อดีตรองอธิการฯมธ.งัดกฎหมายแนะ'กวิ้น'อยากได้ประกันตัวให้ดู'หมอลำแบงค์'เป็นตัวอย่าง


เพิ่มเพื่อน    

21 เม.ย.64-  รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่านาย กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ ของเพนกวิน ทนายความคณะก้าวหน้าและทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า เพนกวินขอปฏิเสธที่จะร่วมอยู่ในขบวนการพิจารณาคดี และขอถอนทนายความออกจากการพิจารณาคดี ด้วยเหตุผลว่า ไม่ได้รับโอกาสตามสิทธิที่จะหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว 

มารดาของเพนกวินก็ยังคงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง ให้เหตุผลว่าเพนกวินสุขภาพไม่ดี เป็นโรคหอบหืด เมื่ออดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และได้ยื่นเงื่อนไขว่าหากได้รับการปล่อยตัว จะนำเพนกวินเข้ารักษาตัวในโรงพยายาลที่เพนกวินมีความสบายใจ และสามารถจำกัดบริเวณไม่ให้ออกไปนอกเขตโรงพยาบาล เมื่อสุขภาพดีเหมือนเดิมแล้ว ศาลจะสั่งให้กลับมาจำคุกต่อก็ได้

ศาลอาญายังคงยกคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิน ด้วยเหตุผลเดิมคือ ยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม 

ในขณะที่ เพจของราษฎร วานนี้ได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ และมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ ช่วยกันเตือนศาลให้ทำตามกฎหมาย”  ประหนึ่งว่า การที่ศาลยกคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพนกวิน เป็นการไม่ทำตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าแบบไม่ยอมเข้าใจเสียทีว่า กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งยังไม่สิ้นสุด ศาลต้องอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในทุกกรณี โดยไม่ต้องมีการวินิจฉัยใดๆ

ตรงข้าม กฎหมายได้ระบุหลักเกณฑ์ให้ศาลวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลยไว้อย่างชัดเจน

ในที่นี้ จึงต้องขอนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 และ 108/1 มาให้ดูกันอีกครั้งดังนี้

  มาตรา ๑๐๘ ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ
(๑) ความหนักเบาแห่งข้อหา               
(๒) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(๓) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(๔) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(๕) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(๖) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(๗) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

มาตรา ๑๐๘/๑ การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้               
(๑) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(๒) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(๓) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(๔) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(๕) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

 ที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย ศาลจะต้องวินิจฉัยตามกรอบนี้ นั่นคือตามมาตรา 108 และ 108/1 เช่นมีพยานหลักฐานที่ปรากฏค่อนข้างชัด และเชื่อว่าอาจจะหลบหนี หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประเภทอื่น ซึ่งก็คือการไปทำผิดตามมาตรา 112 และ 116 อีก ตามที่ทนายความให้สัมภาษณ์ เพนกวินมีคดีเฉพาะตามมาตรา 112 ร่วม 20 คดีแล้ว 

ดังนั้นการที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 108 และ 108/1 ด้งกล่าว ไม่ใช่ไม่ทำตามกฎหมายแต่อย่างใด

ความจริง เมื่อนึกถึงหลักมนุษยธรรม ก็ยอมรับว่าอยากให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพนกวินเหมือนกัน แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วยวิธีอดอาหารประท้วง แต่ต้องด้วยวิธีใดก็ตามที่จะทำให้ศาลเชื่อว่า จำเลยจะไม่ออกไปทำผิดอีก และจะไม่หลบหนี เช่นเดียวกับที่หมอลำ แบงค์ที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้ว 

ตัวอย่างกรณีของหมอลำแบงค์ แสดงว่าการขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวไม่ใช่เรื่องยาก เพียงอย่ามุ่งแต่จะเอาชนะคะคาน ลดทิฐิลง อย่าทำตามความต้องการของนักการเมืองบางกลุ่ม บางคน เพราะเขาไม่ได้มาร่วมติดคุกด้วย 

การต่อสู้เพื่อให้ประเทศดีขึ้น สังคมดีขึ้น ไม่ต้องใช้วิธี หมิ่น ล้อเลียน และย่ำยีองค์พระมหากษัตริย์ และไม่จำเป็นต้องยกเลิกประมาลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่มีเรื่องอื่นๆที่ทำได้มากมาย หากมีความหวังดีต่อประเทศชาติจริง
อย่าได้ลืมว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แสดงเจตนาชัดว่า จะไม่ยืนอยู่ข้างฝ่ายที่ต้องการล้ม หรือจะเรียกว่าปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตาม ดังนั้นถ้าเปลี่ยนภารกิจมาเป็นการค้นหาความบกพร่องในการทำงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมไปถึงการขุดคุ้ยหาข้อมูล การทุจริตคอรัปชั่น(หากมี) รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภา โดยไม่ต้องรอให้บทเฉพาะกาลหมดอายุลง รับประกันว่า จะได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นมากมาย

นี่เป็นความเห็นที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และอยู่บนพื้นฐานของความไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียที่ไม่ควรจะเกิด และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเกิดด้วยประการทั้งปวง.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"