นักวิจัยสมุนไพรไทย ค้นพบตำรับยารักษาโควิด ควบคุมแพร่ระบาดในหลายชุมชน

9 เม.ย.2565 - ทีมนักวิจัย แพทย์แผนไทย แพทย์แผนปัจจุบัน และเภสัชกรร่วมแถลงผลงานวิจัยสมุนไพรไทยและเห็ดยา ต้านโควิด-19 และถ่ายทอดบทเรียนการใช้ยาตำรับสมุนไพรเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดและรักษาผู้ป่วยให้ปลอดภัย ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ความก้าวหน้าในการพัฒนาตำรับยาโบราณ

รศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ได้ทำการทดสอบวิจัยตำรับยาสมุนไพรเคอร่าจนเสร็จสิ้น และได้ส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ในหัวข้อเรื่อง KERRA, mixed medicinal plant extracts, inhibits SARS-CoV-2 targets enzymes and Feline corona virus. โดยพบว่าสารสกัดของสมุนไพรตำรับเคอร่า KERRA นั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ขยายตัวของไวรัสโควิด 19 ถึงสองกลไก (ตามปกติแล้วยาแผนปัจจุบันจะมีฤทธิ์ยับยั้งกลไกเดียวเท่านั้น) คือ main protease และ RdRp (RNA-dependent RNA polymerase) โดยมีค่า IC50 คือค่าความเข้มข้นที่ 50% ของการยับยั้ง main protease ที่ 49.91 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นที่ต่ำมาก โดยเมื่อเทียบกับยาต้านไวรัส Lopninavir และ Ritronavir นั้น สารสกัดเคอร่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าถึง 1,543 เท่า และ 468 เท่าตามลำดับ

และเมื่อเทียบกับสารสกัดฟ้าทะลายโจรนั้น พบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าประมาณ 650 เท่าส่วนค่าความเข้มข้นที่ 50% ของการยับยั้งเอนไซม์ RdRp ที่ 36.23ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรเท่ากันนั้น สารสกัดเคอร่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ RdRp สูงกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ประมาณ 371% เก็บตัวอย่างผลการรักษาจากผู้ป่วยจริงและในห้องทดลอง

นพ.รังสรรค์ บุตรชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงผลการวิจัย โดยการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง (Retrospective) ในคนไข้จำนวน 2,476 รายของโรงพยาบาลประชาธิปัตย์และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี จำนวน 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 มีผู้มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไธรอยด์ เก๊าต์ ไวรัสตับอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ ภูมิแพ้ หอบหืด วัณโรค ธาลัสซีเมีย เป็นต้น จำนวน 461 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 333 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.5 พบว่า ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 67 หายป่วยภายใน 7 วัน, หายป่วยภายใน 10 วันคิดเป็นร้อยละ 88 หายป่วยภายใน 30 วัน ร้อยละ 99.92 ส่วนที่หายเกินกว่า 30 วัน หรือมีภาวะลองโควิดคิดเป็นร้อยละ 0.08 โดยไม่พบผู้มีอาการลุกลามที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจ ต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด ส่วนผลข้างเคียงในการใช้ยาพบว่าร้อยละ 99.68 ไม่พบผลข้างเคียง มีรายงานพบมีอาการคล้ายท้องเสี่ย จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.002 ซึ่งอาการจะหายเมื่อหยุดยา อีกทั้งไม่มีรายงานความเป็นพิษต่อตับและไตหรือผลข้างเคียงร้ายแรงอื่น ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 99.68 ยืนยันว่าอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติหลังได้รับยา

ด้าน ดร.ภก.พยงค์ เทพอักษร หัวหน้าศูนย์วิจัยชีวอนามัยตรัง วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และประธานอนุกรรมการด้านวิจัยและบริการวิชาการคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เปิดเผยถึงข้อมูลที่ได้ทำการทบทวนงานวิจัย เปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาของยาชนิดต่างๆที่ใช้รักษาโรคโควิด 19 เช่น ฟาวิพิราเวียร์, ไอเวอร์เมคติน, คอร์ติโคเสตอรอยด์, โมลนูพิราเวียร์, ริโทรนาเวียร์ ฯลฯ พบว่ายาตำรับสมุนไพรเคอร่า นั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์การขยายตัวของไวรัสโควิดที่ดีกว่ายาแผนปัจจุบันหลายชนิดเมื่อเปรียบเทียบผลจากหลอดทดลอง จึงถือเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนและภาครัฐ ในการนำมาใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ต่อไป

ดร.สุวรรณี สร้อยสงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช กล่าวถึงยาสมุนไพรกับการใช้งานในชุมชนว่า ได้ทำการสำรวจชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้ยาเคอร่า เช่น ชุมชนคลองเตย, ชุมชนทุ่งสองห้อง, อบต.คลองใหญ่ จ.นครนายก, รพ.สต.คลองใหญ่ จ.นครนายก,ชุมชนริมทางด่วนบางนา, ชุมชนเคหะลำลูกกา, อบจ.สมุทรสงคราม, มูลนิธิเด็กและเยาวชน, กลุ่มสายไหมต้องรอด, ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจกลาง, ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 (นครสวรรค์) , ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 (ลำปาง) ฯลฯ พบว่า หลังจากที่ชุมชนและหน่วยงานใช้ยาเคอร่า สามารถควบคุมการแพร่ระบาดภายในชุมชนได้ จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง และผู้ที่ป่วยไม่มีอาการลุกลามและหายเป็นปกติโดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษาในระบบ ทั้งนี้ ยาเคอร่า เป็นยาสมุนไพร 100% ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ จากกระทรวงสาธารณสุข ทะเบียนยาเลขที่ G40/57 เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไปผลิตตามมาตรฐาน GMP, HALAL โดยเวชกรโอสถ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 446 ราย ดับเพิ่ม 3 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 446 ราย