นักวิทยาศาสตร์มีคำตอบ!!ทำไม?? การ์ตูนทอม&เจอร์รี่..แมวแพ้หนูทุกที


เพิ่มเพื่อน    

สำหรับคอหนังการ์ตูนตั้งแต่ยุคเบบี้บูมเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักการ์ตูนทีวีซีรีส์ของ Metro-Goldwyn-Mayer (MGM) ว่าด้วยการชิงไหวชิงพริบระหว่างแมวกับหนูในเรื่อง “ทอมแอนด์เจอร์รี” และใครที่เป็นแฟนคลับของหนังการ์ตูนชุดนี้ เคยตั้งข้อสังเกตหรือสงสัยไหมว่า ทำไมเจ้าหนูตัวเล็กกระจิ๊ดริดอย่างเจอร์รี่นั้น หนีพ้นกรงเล็บของเจ้าแมวที่ชื่อทอมได้ตลอดเวลา แถมเอาคืนพี่เหมียวแบบเจ็บแสบทุกครั้ง

 

             

เรื่องราวแมวจับหนู หรือแมวไม่อยู่หนูร่าเริงนี้ สร้างโดย ฮานา-บาร์เบรา ในสังกัดการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เคยเปิดเผยว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากการแข่งขันในชีวิตจริงของแมวและหนู ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์ก็มีคำตอบมาเฉลยว่า ในชีวิตจริงนั้น หนูสามารถผลิตสารเคมีขับเหงื่อ ที่ทำให้แมวสับสนและปล่อยให้พวกมันหนีจากเงื้อมมือของนักล่า แม้จะมีขนาดใหญ่กว่าและมีไหวพริบดีกว่าก็ตาม

             

จากการวิจัยล่าสุดจากคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียพบว่า “เมื่อหนูถูกแมวจับได้พวกมันจะผลิตแลคโตน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้แมวสับสน และทำให้หนูสามารถวางแผนการหลบหนีได้ ซึ่งคล้ายกับการที่หญ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกยืนต้นตระกูลมิ้นต์ หรือหญ้าแมว(หญ้ากัญชาแมว) ที่มีสารเนเปทาแลคโตน ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย สามารถไล่สิ่งต่างๆได้ ที่สำคัญสารดังกล่าวมีคุณสมบัติระงับประสาทนั่นเอง” เมื่อเมื่อแมวเดินไปสัมผัสกับหญ้าดังกล่าว มันจะแลบลิ้นเลียที่บริเวณอุ้งเท้าของตัวเอง หรือ บางครั้งก็เคี้ยวหญ้าที่มีน้ำมันหอมระเหย นั่นจึงทำให้แมวรู้สึกง่วงนอนและนอนหลับปุ๋ย

             

 

ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารเคมีแลคโตนในหญ้า มักจะทำงานในลักษณะคู่ขนาน และทำให้แมวเริ่มขี้เล่นกับหนูในบางครั้ง และลืมสัญชาตญาณที่เป็นนักล่าของมันไปชั่วขณะ  ที่น่าสนใจนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่า อันที่จริงแล้วหนูมีวิวัฒนาการ จากการสร้างสารเคมีแลคโตน จากการที่มันขับเหงื่อออกมา ส่วนหนึ่งเพื่อเอาตัวรอดจากการที่ถูกแมวขย้ำ

           

  

ศ.เบนจามิน ฮาร์ท” หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า “หนูผลิตสารแลคโตนในผิวหนังซึ่งจะถูกขับออกมาเมื่อหนูเครียด” ซึ่งเขาได้ตั้งสมมติฐานว่า หนูมีวัฒนาการในการเปลี่ยนแปลง หรือสับเปลี่ยนให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่ชื่อแลคโตน ที่มีลักษณะคล้ายกับสารเนเปทาแลคโตนที่พบได้ในต้นหญ้าตระกูลมิ้นต์

             

แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้นั้นสารเคมีที่ผลิตได้จากความเครียดของหนู และพบได้ในหญ้าแมวข้างต้น อาจใช้ได้กับเฉพาะแมวบ้านหรือแมวเลี้ยงเท่านั้น นอกจากนั้นกล่าวได้ว่าแมว 1 ใน 3 ตัว ไม่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีไล่แมว ที่หนูปล่อยออกมาแต่อย่างใด ดังนั้นหนูจำเป็นต้องวิ่งให้ไวกว่าเดิม หรือเรียนรู้ที่จะพัฒนาเพิ่มปริมาณของเหงื่อที่สามารถทำให้แมวเคลิ้มให้มากขึ้นเช่นกัน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"