สุดใจหาย! สิ้น 'สมบัติ เมทะนี' ปิดตำนานพระเอกตลอดกาล

18 ส.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วงการบันเทิงสูญเสียอีกครั้ง "สมบัติ เมทะนี" ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ.2559 พระเอกตลอดกาลได้เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 85 ปี ส่วนรายละเอียดทางครอบครัวจะชี้แจงสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้ง 

สำหรับ สมบัติ เมทะนี เกิด 26 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ฃ ชื่อเล่น แอ๊ด ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี 2559 นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ผู้ชนะเลิศรางวัลตุ๊กตาทองและรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นอกจากนี้ กินเนสบุ๊คยังบันทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลก โดยแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง

สมบัติ เมทะนี เป็นบุตรของนายเสนอ เมทะนี กับนางบุญมี เมทะนี เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของแม่ แต่เมื่ออายุได้เพียง 7 วัน ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่แยกสะพานอ่อน ใน ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ตามพ่อซึ่งเป็นข้าราชการกรมรถไฟ

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นจึงทำงานครั้งแรกที่บริษัทเอส ซี จี เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทน แต่เมื่อฐานะการเงินของบริษัทไม่ดี จึงลาออกมาเพื่อหางานอื่นทำ ระหว่างนี้จึงได้เข้าศึกษาต่อระดับอนุปริญญาที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายและเข้าเกณฑ์ทหาร 6 เดือน พ้นเกณฑ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 จึงออกหางานทำ โดยตั้งใจว่าจะรับราชการ ระหว่างที่เดินหางานอยู่นั้น ได้เข้าสู่วงการบันเทิงโดยบังเอิญ เมื่อเป็นที่ถูกตาของแมวมองแถวโรงภาพยนตร์คิงส์-ควีนส์ ย่านวังบูรพา เพราะมีรูปร่างสูงใหญ่ โดยเป็นพระเอกละครโทรทัศน์ทันทีทางช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5 ในปัจจุบัน) คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช ซึ่งเป็นนางเอกภาพยนตร์ชื่อดังก่อนแล้ว โดยมีสุพรรณ บูรณะพิมพ์ นักแสดงรุ่นพี่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแสดง

ส่วนชีวิตครอบครัวของ สมบัติ เมทะนี สมรสกับ กาญจนา เมทะนี (ตุ๊) เมื่อปี พ.ศ. 2502 มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรชาย 4 คน ธิดา 1 คน คือ สิรคุปต์ เมทะนี (อั๋น), เกียรติศักดิ์ เมทะนี (อั้ม), ศตวรรษ เมทะนี (เอ้), พรรษวุฒิ เมทะนี (อุ้ม) และ สุดหทัย เมทะนี (เอ๋ย)

ซึ่งสมบัติกับกาญจนา ทั้งคู่รู้จักกันในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกันและสมรสกันก่อนที่สมบัติจะเข้าสู่วงการบันเทิงเสียอีก

ต่อมาสมบัติ เมทะนีได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ จากสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ และระดับปริญญาโท-เอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

นอกจากนี้แล้ว สมบัติ เมทะนี ยังเป็นนักแสดงที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่า เป็นผู้ที่นิยมเล่นเพาะกาย โดยเล่นมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เนื่องจากมีพ่อเป็นนักกีฬา ชอบเล่นกีฬาหลายประเภททั้ง รักบี้, ฟุตบอล, มวย

วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติได้มติคัดเลือกศิลปินแห่งชาติประจำปี 2559 ซึ่งสมบัติได้รับการเสนอชื่อให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์-ละครโทรทัศน์)

เริ่มเข้าวงการบันเทิง จากการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง หัวใจปรารถนา เป็นเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช หลังจากแสดงละครโทรทัศน์อยู่ 4 เรื่องจึงหันไปแสดงภาพยนตร์ เรื่องแรก รุ้งเพชร คู่กับ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง พ.ศ. 2504

ผลงานแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม. พากย์สด ถึง ยุคภาพยนตร์สโคป 35 มม.เสียงพากย์ในฟิล์มและซาวด์ออนฟิล์ม(บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ) เช่น เกียรติศักดิ์ทหารเสือ, ศึกบางระจัน, จุฬาตรีคูณ, เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง, กลัวเมีย, ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ

เคยกำกับภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ลูกสาวกำนัน, แม่แตงร่มใบ และ น.ส.ลูกหว้า

เคยปรากฏตัวพิเศษเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์ชุดทางทีวีครั้งแรกครั้งเดียว ใน ผู้หญิงก็มีหัวใจ นำแสดงโดย สุมาลี ทองหล่อ, ฉันทนา ติณสูลานนท์, สุระ นานา ผลงานของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล พร้อมมิตรภาพยนตร์ ช่อง 7 สี พ.ศ. 2511

ในช่วงที่ได้รับความนิยมถึงขีดสุด เคยรับงานแสดงพร้อมกันมากถึง 28 เรื่อง

เป็นนักร้อง มีผลงานอัดแผ่นเสียงอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ จุฬาตรีคูณ, เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ วิวาห์พาฝัน เป็นต้น

งานการเมือง ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับ 6 จากที่ต้องการ 18 คนด้วยคะแนน 53,526 เสียง แต่ก่อนที่จะได้เข้าตำแหน่งก็มีการทำรัฐประหารก่อน ต่อมาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 โดยเป็นตัวแทนฝ่าย สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน

ต่อมาเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาราช โดยได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 6 สังกัดพรรคประชาราช ลำดับที่ 1แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 102 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง 

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ สืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย

10 เม.ย. 2567 - ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดพิธีรดน้ำขอพรแสดงมุทิตาจิตแด่ศิลปินแห่งชาติ และผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

รวมพลังศิลปินวาดภาพ'กรมสมเด็จพระเทพฯ'

ศิลปินทั่วฟ้าเมืองไทยรวมพลังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเทิดพระเกียรติองค์’วิศิษฎศิลปิน’  ด้วยความน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

อธิบดี สวธ. เยี่ยม2ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ที่ จ.นครราชสีมา ให้กำลังใจสร้างงานวัฒนธรรม

21 มี.ค.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) พร้อมด้วย นางพรนิภา บัวพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการศิลปินแห่งชาติฯ นางสาวศิวพร

เผยแพร่ผลงาน 8 ศิลปินแห่งชาติ

กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศผลโครงการและกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ประจำปี 2567 โดยมีโครงการของศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขา ได้รับการสนับสนุนเผยแพร่งานมาสเตอร์พีซและมีชื่อเสียง ได้แก่ โครงการ "นิทรรศการบ้านคำปุน"

‘เบิร์ด ธงไชย’ ซึ้ง! เผยความในใจผูกพันหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม จัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด 130 รอบ

ความรู้สึกเหมือนได้กลับมาบ้านหลังใหญ่อันอบอุ่นและสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะชื่อของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดอยู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมายาวนานกว่า 16 ปี