บีโอไอลุยไอเดียดัน 4 เขตเศรษฐกิจใหม่ครบทุกภาค มั่นใจช่วยหนุนอีอีซี


เพิ่มเพื่อน    

 

4 มิ.ย. 2564 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  เปิดเผยถึงนโยบายการผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่อีก 4 แห่ง ใน 4 ภาค คือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี)ว่า การส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 แห่ง จะไม่กระทบกับการดึงดูดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) แน่นอน เนื่องจากศักยภาพของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน จะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันมากกว่า รวมทั้งช่วยเป็นฐานการผลิตสินค้าเสริมให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในอีอีซี เช่น วัตถุดิบต้นน้ำ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ และธุรกิจโลจิสติกส์ที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้ซัพพายเชนโดยรวมเข้มแข็งขึ้น

นอกจากนี้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 แห่ง จะช่วยให้เกิดการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง สร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมให้เกิดศูนย์กลางด้านต่างๆ ในหลายพื้นที่ ไม่มากระจุกอยู่ที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และอีอีซีเท่านั้น รวมทั้งยังเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วย

ทั้งนี้หากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ศึกษาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เป้าหมายการพัฒนา แนวทางการขับเคลื่อน และวิธีการบริหารจัดการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่งแล้วเสร็จ บีโอไอจะนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่สอดคล้องกับศักยภาพและอุตสาหกรรมเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ โดยจะส่งเสริมการลงทุนในลักษณะคลัสเตอร์ เพื่อจูงใจผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติให้เข้ามาลงทุนและช่วยพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ เช่น ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ อาจเน้นให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และธุรกิจดิจิทัล  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร ขณะที่ภาคกลาง-ตะวันตก อาจเน้นด้านอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี เพื่อเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และปริมณฑล และพื้นที่อีอีซี  ส่วนภาคใต้ อาจเน้นการแปรรูปสินค้าเกษตรมูลค่าสูง และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน

“เมื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว สศช. บีโอไอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงต้องร่วมกันวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่ง ไม่ว่าจะเป็นระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค นิคมอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้า การดูแลสิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ไปจนถึงการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นด้วย โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ คือ ทุกจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่ง ต้องมีความร่วมมือที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายและทิศทางการทำงานร่วมกัน มีการบูรณาการทรัพยากร มีเจ้าภาพแต่ละเรื่องที่ชัดเจน และที่สำคัญคือ การทำให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาด้วย”นายนฤตม์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เขตเศรษฐกิจใหม่ที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ผลักดันล่าสุด คือ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (เอ็นอีซี) ประกอบด้วยเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง) , พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เอ็นเอ็นอีซี) ประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และหนองคาย , พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก (ซีดับเบิลยูอีซี) ประกอบด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) ประกอบด้วยจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"