"หมอธี"ชี้การศึกษาไทยป่วยปางตาย/หวังรร.ประชารัฐช่วยฟื้นสภาพ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

 

 

 

คณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ E5 เดินหน้าเฟส2ขยายอีกขยายโรงเรียนประชารัฐเพิ่มอีก 1,246 โรง ภายในปี 2561 ตามเป้า ร้อยละ 10-15 ของโรงเรียนทั่วประเทศ "ธีระเกียรติ"ชี้การศึกษาไทยป่วยปางตาย เชื่อโรงเรียนประชารัฐช่วยฟื้นได้ ปฎิรูปการศึกษาครั้งนี้สำเร็จ ด้าน "กอบศักดิ์" หวังแนวคิดทำเว็บไซตเกี่ยวกับอาชีพ -จัดทำสมุดพกคุณธรรมอิเลคทรอนิกส์ใช้ประเมินความดีและประเมินคุณสมบัติอันพึงประสงค์ สร้างเด็กพัฒนาประเทศ

 

ที่ศูนย์ปฏิบัติงาน connext ed - มีการประชุมหัวหน้าคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน (E5) โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ หัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชน กล่าวว่า จากความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของการยกระดับการศึกษาของโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) และโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ที่เกิดขึ้น นำโดยรัฐบาลภายใต้แกนนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วน (ภาครัฐ-ประชาสังคม-เอกชน) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต มั่นคง มั่งคั่ง  และยั่งยืน จุดประกายสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทย ผ่านการสนับสนุน โรงเรียนประชารัฐในระยะที่ 1 จำนวน 3,351 โรงเรียน ใน 77 จังหวัด จาก 225 เขตพื้นที่การศึกษา ครอบคลุมนักเรียนจำนวน 749,349 คน และในวันนี้ทุกภาคส่วนได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนา การศึกษา และภาคประชาสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านวิชาการ รวมถึงภาคเอกชน 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ ผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ กลุ่มเซ็นทรัล บมจ. ซีพี ออลล์ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กลุ่มมิตรผลและบมจ.บ้านปู บมจ.ปตท. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บมจ.ปูนซิเมนต์ ไทย บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บมจ.ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยง 10 ยุทธศาสตร์ พร้อมผลักดันแผนพัฒนาด้วยผู้นำรุ่นใหม่ School partner ไปสู่โรงเรียนประชารัฐ จนเห็นผลสัมฤทธิ์สร้างเด็กดี-เด็กเก่งได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งหมดนี้จึงอยากจะขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว ขยายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กไทยทุกคนได้รับความรู้ที่ทั่วถึงและเท่าเทียม ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต ทั้งนี้ในการจัดโรงเรียนประชารัฐระยะที่ 2 จะมีการขยายการสนับสนุนโรงเรียนประชารัฐเพิ่มอีก 1,246 โรง ภายในปี 2561 ซึ่งเป็นเป้าหมาย ร้อยละ 10-15 ของโรงเรียนทั่วประเทศ พร้อมทั้งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และขยายผลความร่วมมือสู่ภาคีในภาคส่วนต่างๆอย่างต่อเนื่อง 

 

ด้านนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาครัฐ กล่าวว่า การศึกษาเกิดภาวะวิกฤตเหมือนสภาพคนไข้ปางตายโดยมีโรงพยาบาลประชารัฐเข้ามาช่วยดูแลทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านโครงการประชารัฐที่เราดำเนินการในระยะแรกประสบความสำเร็จ ซึ่งเชื่อว่าการปฎิรูปการศึกษาที่ศธ.ดำเนินการอยู่ตอนนี้จะฟื้นจากสภาพปางตายได้อย่างแน่นอน ตนเชื่อมั่นว่าการปฎิรูปการศึกษาจะมาถูกทิศทาง

 

ด้านนพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา  กล่าวว่า เราปฎิรูปการศึกษามาแล้วถึง 2 ครั้งแต่ก็พบว่าการศึกษาของประเทศไทยก็ยังไม่ดีขึ้นกลับเลวร้ายลงทั้งความสามารถการแข่งขันกับนานาชาติก็ต่ำ การบริหารจัดการก็ต่ำ เพราะโรงเรียนที่มีอยู่ 32,000 โรงมีมากกว่าครึ่งที่อยู่ในภาวะวิกฤตหนัก ซึ่งความร่วมมือกับประชารัฐและได้ภาคเอกชนชั้นเข้ามาช่วยถือว่ามาถูกทางและน่าจะเห็นผลสำเร็จได้ 

 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เข้ามาดูแลโครงการนี้และร่วมขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาของประเทศให้สำเร็จ เพราะอนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับอนาคตการศึกษาเช่นเดียวกัน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวทำให้เรามีความหวังในการเดินหน้าต่อในระยะที่ 2 ได้ ซึ่งคนมีแนวคิดที่จะทำเว็บไซตเกี่ยวกับอาชีพ เพื่อที่จะทำให้เด็กไทยได้รู้ว่าในอนาคตประเทศไทยเรียนอาชีพอะไรแล้วมีงานทำ และมีรายได้ที่สูง ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในอนาคต รวมถึงเรียนสาขาไหนแล้วมีแนวโน้มจะตกงาน ขณะเดียวกันมีแนวคิดจัดทำสมุดพกคุณธรรมอิเลคทรอนิกส์ใช้ประเมินความดีและประเมินคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของเด็กด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"