ย้อนรอยคดียาเสพติดนักการเมือง'ธรรมนัส-ป.เป็ด-พ่อเลี้ยงณรงค์'ความเหมือนที่แตกต่าง


เพิ่มเพื่อน    


6 พ.ค.64- จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สมาชิกภาพส.ส.ของร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่สิ้นสุดลงตามคำร้องของ พรรคก้าวไกล  เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญยกอํานาจอธิปไตย การใช้อำนาจตุลาการย่อมต้องไม่ตกอยู่ในอาณัติหรือภายใต้อำนาจตุลาการของรัฐอื่น คำพิพากษาของศาลออสเตรเลียไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายไทย  

ทั้งนี้คำร้องของพรรคก้าวไกลได้อ้างถึง พิพากษาศาลอุทธรณ์ของ รัฐนิวเซาท์เวลส์ และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยมีความเห็นว่า การต้องคำพิพากษาให้จำคุกในต่างประเทศจะต้องใช้กับประเทศไทยด้วย

ขณะที่นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  เคยระบุไว้ว่ากรณีการต้องโทษของ ร.อ.ธรรมนัส ไม่เกี่ยวกับศาลไทย ซึ่งการจะได้รับการล้างมลทินต้องเป็นผู้ที่ถูกลงโทษตามกฎหมายไทยเท่านั้นไม่เกี่ยวกับความผิดในศาลต่างประเทศ แต่ต้องดูว่า พฤติกรรมอย่างนั้นเข้าข่ายเป็นพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือไม่ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันนี้ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องความรับผิดชอบทางการเมือง เป็นคนละเรื่อง

มีการยกกรณีนายทนง ศิริปรีชาพงษ์ หรือ‘ป.เป็ด’ นักธุรกิจรพันล้านบาท เจ้าของโรงแรมชื่อดัง ‘ลิตเติ้ล ดั๊ก’ จ.เชียงราย เป็น อดีตส.ส.นครพนม พรรคชาติไทย เปรียบเทียบว่านายทนง ถูกศาลสหรัฐสั่งจำคุก และพ้นจากส.ส. ขึ้นมาเปรียบเทียบกับกรณีร.อ.ธรรมนัส  รวมทั้งกรณี นายณรงค์ วงศ์วรรณ  อดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม  แต่พบว่า 3 กรณีนี้มีความแตกต่างกัน

กรณีนายทนง นั้นเมื่อปี 2537 หน่วยปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา( ดีอีเอ) ตั้งข้อกล่าวหากับนายทนง ว่า พัวพันกับการค้ายาเสพติดข้ามชาติมายาวนานถึง 17 ปี ค้ายาเสพติดประเภทกัญชาหนักประมาณ 47 ตัน มีการสั่งการอายัดทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ในสหรัฐฯรวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท

วันที่ 6 พ.ค. 2537 สภาผู้แทนราษฎรเปิดประชุมพิจารณาวาระเร่งด่วน ขับนายทนงออกจากสมาชิกพรรคชาติไทย แต่พรรคชาติไทยยืนยันว่านายทนง ถูกเล่นงานทางการเมือง อย่างไรก็ตามวันรุ่งขึ้นนายทนง ประกาศลาออกจากส.ส. โดยพรรคชาติไทยตั้งกรรมการสอบเรื่องพัวพันยาเสพติด

ขณะที่ศาลท้องถิ่นเขตเหนือในรัฐแคลิฟอร์เนีย เปิดเผยพยานหลักฐานระบุว่า นายทนง มีส่วนพัวพันกับการค้ายาเสพติดเข้าสหรัฐฯ และประสานงานกับทางการไทยเพื่อขอให้ส่งตัวนายทนง รวมทั้งภรรยา ไปขึ้นศาลสู้คดีที่สหรัฐฯ

กระทั่งวันที่ 14 ธ.ค. 2537 ศาลไทย มีคำสั่งไม่ส่งตัวนายทนงให้กับศาลสหรัฐฯ และจะขอเป็นผู้ตัดสินคดีในเบื้องต้นเอง หากพบว่ามีความผิดจริงจะพิจารณาส่งตัวตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน และต้นปี 2538 ศาลอาญาออกหมายจับนายทนง และยื่นคำร้องให้ควบคุมตัวไว้ในระหว่างการไต่สวนคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน

เมื่อศาลออกหมายจับ มีกระแสข่าวว่านายทนง หลบหนีไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน สุดท้ายเข้ามอบตัว  กระทั่งวันที่ 28 ธ.ค. 2538 ศาลไทย พิพากษาจำคุกนายทนง 18 ปี  และกระทรวงการต่างประเทศแจ้งให้สหรัฐฯรับตัวนายทนงไปพิจารณาคดีที่สหรัฐ  โดยศาลแคลิฟอร์เนีย พิพากษาจำคุกนายทนง 40 เดือน คุมประพฤติเป็นเวลา 5 ปี 

ส่วนกรณีนายณรงค์ วงศ์วรรณ   ได้เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง  ระหว่างแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2535 นักข่าวจากสิงคโปร์ได้สอบถามเรื่องที่นายณรงค์ มีชื่ออยู่ในบัญชีดำ ผู้มีส่วนพัวพันการค้ายาเสพติดของสหรัฐอเมริกา แม้นายณรงค์จะปฏิเสธ แต่ก็กลายเป็นกระแสไปทั่วโลก

มาร์กาเร็ต ทัตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในขณะนั้น ตอบคำถามทำไมสหรัฐอเมริกาปฏิเสธวีซ่าของณรงค์ ว่า วีซ่าของนายณรงค์ถูกปฏิเสธเมื่อ ก.ค. 1991 ตามมาตรา 212(2)(C) ของ พ.ร.บ. ที่ว่าไม่สามารถออกวีซ่าให้คนต่างด้าวที่สถานกงสุลหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบหรือสงสัยว่าขนของผิดกฏหมายไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม หรือสงสัยว่าให้การช่วยเหลือ หนุนหลัง หรือสมรู้ร่วมคิด ในการขนของผิดกฏหมาย

3 กรณีนี้มีความแตกต่างกันในรายละเอียด กรณีของร.อ.ธรรมนัส  หากถูกศาลไทยวินิจฉัยเช่นเดียวกับกรณีของนายทนง ร.อ.ธรรมนัส จะหลุดจากตำแหน่ง 100% โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ส่วนกรณีนายณรงค์ยังไม่มีคำสั่งศาลใดๆออกมา แต่พลาดเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะถูกกระแสสังคมบีบ สุดท้ายพล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"