New Jobber ของรัฐ ความหวังฝ่าวิกฤตปากท้องยุคโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ตลาดแรงงานซบเซา และหลายบริษัทต้องปิดตัวลงอย่างกะทันหัน ทำให้เด็กจบใหม่จำนวนมากซึ่งถือเป็นความหวังของครอบครัวต่างประสบปัญหาว่างงาน

 

โควิด-19 ทำให้การหางานเป็นเรื่องยากมาก จะเข้าไปหางานทำในกรุงเทพก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้และเงินเดือนก็คงไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต เมื่อไม่มีงานความหวังในการดูแลครอบครัวก็ดูเป็นเรื่องที่ไกลออกไป” เสียงสะท้อนจาก น.ส.ฐิติกานต์ วงศ์คำ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย บอกเล่าถึงชะตากรรมที่นักศึกษาจบใหม่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญในช่วงสถานการณ์โควิดเช่นนี้

 

เมื่อรัฐบาลจัดโครงการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ซึ่งร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและเยียวยาเด็กจบใหม่ที่คาดว่าจะมีจำนวนกว่า 4.7 แสนคนในปี 2564 ฐิติกานต์จึงตัดสินใจเข้าสมัครงานในโครงการพลังงานร่วมใจ สร้างงาน พัฒนาชุมชน ของกระทรวงพลังงาน ในส่วนที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดูแล เนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

 

ฐิติกานต์ วงศ์คำ ผู้เข้าร่วมโครงการ

 

สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นการจ้างงานระยะสั้น 12 เดือน ตั้งแต่ปลายปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่รอบเขื่อนและโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 13 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 2,500 อัตรา สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาวุฒิ ปวส. ปริญญาตรี แบบไม่จำกัดสาขา แต่ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่ กฟผ. เปิดรับสมัคร ทำให้มีความเข้าใจในบริบทของท้องถิ่นได้บ้านเกิดเป็นอย่างดี และมีความหลากหลายของทักษะวิชาชีพ อาทิ ช่าง วิศวกร นักบัญชี นักการตลาด นิติกร นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาการเกษตร

 

เด็บจบใหม่ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมให้ความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีผสมผสานการเกษตรยุคดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจร การทำเกษตรกรรมตามแนวทางศาสตร์พระราชา ตลอดจนหลักการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อติดอาวุธลับทางปัญญาในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

ในแต่ละวัน น.ส.รัชดาภรณ์ ใจคำ และเพื่อน ๆ ที่เข้าร่วมโครงการพลังงานร่วมใจ สร้างงาน พัฒนาชุมชนที่ กฟผ. แม่เมาะ จ.ลำปาง จะลงพื้นที่ใน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของคนในชุมชน  ข้อมูลการเพาะปลูก เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนส่งเสริมกิจการชุมชนผ่านนวัตกรรมพลังงานและเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ในการบริหารจัดการยกระดับศักยภาพการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ เกิดธุรกิจใหม่ที่ชุมชนเป็นเจ้าของ สร้างรายได้อย่างมีผลกำไร ทุกคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

รัชดาภรณ์ ใจคำ ผู้เข้าร่วมโครงการ

 

รัชดาภรณ์ เปิดใจว่า รู้สึกโชคดีที่ได้รับโอกาสเข้ามาทำงานในโครงการพิเศษนี้ เพราะนอกจากทำให้มีรายได้มาช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวแล้ว ยังเป็นงานที่ได้ใกล้ชิดกับคนในชุมชนบ้านเกิดมากยิ่งขึ้นและได้พัฒนาชุมชนของตนเอง อีกทั้งจะช่วยสร้างทักษะจากประสบการณ์ทำงานจริงเพื่อต่อยอดการทำงานใหม่ในอนาคตอีกด้วย

 

 

โครงการพลังงานร่วมใจ สร้างงาน พัฒนาชุมชนในส่วนของ กฟผ. เมื่อนับรวมกับการจ้างงานคนในชุมชนรอบเขตเขื่อน โรงไฟฟ้า และพื้นที่ใต้แนวสายส่ง ซึ่ง กฟผ. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอีกกว่า 6,000 คน จึงไม่เพียงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างในประเทศกว่า 400 ล้านบาท แต่ยังมีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมกิจการชุมชนให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชน และสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจของชุมชนเพื่อชุมชนได้อย่างยั่งยืน เมื่อเศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังโควิดก็จะเป็นไปด้วยความราบรื่นมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"