‘ธปท.’ชี้ไทยซมพิษโควิดยาว อ่วมมาตรการคุมระบาดฉุดศก.


เพิ่มเพื่อน    

 

31 พ.ค. 2564 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. มีการทบทวนสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่มีความรุนแรง และอาจส่งผลให้การเปิดประเทศทำได้ล่าช้าออกไป โดยปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากเดิมที่คาดว่าจะกลับสู่ช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 อยู่ที่ไตรมาส 2-3/2565 ล่าช้าออกไปเป็นไตรมาส 1/2566

ทั้งนี้ ในเดือน มิ.ย. 2564 ธปท. จะมีการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทยใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะในปี 2565 ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาในหลายปัจจัย ทั้งในแง่วัคซีนป้องกันโควิด-19 และการกระจายวัคซีน สถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ดังนั้นจะต้องพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและมุมมองในอนาคตที่สุด

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน เม.ย. 2564 เริ่มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอก 3 ของโควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้างวด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อภาคครัวเรือนได้บางส่วน ส่วนเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงจากเดือนก่อน ตามการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดระลอก 3 โดยการลงทุนหมวดก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นจากทั้งยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง

ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขยายตัวที่ 19.1% โดยอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวส่งผลให้การส่งออกปรับดีขึ้นในหลายหมวดสินค้า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ สินค้าเกษตร และสินค้าเกษตรแปรรูป ส่วนการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการส่งออกช่วยพยุงให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนก่อนในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ไม่รวมทองคำที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามการนำเข้าหมวดเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางอื่น ๆ ทรงตัวในระดับสูงสอดคล้องกับการส่งออกที่ฟื้นตัว

นางสาวชญาวดี กล่าวอีกว่า ในส่วนการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายลงทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในระยะเดียวกันปีก่อนที่มีการเร่งเบิกจ่ายภายหลัง พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2563 ประกาศใช้ โดยการใช้จ่ายภาครัฐยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง สะท้อนถึงบทบาทในการพยุงเศรษฐกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของไทยที่ยังมีอยู่ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้น เนื่องจากมาตรการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปาเพื่อบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชนสิ้นสุดลง ประกอบกับราคาพลังงานที่ต่ำในระยะเดียวกันปีก่อน ด้านตลาดแรงงานยังเปราะบาง และได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพอิสระ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงกว่าสกุลเงินคู่ค้าคู่แข่งส่วนใหญ่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"