“สรรพสามิต” ยอมถอยรีดภาษีก๊าซคาร์บอนฯ จากน้ำมัน หวั่นกระทบค่าครองชีพ


เพิ่มเพื่อน    

“สรรพสามิต” ยอมถอยรีดภาษีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่ม หลังสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย เหตุราคาน้ำมันในตลาดพุ่ง ดันราคาขายปลีกในประเทศขยับเพิ่ม หวั่นสร้างภาระประชาชนมีค่าครองชีพกระฉูด

รายงานข่าวจากกรมสรรพสามิต ระบุว่า แนวทางการหารือกับกระทรวงพลังงานเพื่อขอจัดเก็บภาษีก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (ซีโอทู) กับน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งเบนซิน ดีเซล แอลพีจี เอ็นจีวี และแก๊สโซฮอลที่จำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ คงต้องชะลอออกไปก่อน เพราะไม่ต้องการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในตอนนี้ให้มากจนเกินไป เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลังอยู่ช่วงขาขึ้น ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศปรับเพิ่มตาม และอาจกระทบต่อการปรับค่าครองชีพอื่นตามมา ทั้งราคาสินค้า ค่าโดยสารเดินทางของประชาชน ดังนั้นหากมีการเก็บภาษีซีโอทูเพิ่ม จะเป็นการซ้ำเติมให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นไปอีก

ส่วนข้อเสนอให้กระทรวงพลังงาน ลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากเชื้อเพลิงที่ใช้ภายในประเทศ หรือใช้เงินจากกองทุนน้ำมันมาจ่ายภาษีคาร์บอนฯ แทน เพื่อไม่ให้สร้างภาระแก่ผู้บริโภคนั้น คงทำได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากล่าสุดกระทรวงพลังงานเพิ่งมีมติให้ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาช่วยอุดหนุนดูแลราคาน้ำมันดีเซลในประเทศไม่ให้ขายเกินลิตรละ 30 บาท รวมถึงดูแลค่าก๊าซหุงต้มให้ปรับลดราคาลงมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาคครัวเรือนด้วย ดังนั้นการจะเพิ่มภาระโดยนำเงินจากกองทุนฯมาจ่ายภาษีคาร์บอนฯนั้นจึงเป็นเรื่องยาก

อย่างไรก็ตามในอนาคตเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ มีความเหมาะสม และราคาน้ำมันลดต่ำลง กรมสรรพสามิตอาจต้องนำเรื่องดังกล่าวกลับมาพิจารณาร่วมกับกระทรวงพลังงานอีกครั้ง เพราะที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงการเป็นภาคีสมาชิกกับนานาชาติในการร่วมลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้แล้ว ซึ่งไทยจะต้องร่วมลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตามอัตราที่กำหนด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้น้อยลง เพราะถือเป็นตัวกลางที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ
ทั้งนี้ ในส่วนการศึกษาจัดเก็บภาษีซีโอทูกับสินค้าอื่น ๆ นั้น กรมสรรพสามิตยังเดินหน้าศึกษาตามปกติ เช่น รถจักรยานยนต์ คาดว่าจะมีการเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มคันละ 150-250 บาท ซึ่งถือว่าไม่มาก และไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มราคาขายปลีกรถจักรยานยนต์ และทำให้ผู้บริโภค ผู้มีรายได้น้อยได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากผู้ผลิตอาจเลือกรับภาระภาษีไว้เอง

“การศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าปัจจุบันรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในประเทศ 80% เป็นรถจักรยานยนต์มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 150 ซีซี มีราคาขายปลีกประมาณ 30,000-50,000 บาทต่อคัน ซึ่งมีภาระภาษีสรรพสามิต 750-1,250 บาทต่อคัน แต่หากมีการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.5% ของราคาขายปลีก หรือมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 150-250 บาทต่อคันเท่านั้น” รายงานข่าว ระบุ

อย่างไรก็ดี กรมสรรพสามิตมีการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ ตามหลักการความฟุ่มเฟือย โดยแบ่งประเภทของอัตราภาษีตามขนาดความจุของกระบอกสูบ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม และจะส่งผลดีต่อการสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบอุตสาหกรรมในประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"