ประชาชนเหมือนถูกเท! ดร.อาทิตย์ ชำแหละยับรัฐบาลล้มเหลวจัดหา-จัดการวัคซีนโควิด 19 อย่างสิ้นเชิง


เพิ่มเพื่อน    

แฟ้มภาพ

31 พ.ค.64 - ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตประธานรัฐสภา โพสต์ข้อความเกี่ยวกับวัคซีนโควิด19 โดยมีเนื้อหาดังนี้

#รัฐบาลล้มเหลวในการจัดหาและจัดการวัคซีนโควิด19อย่างสิ้นเชิง

รัฐบาลล้มเหลวทั้งในการควบคุมป้องกันไม่ให้ภัยโควิด 19 เข้ามาระบาดในประเทศไทย และ ยังล้มเหลวในการจัดหาและจัดการวัคซีน 19 มาฉีดให้แก่ประชาชนอย่างสิ้นเชิง

ในด้านการควบคุมป้องกันไม่ให้โควิด 19 เข้ามาระบาดในประเทศ รัฐบาลและข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐบกพร่อง หย่อนยาน ปล่อยปละละเลย โกงกินทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด และชะล่าใจ จนทำให้ภัยโควิด 19 เข้ามาระบาดทั่วประเทศถึง 3-4 รอบ

ในด้านการจัดหาจัดการวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชนก็ล้มเหลวเช่นเดียวกัน

รัฐบาลมีหน้าที่ต้องจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพมาฉีดให้แก่ประชาชนทุกคนหรืออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 70% ของประชากรทั้งหมดฟรี โดยรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี 2564 ในเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ เนื่องจากโรคระบาดโควิด 19 ได้เข้ามาตั้งแต่มกราคม 2563 แล้ว

ถ้าประชากรประเทศไทยมีประมาณ 65 ล้านคน และชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศอีก 5 ล้านคน

รวมเป็น 70 ล้านคน รัฐบาลต้องขวนขวายเตรียมการจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพเชื่อถือได้มาฉีดให้แก่ประชาชนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคน หรือ 100 ล้านโดส ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด ตั้งแต่ต้นปี 2564 เดือนมกราคมและให้เสร็จสิ้นไม่เกินเดือนมิถุนายน

แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลเริ่มฉีดให้แบบกระปิดกระปอยในเดือนเมษายน และมีข่าวตลอดมาว่าจะเริ่มมีวัคซีนที่ผลิตในประเทศล็อตแรกออกมาได้ในวันที่ 7 มิถุนายน ประมาณ 6 ล้านโดส และเดือนต่อๆไปอีกเดือนละประมาณ 10 ล้านโด้ส จนถึงธันวาคม จะได้ทั้งหมด 60 ล้านโด้ส

ซึ่งจำนวนวัคซีนทั้งหมดดังกล่าวที่รัฐบาลเตรียมการจัดหาไว้ก็ยังไม่เพียงพอ และล่าช้ากว่าความต้องการมาก

อีกประการหนึ่ง รัฐบาลควรต้องคำนึงว่า หากเกิดเหตุสุดวิสัยใดใดที่โรงงานผลิตในไทยซึ่งยังไม่มีประสบการณ์ผลิตวัคซีน

ควรต้องมีแผนสำรองฉุกเฉินไว้ด้วย

กำหนดการ 7 มิถุนายน ชัดเจนเป็นที่รับทราบและเตรียมการกันทั่วไปว่า ประชาชนจะได้ฉีดวัคซีน Astra Zeneca แต่เมื่อใกล้ถึงเวลา รัฐบาลกลับพูดจาไม่รู้เรื่องพลิกลิ้นไปพลิกลิ้นมาว่า ไม่ใช่ "7 มิถุนายน" แต่เป็น "ในเดือนมิถุนายน" 

จึงเป็นที่ฉงนสงสัยกันทั่วไปว่า เหตุใดและทำไมรัฐบาลจึงไม่จัดหา หรือไม่สามารถจัดหาวัคซีนหลากหลายยี่ห้อมาไว้ให้เพียงพอและรวดเร็วกว่านี้ และทำไมไทยจึงเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่ได้รับการจัดสรรช่วยเหลือวัคซีนจาก Covax 

อีกทั้งมีข่าวว่าประเทศอื่นได้สั่งวัคซีนไว้เหลือใช้เกินความต้องการมากมายและต้องการโละทิ้ง เช่น ฮ่องกง มี  Pfizer แคนาดา และสหรัฐอเมริกา มี Astra Zeneca หากเราขวนขวายจริง ก็สามารถให้กระทรวงการต่างประเทศติดต่อขอซื้อจากทั่วโลกได้

เมื่อราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สามารถจัดซื้อวัคซีน Sinopharm เพิ่มเติมเข้ามาได้ เพื่อให้องค์กรทั้งรัฐเและเอกชนนำไปฉีดแก่ประชาชนและบุคลากรในสังกัดในราคาทุนได้ เหตุใดรัฐบาลจึงไม่จ่ายเงินให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำไปซื้อวัคซีนดังกล่าวมาฉีดให้ประชาชนฟรี

ในขณะที่การระบาดและการเสียชีวิตของประชาชนเพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อน ระเบียบวิธีการบริหารจัดการฉีดวัคซีนของรัฐก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ยิ่งเพิ่มความสับสนวุ่นวายให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก บวกกับความกลัววัคซีนเข้าไปด้วย ประชาชนจึงมีความเครียดกังวลกันทั่วไป

ประชาชนมีความรู้สึกเหมือน "ถูกเท"

รัฐบาลควรต้องมีแผนงาน การบริหารจัดการที่ชัดเจน โปร่งใส ไม่ฉ้อฉล ให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น เหมือนกับหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"