รับมือ ‘อาการไม่พึงประสงค์’ หลังฉีดวัคซีน สังเกตตัวเองก่อนไปพบแพทย์


เพิ่มเพื่อน    

11 มิ.ย. 2564  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนอีกแห่งที่สนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลฯ รวมถึงประชาชนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ที่ได้ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อม ได้เปิดเผยข้อแนะนำในการสังเกตตัวเองและข้อปฏิบัติเมื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนได้เกิดความมั่นใจ โดย นพ. อชิรวินทร์ จิรกมลชัยสิริ  หัวหน้าศูนย์ข้อมูลวัคซีนโควิด-19, หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม, แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

คุณหมอระบุว่า อาการแพ้วัคซีนนั้นแยกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. การแพ้วัคซีนรุนแรง (anaphylaxis) 2. ผลข้างเคียงของวัคซีน (side effects) หรือ 3. อาการเป็นลม (vasovagal syncope) ที่อาจเกิดจากความเครียด เจ็บปวด ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติหยุดทำงานชั่วคราว จนเกิดอาการหน้ามืด ใจสั่น เป็นลม หมดสติได้ โดยมีวิธีสังเกตอาการ และวิธีปฏิบัติตัว ดังนี้

1. ภาวะแพ้วัคซีน เป็นปฏิกิริยาของร่างกายผ่านระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 มักเกิดขึ้นภายในเวลา 15-30 นาทีหลังรับวัคซีน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดคือ ผื่นคันคล้ายลมพิษ อาจมีอาการบวม นอกจากนี้อาการที่พบร่วมกันได้แก่ หายใจเหนื่อย แน่นหน้าอก ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ หมดสติ โดยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นหลายระบบพร้อมกัน ซึ่งจำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาลด้วยการให้ยาฉีดที่เป็น Adrenaline หรือ Epinephrine แล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในเวลา 24 ชั่วโมง

2. ผลข้างเคียงของวัคซีน มักจะเกิดขึ้นหลังฉีดไปหลายชั่วโมง จนถึง 3 วัน อาการที่เกิดขึ้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด อาการมักหายไปเองได้ โดยไม่ต้องให้การรักษา หรือรักษาตามอาการ แต่หากมีอาการปวดมาก อาจประคบด้วยความเย็นบริเวณที่ฉีดวัคซีน แล้วให้ยาแก้ปวดพาราเซตตามอล

3. อาการเป็นลม เป็นอาการหน้ามืดที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายหรือจิตใจอ่อนแอ เช่น คนป่วย อดนอน หิว หรืออยู่ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน แสงแดด ความเครียด ความวิตกกังวล ยืนเป็นเวลานาน เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้าซีด เหงื่อแตก ความดันโลหิตลดต่ำลงและเป็นลมหมดสติได้ โดยภาวะดังกล่าวสามารถหายได้เอง หากได้พักผ่อน อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี และไม่มีความจำเป็นต้องได้ยารักษา

ในกรณีที่ผู้มาฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วมีผลข้างเคียงหรือแพ้เล็กน้อยแบบไม่รุนแรง สามารถรับวัคซีนเข็มที่สองได้ตามกำหนด ไม่มีข้อห้ามในการรับฉีดวัคซีนเข็มต่อไป แต่สำหรับกรณีที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วมีอาการแพ้ชนิดรุนแรง (anaphylaxis) แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีนเข็มที่สอง เพื่อหาสาเหตุว่าอาการแพ้ชนิดรุนแรงเกิดจากอะไร และปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สองเป็นอีกยี่ห้อที่มีส่วนผสมที่ต่างจากวัคซีนเข็มแรก ซึ่งสาเหตุที่แพ้วัคซีนชนิดรุนแรงมักเกิดจากส่วนประกอบที่มีอยู่ในวัคซีน ที่พบบ่อยคือ Polyehtylene glycon (PEG)  ซึ่งวัคซีน/ยาที่มีส่วนประกอบของ PEG ได้แก่ วัคซีนชนิด mRNA vaccine (Pfizer หรือ Moderna)  ยาฉีด methylprednisolone ยาคุมชนิดฉีด (Depo-Provera) ยาระบาย miralax หากมีประวัติแพ้รุนแรงต่อกลุ่มนี้ อาจให้วัคซีนกลุ่มอื่น เช่น Sinovac vaccine เพราะไม่มีส่วนผสมเหล่านี้อยู่ อีกส่วนประกอบอื่นในวัคซีนที่อาจแพ้ คือ polysorbate ซึ่งมีรูปร่างคล้าย PEG ทำให้อาจพบการแพ้ร่วมกันได้ (cross-reactivity) ซึ่งวัคซีนที่มีส่วนประกอบของ polysorbate ได้แก่ ตับอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนปอดบวม วัคซีนโควิด -19 ของ AstraZeneca, Sputnik-V, Johnson & Johnson

หากพบว่ามีอาการรุนแรงหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรรีบพบแพทย์ทันที หรือรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์ข้อมูลวัคซีนโควิด-19 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 1378


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"