'บุรีรัมย์' อ่วมเจอโรคลัมปี สกิน ระบาดหนักทั้ง 23 อำเภอ วัวป่วย 8,397 ตัว ตาย 346 ตัว


เพิ่มเพื่อน    

จ.บุรีรัมย์ พบการระบาดของโรคลัมปี สกินในโคกระบือ ทั้งจังหวัด 23 อำเภอ โคป่วยสะสม 8,397 ตัว ตาย 346 ตัว ปศุสัตว์รุกให้ความรู้เกษตรกร ป้องกันและกำจัดโรค ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค พร้อมเตรียมเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติและประกาศเขตช่วยเหลือเยียวยา เพื่อชดเชย เยียวยากรณีสัตว์ตายด้วยโรคระบาด

12 มิ.ย.64 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์การเกิดโรคระบาดในวัว คือ โรคลัมปี สกิน หรือชาวบ้านบางคนเรียกว่า โรคฝีดาษวัว พบว่า มีวัวของเกษตรกรเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว กระจายอยู่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ ทั้ง 23 อำเภอ ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคนี้ ส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของประชาชน และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์

ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ รายงานว่า จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนเกษตรกร รวมรายฟาร์ม 140,015 ราย จำนวนสัตว์รวม 536,069 ตัว จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อรวม 65,320 ราย จำนวนโคเนื้อรวม 393,309 ตัว จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือรวม 23,745 ราย จำนวนกระบือรวม 135,975 ตัว จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รวม 189 ราย จำนวนโคนม รวม 6,785 ตัว

ส่วนสถานการณ์โรคลัมปี สกีน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ขณะนี้พบการแพร่ระบาดทั้งจังหวัด 23 อำเภอ ข้อมูล ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2564 เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 6,032 ราย มีจำนวนโคป่วยสะสม 8,397 ตัว รักษาหายป่วยแล้ว 519 ตัว ตายรวม 346 ตัว สัตว์ป่วยคงเหลือ 7,532 ตัว ในพื้นที่ 23 อำเภอ 188 ตำบล

ด้าน ปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้ปศุสัตว์แต่ละอำเภอลงพื้นที่สำรวจ และรายงานเข้ามา เพื่อที่จะสรุปข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้งโดยเฉพาะจำนวนสัตว์ที่ป่วยหรือเสียชีวิต  ในส่วนการช่วยเหลือเฉพาะหน้า เพื่อป้องกัน ควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่รักษาพยาบาลสัตว์ป่วย การอบรมให้ความรู้เกษตรกร, การจัดกิจกรรม Kick off รณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และการฉีดพ่นยากำจัดแมลงพาหะ การสนับสนุนเวชภัณฑ์ สารกำจัดแมลงและอื่นๆ ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในทุกท้องที่ ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ประกาศเขตโรคระบาดทั้งจังหวัด ควบคุมการเคลื่อนย้ายโคกระบือ ลดการแพร่เชื้อโรค การปิดตลาดนัดโค กระบือ

ขณะเดียวกัน เตรียมเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประกาศเขตภัยพิบัติและประกาศเขตช่วยเหลือเยียวยาเพื่อชดเชย เยียวยากรณีสัตว์ตายด้วยโรคระบาด ซึ่งจะเริ่มเปิดให้เกษตรกรยื่นคำขอหลังจากการประกาศเขตภัยพิบัติ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานและอัตราการชดเชยตามจริงแต่ไม่เกินรายละ 2 ตัว เป็นเงินสด ผ่านบัญชีเงินฝากเกษตรกร

สำหรับอัตราเงินชดเชยรายได้ให้เกษตรกรเจ้าของโค กระบือ ตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัว เป็นเงินสดผ่านบัญชีเงินฝากเกษตรกร สัตว์อายุ น้อยกว่า 6 เดือน โคจ่ายเงินเยียวยา 6,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 8,000 บาทต่อตัว จ่ายตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัวต่อราย, อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา12,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 14,000 บาทต่อตัว, อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 16,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 18,000 บาทต่อตัว, อายุมากกว่า 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 20,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 22,000 บาทต่อตัว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"