เปิด 11 รายชื่อรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี64 “ประทิน” ครู วท.พังงา ได้รับเลือกเป็นคนที่ 4 ของไทย


เพิ่มเพื่อน    


20 พ.ค.64 -ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) - ได้มีการจัดแถลงข่าวครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 บทบาทความเป็น “ครู” ในยุคโควิด-19 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมแถลงข่าว
         
โดยนายกฤษณพงศ์ กล่าวว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ และมีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาในประเทศอาเซียนและติมอร์ เลสเต รวม 11 ประเทศประเทศละ 1 รางวัล โดยจัดมอบรางวัลในทุก 2 ปี และเพื่อถวายเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักการศึกษา โดยความร่วมมือของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ศธ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องสำหรับครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี มาจากการคัดเลือกของ ศธ.ในอาเซียนและติมอร์-เลสเตทั้ง 11 ประเทศ จะมีคุณสมบัติเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษาประเทศละ 1 คน ซึ่งจะมีการคัดเลือกสุดยอดครู 2 ปีครั้ง เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัล ประกอบด้วย เหรียญรางวัลประกาศนียบัตร โล่ เข็มเชิดชูเกียรติทองคำ และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ โดยมีกำหนดพิธีพระราชทานรางวัล ในวันที่ 29 ต.ค.นี้ ซึ่งครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2564 มีประวัติที่น่าสนใจดังนี้
         
1. บรูไน ดารุสซาลาม เปองีรัน ฮาจี โมฮัมหมัด วาฮับ บิน เปองีรัน ฮาจี อับดุลละฮ์ สอนวิชาศิลปะการประกอบอาหาร ที่ School of Hospitality and Tourism, IBTE Sultan Saiful Rijal Campus สายอาชีพ 2. กัมพูชา นายณอน ดารีสอนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียน Quach Mengly Toulbeng, จังหวัด Kampong Cham 3. อินโดนีเซีย  น.ส.คอรีอิยะฮ์สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา SMP Negeri 32 Bandar Lampung จังหวัด Lampung 
4. สปป ลาว นางแสงเพ็ด คูนปะเสิด หัวหน้าวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนมัธยมศึกษาอุดมไซ (Oudomxay) สอนวิชาฟิสิกส์และพัฒนาหลักสูตรการสอนในระดับ ม.ปลาย 5. มาเลเซีย นายโนร์ฮาอิลมี อับดุล มูตาลิบ สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษา SMK Jerlun รัฐเคดาห์ ครูต้นแบบการสอน STEM ศึกษาระดับประเทศ ได้รับการเสนอให้เป็น “Master Trainers for Inquiry-Based Science” ในระดับประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6. เมียนมา นายจอร์ซิน ออง ครูผู้ช่วยสอนอาวุโส (Senior Assistant Teacher) และสอนภาษาอังกฤษที่  No.8 Basic Education Middle School เมืองลาโชว์ รัฐฉาน 7. ฟิลิปปินส์ นายมาเซโล ที โอทินเควท หัวหน้าครูในระดับพื้นที่ 5 โรงเรียน Governor Bado Dangwa Agro-Industrial, Kapangan, Benguet
8. สิงคโปร์  นายหยก จูน เม็ง หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษและสังคม โรงเรียนประถมศึกษา Yu Neng
9. ติมอร์-เลสเต นายวีเซ็นเต มาร์กัล ดา ซิลวา ผู้อำนวยการและสอนภาษาอังกฤษ–โปรตุเกส โรงเรียน Ensino Central Tirilolo Baucau (The Central Basic School of Tirilolo Baucau Vila)
10. เวียดนาม  น.ส.ฮ่า หัน เฟื่อง สอนวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมัธยมศึกษา Huong Can จังหวัด Phu Tho 11. ไทยน.ส.ประทิน เลี่ยนจำรูญ สอนวิชาการตลาดและเศรษฐศาสตร์ ระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคนิค (วท.)พังงา จังหวัดพังงา
         
นายกฤษณพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ โดยครูที่ได้รับรางวัลคุณากร ปี 2564 จำนวน 3 ราย คือ น.ส.กล่อมจิต ดอนภิรมย์ ร.ร.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ นางสุมิตรากลิ่นบุบผา ร.ร.บ้านหนองแดน สาขาบ้านโละโคะ จ.กำแพงเพชร และนายสิทธิชัย จันทร์คลาย ร.ร.บ้านไทยสามัคคีจ.สระแก้ว ทั้งนี้ สามารถดูรายชื่อครูที่ได้รับการคัดเลือกได้ที่ เว็บไซด์ www.PMCA.or.th
          
ด้านนางสาวตรีนุช กล่าวว่า ตนได้เห็นประวัติการทํางานของคุณครูผู้ได้รับการเสนอชื่อ ทําให้รู้สึกประทับใจในความทุ่มเท เสียสละของคุณครูทุกท่าน ไม่ว่าลูกศิษย์จะมีต้นทุนชีวิตที่ต่างกันอย่างไร แต่ครูมองเห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่ ภายในลูกศิษย์ และสามารถสร้างให้เป็นบุคลากรท่ีมีคุณภาพของสังคมข้ึนมาได้ และบทบาทของความเป็นครูในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่กําลังระบาดระลอกที่ 3 เป็นโจทย์ท่ีท้าทาย อย่างยิ่งที่นอกจากจะต้องคํานึงถึงการเรียนรู้ของลูกศิษย์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางเศรษฐกิจสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และความปลอดภัยของผู้เรียนแล้ว ก็ยังต้องดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเพื่อนครู ด้วยกันอีกด้วย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ตนมีความห่วงใยผ่านมาทางเพื่อนครู คือ เรื่องของปรากฎการณ์ความรู้ถดถอยของผู้เรียน หรือ Learning Loss ที่กําลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย อันเป็นผลมาจากการใช้มาตรการการจัดการศึกษาเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการปิดโรงเรียน

"ดิฉันจึงอยากฝากแนวคิดเรื่องการจัดการศึกษาภายใต้หลักความปลอดภัย ของครูในยุคโควิด-19 ไว้ 4 ประการ คือ 1.ครูจะต้องหมั่นสํารวจความพร้อมของผู้เรียน เพื่อวัด learning lossและดําเนินการเติมเต็มช่องว่างการเรียนรทู้หายไปไม่ว่ารูปแบบใดๆที่เป็นการเพิ่มเติมการเรียนรู้ของ ผู้เรียน 2.การหมั่นสํารวจสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของผู้เรียนและเพื่อนครูด้วยกัน เช่นเดียวกับ 3. การ ติดตามข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับมือ และ 4.การให้ความสําคัญกับความ ปลอดภัยในใช้ชีวิตและการเดินทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อความปลอดภัยจากการระบาดของเชื้อ และ เพื่อให้โรงเรียนรู้ข้อมูลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อออกแบบแนวทางแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทั้ง 4 ประการนี้จะเกิดขึ้นได้ โรงเรียนต้องมีอิสรภาพในการบริหารจัดการภายในโรงเรียน เพื่อออกแบบการ เรียนรู้ที่ยืดหยุ่นตามบริบทสถานการณ์ในพื้นที่"รมว.ศธ.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"