เมื่อผ่อนไม่ไหวทำอย่างไร นี่คือ เทคนิคการบริหารจัดการหนี้ ที่ควรรู้


เพิ่มเพื่อน    

ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยจากการระบาดของเชื้อโรคโควิด-19  ระลอกที่ 3  ส่งผลให้หลายคนประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง หนี้สินเริ่มกลายเป็นภาระที่จัดการไม่ได้ 

ดังนั้นใครที่กำลังประสบปัญหาการจัดการหนี้  นี่คือ เคล็ดลับเบื้องต้นในการจัดการหนี้ และอย่าปล่อยให้เป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตในอนาคต

และนี่คือ เทคนิคการบริหารจัดการหนี้ จากกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์

เทคนิคการบริหารจัดการหนี้หลายก้อน

1. จัดการรวมหนี้ทั้งหมดให้เป็นก้อนเดียว
เพื่อหลีกเลี่ยงการที่มีใบเรียกเก็บยอดเล็กๆ น้อยๆ หลายๆ ใบ ในแต่ละเดือน ทำให้เราต้องเสียค่าธรรมเนียมการชำระเงินตามแต่ละช่องทางจำนวนหลายครั้ง ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นอีก ทั้งรวมหนี้ทั้งหมดให้เป็นก้อนเดียวจะช่วยให้เราบริหารจัดการหนี้ได้ง่ายกว่า

2. ชำระหนี้ก้อนที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน
การชำระหนี้ก้อนที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน จะทำให้หลุดพ้นการเป็นหนี้ได้เร็วขึ้น เพราะเมื่อเงินต้นเหล่านี้ลดลงดอกเบี้ยที่จ่ายก็ลดลงและถ้าหากมีหนี้นอกระบบร่วมด้วย ต้องรีบพยายามหาวิธีปิดหนี้นอกระบบนั้นให้หมดโดยเร็วเป็นอันดับแรกเพราะดอกเบี้ยสูงกว่าหนี้ประเภทอื่น

3. ชำระหนี้ให้ตรงเวลา
ควรชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการติดตามทวงถาม หากลืมชำระ หรือชำระล่าช้า ซึ่งจะเกิดค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น นอกเหนือจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของยอดหนี้ที่จะต้องถูกเรียกเก็บอยู่แล้ว นอกจากนี้ ถ้าจ่ายตรงตามกำหนด มีประวัติการจ่ายชำระดีอาจจะได้รับการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ย หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ จากเจ้าหนี้ได้

4. ชำระหนี้ให้มันมากกว่ายอดเรียกเก็บเงินขั้นต่ำ
ในแต่ละเดือนจะมีการเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้ด่างๆ ซึ่งเราจะต้องชำระหนี้อย่างน้อยที่สุดตามยอดเรียกเก็บขั้นต่ำ หากคำนวณแล้วพบว่าสามารถชำระหนี้ขั้นต่ำได้ครบทุกใบ และยังพอมีเงินเหลือควรนำเงินส่วนนั้นไปจ่ายชำระหนี้ให้มากกว่ายอดเรียกเก็บขั้นต่ำ เพราะเงินที่จ่ายชำระส่วนเพิ่มขึ้นนั้น จะทำให้ยอดเงินต้นลดลงดอกเบี้ยน้อยลงและหมดหนี้ไวขึ้น

5. รู้จักประหยัด และลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
การรู้จักประหยัดและเลือกใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น จะทำให้เรามีเงินเหลือเพิ่มในกระเป๋าได้ และควรจะเลิกหรือลดการใช้จ่ายมีฟุ่มเฟือย เช่น การซื้อเสื้อผ้าแพงๆ การกิน ดื่ม เที่ยว เป็นต้น

6. อย่าสร้างหนี้ก้อนใหม่ขึ้นมาอีก
ถ้าหากหนี้ก้อนเดิมยังชำระไม่หมด และยังเป็นภาระอยู่ก็อย่าสร้างหนี้ก้อนใหม่เพิ่มเติม นอกเสียจากว่าจะนำหนี้ก้อนใหม่มาจ่ายหนี้ก้อนเก่าให้หมด โดยหนี้ก้อนใหม่จะต้องมีดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเท่านั้น

7. ถ้าชำระหนี้หมดแล้ว  ให้เปลี่ยนมาเก็บเงิน
ถ้าหากว่าเราใช้หนี้หมดแล้ว ควรจะนำเงินส่วนที่เราเคยกันเอาไว้ชำระหนี้ มาเปลี่ยนเป็นเงินเก็บแทนเพื่อเพิ่มความพร้อมทางการเงิน เผื่อในอนาคตจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน จะได้ไม่ต้องกลับไปสู่วังวนของการเป็นหนี้อีก
ส่วนกรณีที่ไม่สามารถที่จะจัดการหนี้ที่มีอยู่ได้

อีกแนวทางหนึ่ง ก็คือ การเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ สถาบันการเงินโดยตรง ซึ่งในขณะนี้ทาง ธปท. ก็ยัง เปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน เปิดให้ลงทะเบียน 14 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มิถุนายน 2564 (คลิก)

โดยหลักการของมหกรรมนี้ คือ การไกล่เกลี่ยให้ลูกหนี้สามารถ เดินหน้าในการใช้ชีวิตต่อ และสามารถจัดการหนี้ที่ตัวเองมีอยู่ ซึ่งข้อเสนอ คือ พักดอกเบี้ย และจ่ายเฉพาะเงินต้น หรือยอดระยะเวลาการผ่อนออกไป  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  

ขณะเดียวกันในกลุ่มสินเชื่อเช่าชื่อรถยนต์ ธปท. ก็มีการเปิดให้ลงทะเบียน  มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อ เปิดให้ลงทะเบียน 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2564 (คลิก) สามารถกดอ่านเงื่อนไขเพิ่มเติม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"