รายที่ได้ส่งทุเรียนเข้าไปจำหน่ายแล้ว และกำลังจะคัดเลือกเพิ่มเติม
    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นความร่วมมือที่อาลีบาบามอบให้ไทย  โดยปกติการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในเว็บไซต์ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs จะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 3,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี แต่ความร่วมมือดังกล่าวจะมีระยะเวลาประมาณ 1 ปีที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียม แต่หลังจากนั้นหากจะมีการเก็บค่าธรรมเนียม กระทรวงพาณิชย์จะเจรจาเพื่อให้มีการเรียกเก็บในอัตราพิเศษ หรือต่ำกว่าการเรียกเก็บปกติ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย
    สำหรับประเด็นการกินรวบระบบโลจิสติกส์นั้น ขอชี้แจงว่าอาลีบาบาจะเข้าไปลงทุนระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเป็นการลงทุนตั้งศูนย์กระจายสินค้าและระบบดิจิทัลที่ใช้ในการบริหารสต็อกสินค้า ไม่ได้หมายความว่าอาลีบาบาจะมาทำธุรกิจโลจิสติกส์ทั้งหมด  แต่ในการขนส่งสินค้าเข้ามายังคลังกลาง ก่อนที่จะทำการบรรจุและส่งออกต้องจ้างโลจิสติกส์ของไทยช่วยขนสินค้ามาให้ ถือว่าเป็นแขนขาให้ ซึ่งผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์จากการเป็นห่วงโซ่ในธุรกิจมากกว่า
    นอกจากนี้ ในประเด็นการที่อาลีบาบามาขายทุเรียนไทย ทำให้ราคาทุเรียนไทยแพงขึ้นนั้น ไม่เกี่ยวกัน เพราะทุเรียนที่แพงขึ้น หากเป็นผลมาจากคุณภาพดีขึ้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์ให้การส่งเสริมผลิตสินค้าคุณภาพอยู่แล้ว แต่การขายผ่าน Tmall ไม่ได้มากมายอะไร โดยที่จำหน่ายได้ 8 หมื่นลูก คิดเป็น 350 ตันเท่านั้น และเมื่อเทียบกับผลผลิตรวมปีนี้ที่คาดว่าจะมีมากถึง  7.65 แสนตัน ถือว่าน้อยมาก จึงไม่ต้องกังวลว่าทุเรียนจะขาดแคลน มีปริมาณเพียงพอด้วยซ้ำ
    วันเดียวกัน นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา  “ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยเทคโนโลยี” ว่า ภาคการเกษตรเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจ แม้ว่าสัดส่วนต่อจีดีพีอาจจะไม่สูงมาก แต่จำนวนประชากรในภาคการเกษตรมีมาก จึงมีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาคด้วย โดยที่ผ่านมาพบว่าประชากรในภาคเกษตรของไทยยังประสบปัญหารายได้ต่ำ  หนี้ครัวเรือน การบริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคการเกษตรของไทย
    “การพัฒนาในภาคเกษตรของไทยยังมีอุปสรรค ซึ่งเป็นผลทำให้รายได้ของภาคการเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของโลก การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ไม่ทันสมัย การมีพื้นที่เพาะปลูกที่มากจนเกินไป รวมถึงผลผลิตในภาคเกษตรที่มีมากจนเกินไป ส่งผลกดดันราคาพืชผลทางการเกษตรให้ตกต่ำลงด้วย” นายวิรไทกล่าว
    ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้วิธีการอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร ซึ่งทำให้เสียงบประมาณการคลังโดยใช่เหตุ และเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด โดยยังเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดในระยะยาวอีกด้วย ทำให้ผลผลิตไม่สอดคล้องกับตลาด ดังนั้นประเทศไทยจะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยในระยะสั้นจะต้องดูแลภาคการเกษตรจากปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ ส่วนระยะยาวการเพิ่มผลิตภาพการผลิต การลดต้นทุน ถือเป็นเรื่องสำคัญและช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทยอีกด้วย
    “หลักการที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาของภาคเกษตรจะต้องมองในระยะยาว โดยจะต้องมีการลดต้นทุนภาคเกษตรให้ถูกลง และเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต โดยเฉพาะในอีก 5 ปีข้างหน้าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นเร็วมาก ภาคเกษตรจะต้องปรับตัวให้ทันเหมือนทุกภาคส่วน เพราะการอุดหนุนราคาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน เพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ไม่มีความสามารถในการกำหนดราคาด้านการเกษตร แม้จะมีปริมาณการผลิตอยู่ในระดับสูง  ดังนั้นการลดต้นทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญ” ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"