สินทรัพย์ดิจิทัล : นโยบายสาธารณะที่ท้าทาย

Justin TALLIS / AFP

1.สินทรัพย์ดิจิทัล 

          สินทรัพย์ดิจิทัล คือสิ่งมีค่าซึ่งแสดงความเป็นเจ้าของในรูปแบบดิจิทัล อาจเป็นสินทรัพย์ทางการเงินและทรัพย์สินที่แท้จริง เช่น งานศิลปะ  คุณสมบัติสำคัญ  (1) Tokenization เกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อแปลงสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ให้เป็นโทเค็นดิจิทัลที่สามารถจัดเก็บ ขาย หรือใช้เป็นหลักประกันได้ (2) บัญชีแยกประเภทหรือบล็อกเชนบันทึกทางคอมพิวเตอร์ที่ไม่เปลี่ยนรูปของการเป็นเจ้าของและการโอนความเป็นเจ้าของ Token (3) การเข้ารหัสซึ่งใช้เทคนิคการเข้ารหัสขั้นสูงเพื่อแน่ใจว่าธุรกรรมในโทเค็นปลอดภัย

 2. แนวคิด DeFi

        พัฒนา Stablecoins เป็นเครื่องมือชำระเงินในสภาพแวดล้อมดิจิทัลใหม่ที่เรียกว่าการกระจายอำนาจทางการเงิน (Decentralized Finance) หรือ DeFi ให้บริการทางการเงินโดยไม่มีตัวกลางแบบรวมศูนย์ ดำเนินการผ่านโปรโตคอลอัตโนมัติบนบล็อกเชน และเหรียญที่มีเสถียรภาพเพื่ออำนวยความสะดวกการโอนเงิน ระบบนิเวศ DeFi  ประกอบด้วย (ก) โปรโตคอลสำหรับการซื้อขาย ให้ยืมและลงทุน และ (ข) เหรียญที่มีเสถียรภาพ (Stablecoins) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่อำนวยความสะดวกการโอนเงินและตั้งเป้าที่จะรักษามูลค่าที่ตราไว้กับสกุลเงินหลัก (fiat) เช่น USD    

3. เปรียบเทียบการให้กู้ยืมแบบปัจจุบันกับ DeFi

                หน้าที่หลักภาคการเงินคือการระดมเงินจากผู้ออม ด้วยต้นทุนระดมที่ต่ำมีประสิทธิภาพได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย  ขณะเดียวกันธนาคารให้เงินกู้ยืมแก่ผู้กู้ทั้งครัวเรือนและบริษัท   ธนาคารจะคัดกรองผู้กู้เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือทางเครดิต เพื่อจัดสรรเงินทุนให้สินเชื่ออย่างดีที่สุด การคัดกรองโดยรวบรวมข้อมูล เช่น รายได้ หรือภูมิหลังทางการศึกษา การประกอบธุรกิจและข้อมูลที่สำคัญอื่น ๆ  สถาบันการเงินในภาคการให้กู้ยืมคือการรวบรวมกลั่นกรองข้อมูล สำหรับผู้กู้ที่ยากต่อการคัดกรอง ผู้ให้กู้อาจต้องการหลักประกันเพื่อค้ำประกันเงินกู้ เพื่อช่วยลดความไม่สมดุลของข้อมูลและแรงจูงใจในการกู้ยืม เช่น ใช้หลักทรัพย์หรือบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ในกรณีผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้สามารถยึดหลักประกันและขายเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย หลักประกันมีบทบาทและเป็นแนวปฏิบัติในการให้กู้ยืมมายาวนาน

             สำหรับแพลตฟอร์ม (Platform) การให้กู้ยืมแบบ DeFi   รวบรวมผู้ออมและผู้กู้ แต่ไม่มีตัวกลาง เช่น สถาบันการเงินดั้งเดิม กิจกรรมเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มบนสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contact) บนระบบบล็อกเชนซึ่งจะจัดการสินเชื่อตามกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ฝากเงินรายบุคคลหรือเรียกว่าผู้ให้กู้ ซึ่งฝากสินทรัพย์ดิจิทัลกับแพลตฟอร์ม จะได้รับอัตราเงินฝาก เช่น 20% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินปกติมาก จึงจูงใจให้มีเงินเข้าสู่ แพลตฟอร์มมาก  อีกด้านหนึ่งผู้กู้จะได้รับโทเค็นการแลกเปลี่ยน (Cryptoasset) เพื่อใช้ลงทุนในสินทรัพย์ และต้องจ่ายอัตราการกู้ยืม อัตราทั้งสองแตกต่างกันไปตาม Cryptoasset และถูกกำหนดโดยความต้องการสินเชื่อและสภาพคล่อง ซึ่งสะท้อนอุปทานของเงินทุน แพลตฟอร์มจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้กู้ยืม กระบวนการนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติทันที

            ความแตกต่างสำคัญระหว่างการให้กู้ยืมใน DeFi และการเงินแบบดั้งเดิม คือ DeFi มีความสามารถในการคัดกรองผู้กู้ที่จำกัด ตัวตนของผู้กู้และผู้ให้กู้ถูกซ่อนอยู่หลังลายเซ็นดิจิทัลที่เข้ารหัสลับ ผู้ให้กู้จึงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล เช่น คะแนนเครดิตของผู้กู้หรืองบกำไรขาดทุน ดังนั้น แพลตฟอร์ม DeFi จึงอาศัยหลักประกันเพื่อจูงใจผู้กู้และผู้ให้กู้ เฉพาะสินทรัพย์ที่บันทึกไว้ในบล็อกเชนเท่านั้น ที่สามารถยืมหรือจำนำ ทำให้ระบบส่วนใหญ่อ้างอิงตนเอง เงินกู้ DeFi ทั่วไปจะถูกเบิกจ่ายในสกุลเงินที่มีเสถียรภาพ ขณะที่หลักประกันประกอบด้วย Cryptoasset

           สัญญาอัจฉริยะกำหนดหลักประกันในแต่ละประเภทหรือส่วนต่างที่กำหนด ผู้กู้หลักประกันขั้นต่ำที่ต้องวางค้ำประกันเพื่อรับเงินกู้ในจำนวนที่กำหนด อัตราการหลักประกันขั้นต่ำมักจะอยู่ระหว่าง 120% ถึง 150% บนแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมหลักและขึ้นอยู่กับการราคาที่คาดหวังและความผันผวนของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ทำหน้าที่เป็นหลักประกัน  เนื่องจากเงินกู้ DeFi ถูกเบิกจ่ายในสินทรัพย์ดิจิทัลและค้ำประกันโดยหลักประกันของสกุลเงินดิจิทัล จึงไม่ให้เงินทุนหรือสินเชื่อสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real Sector) ทั้งนี้แพลตฟอร์มยังได้กำหนด อัตราส่วนการชำระบัญชีไว้ด้วย

4. จุดน่าวิตกของ DeFi

            ช่องโหว่ของ DeFi คือผู้กู้สามารถกู้ (Leverage) ในอัตราที่สูงมาก เช่น 100 เท่าของบัญชีผู้กู้ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนในหลักทรัพย์ทุนปกติ ทั้งนี้แพลตฟอร์มให้ผลตอบแทนการฝากเงินในอัตราสูงมาก ดังที่กล่าว เช่น ร้อยละ 20 ทำให้สามารถมีแหล่งเงินสนับสนุนการให้กู้ยืมใน Leverage ที่สูงมากและสนับสนุนให้มีการเก็งกำไรสูงและมีส่วนทำให้เกิดกรณี LUNA  และ Terra ล่ม  ช่วงโหว่ของ DeFi และปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ทางการของประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มที่ไม่สนับสนุนและ/หรือหาวิธีการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่ามีการป้องกันเสถียรภาพทางการเงินที่เพียงพอ รวมทั้งเพิ่มการจัดการหาวิธีคุ้มครองผู้ลงทุนและระแวดระวังกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย   ดังนั้น DeFi ในประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มจะเป็นการเงินที่เป็นการรวมศูนย์ไม่มากก็น้อยแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งขัดกับหลักของ DeFi ที่จะเป็นตัวกลางแบบไม่มีการรวมศูนย์

  • การควบคุมของทางการประเทศต่าง ๆ

            ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับทั่วโลกกำลังพัฒนากรอบการทำงานที่จะสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงและโอกาสอย่างรอบคอบ เนื่องจากเทคโนโลยี โมเดลธุรกิจ และแนวทางปฏิบัติทางการตลาดเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดี DeFi ยังมีศักยภาพในการเสริมกิจกรรมทางการเงินแบบดั้งเดิม แม้ปัจจุบันใช้งานในภาคการผลิตจริง (Real Sector) เล็กน้อย ส่วนใหญ่รองรับการเก็งกำไรในสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้สินทรัพย์ดิจิทัลสามารถสนับสนุนให้บริการทางการเงิน การค้าและการชำระเงินข้ามพรมแดนและกิจกรรมตลาดทุน สามารถลดเวลาชำระบัญชีจาก 2 ถึง 3 วัน เหลือน้อยกว่า 10 นาที และค่าธรรมเนียมการโอนจากร้อยละ 6 ของมูลค่าการโอน เหลือน้อยกว่าร้อยละ 1  การทำ Letter of Credit จาก 5 ถึง 10 วัน เหลือน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนตลาดทุนลดเวลาชำระธุรกรรมหลักทรัพย์จาก 2 วันเหลือน้อยกว่า 30 นาที (Ravi Menon , Sep 2022)

  • สินทรัพย์ดิจิทัลกับนโยบายสาธารณะ

           Digitalisation ทำให้เกิดความท้าทายมากในมุมมองนโยบายสาธารณะ นอกเหนือจากความกังวลแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับการฟอกเงินและการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย  โดยมีคำถามที่ต้องการคำตอบที่ลึกซึ้งอีกมาก เช่น เจ้าหน้าที่ทางการเงินต้องการให้คนถือเงินประเภทไหน จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างไรบ้างธุรกิจธนาคารในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะปรับตัวอย่างไร หน่วยงานกำกับและกฎระเบียบที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ บุคลากรที่ดูแลเท่าทันตลาดหรือไม่ และจะเตรียมการให้ความรู้ผู้เล่นในตลาดอย่างไร รวมทั้งบทบาทของเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ในโลกดิจิทัลจะเป็นอย่างไร ล้วนเป็นนโยบายสาธารณะที่สำคัญและท้าทายมากช่วงต่อไป

สมศักดิ์  วงศ์ปัญญาถาวร

มูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.เอ้ ตั้งเป้า 1 หมื่นชื่อจัดตั้ง 'องค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ'

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ “ดร.เอ้” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. กล่าวว่า การจัดตั้ง “องค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ” ได้

‘รัฐบาล - ก.ล.ต.’ ยกระดับหน่วยงานกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล

“รัฐบาล-ก.ล.ต.” ประกาศความสำเร็จ “ยกระดับหน่วยงานเชี่ยวชาญเฉพาะกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล” ตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางระดมทุนในภูมิภาค

'แก้วสรร' ออกบทความ 'แจกเงินดิจิตอล : สินบนเลือกตั้ง???'

'แก้วสรร' ออกบทความด่วน แจกเงินดิจิตอล : สินบนเลือกตั้ง? ตั้งคำถาม กกต. น่าจะไต่สวนให้ละเอียดว่า โครงการเป็นสินบนเลือกตั้ง หรือนโยบายงี่เง่าโดยสุจริตเท่านั้น