ทีมสธ.โยนลูกการบริหารจัดการวัคซีนขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่


เพิ่มเพื่อน    

13 มิ.ย.64 -  นพ.เกียรติภูมิ   วงษ์รจิต   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข   พร้อมด้วย นพ.โอภาส   การย์กวินพงศ์   อธิบดีกรมควบคุมโรค  ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์  ขณะเดินทาง มาร่วมติดตามผลการควบคุมโรคและการฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)  ที่จังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อชี้แจงกรณีที่มีการโพสต์ในโซเชียล หรือบาง รพ.หลายแห่งประกาศว่า จะหยุดการให้วัคซีนในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ 

  โดย นพ.เกียรติภูมิ   กล่าวว่า    กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดหาวัคซีนมาไว้ที่องค์การเภสัชกรรม หรือกรมควบคุมโรค  เมื่อได้รับวัคซีนแล้วก็จะมีวิธีการกระจายวัคซีนตามเป้าหมาย  ที่ ศบค.ได้วางแผนเอาไว้  โดยเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 4 เดือนจะให้ประชาชนไดรับวัคซีนเข็มแรกได้ 60 -70 เปอร์เซ็นต์ หรือครบก่อนเดือน ก.ย.64  แล้วเดือน ต.ค. ก็พอจะมีภูมิ และจะได้เปิดประเทศได้ในเวลาถัดไป  ซึ่งนอกจากในแต่ละเดือนแล้ว ยังมีการแบ่งเป็นรายสัปดาห์ เนื่องจากในช่วงแรกวัคซีนที่สามารถจัดหามาได้ มีข้อตกลงเพราะว่าไม่แน่ใจจะสามารถฉีดวัคซีนได้มากน้อยแค่ไหน  แต่หลังจากที่ทดลองไปแล้วพบว่า ช่วง ก.พ.-พ.ค. มีศักยภาพมาก   

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า  อย่างไรก็ตาม วัคซีนที่จะมาในเดือน มิ.ย.64  ก็จะมีน้อยกว่าเดือน ก.ค. – ส.ค. และ ก.ย.   ทางกระทรวงก็มีแผนในการบริหารจัดการกระจายวัคซีนไว้แล้ว   โดยรูปแบบก็จะพยายามจัดสรรนอกจากจะเป็นรายเดือนแล้ว ก็จะมีการจัดสรรเป็นรายสัปดาห์ หรือราย 2 สัปดาห์ ด้วย    เพื่อให้วัคซีนที่ได้รับไปเกิดประโยชน์สูงสุด   ซึ่งตามแผนของ สบค.ก็จะมีการจัดสรรวัคซีนให้กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นส่วนใหญ่ เพื่อกระจายให้กับจังหวัดต่างๆ ใน 76 จังหวัด  โดยทาง ศบค.จะเป็นผู้กำหนดยอดในการจัดสรรวัคซีนให้แต่ละจังหวัด  แล้วแต่ละจังหวัดเมื่อได้ยอดแล้วก็จะไปจัดสรรภายในจังหวัดของตัวเอง  ซึ่งตนเองก็ได้ให้นโยบายไปยังทางจังหวัด และอำเภอให้มีการจัดการกับวัคซีนที่ได้รับให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  เพราะวัคซีนจะทยอยได้รับมาไม่ใช่ได้มาทีเดียวจำนวนมากเป็นรายสัปดาห์บ้าง  2  สัปดาห์บ้างก็แล้วแต่กรณี  ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็ต้องบริหารจัดการให้เกิดความสอดคล้องกับจำนวนวัคซีน และผลลัพธ์ ว่าประชาชนได้รับวัคซีนตามเป้าหมายเพียงใด

นพ.เกียรติภูมิ ระบุว่า    ส่วนก้อนที่สองจัดสรรให้กับกรุงเทพมหานคร ส่วนที่สาม คือให้กับกองทุนประกันสังคม  ส่วนที่สี่คือให้กับ 11 มหาวิทยาลัย   และส่วนที่ห้าจัดสรรให้กับองค์กรภาครัฐต่างๆใน กทม.  ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรเหล่านี้ที่ได้รับจัดสรรวัคซีนไป  จะต้องดำเนินการจัดสรรแจกจ่ายให้กับเครือข่ายในองค์กรของตัวเอง  และดำเนินการฉีดวัคซีนให้บุคลากร หรือประชาชนภายในระยะเวลาที่กำหนด  ยกตัวอย่างเช่น กทม. ซึ่งได้รับการจัดสรรวัคซีนในเดือนนี้ประมาณ 1 ล้านโด้ส  ขณะนี้จัดสรรให้ไปประมาณ 5 แสนโด้สแล้วในช่วง 2 สัปดาห์แรก   ซึ่งทาง กทม.ก็จะต้องวางแผนกำหนดเป้าหมายในการจัดสรรแจกจ่ายให้กับหน่วย องค์กรในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของตัวเองให้เกิดความพอเพียง และเกิดประสิทธิภาพ  ซึ่งที่จังหวัดอื่นๆ ก็จะมีลักษณะคล้ายกัน

ด้านนพ.โอภาส  ระบุว่า   ทาง ศบค.ตั้งสมมุติฐานว่า ในเดือน มิ.ย. จะได้รับวัคซีน 6.3 ล้านโด้ส  โดยจะจัดสรรวัคซีนให้กับกลุ่มต่างๆ ตามที่ท่านปลัดกระทรวงได้ชี้แจงไป  อย่างเช่น จังหวัด และ กทม.  กองทุนประกันสังคม ก็จะได้ประมาณ 1 ล้านโด้ส  11 มหาวิทยาลัยได้ 5 แสน องค์กรภาครัฐใน กทม.ได้ 120,000 โด้ส  และไว้ใช้ยามฉุกเฉินอีกประมาณ 300,000 โด้ส  อันที่สองในส่วนของกรุงเทพมหานคร ก็จะได้รับจัดสร 1,160,000  โด้ส   ส่วนอีก 76 จังหวัด จะได้ 3,220,000   แต่หากวัคซีนไม่ได้มาตามเป้า หรือมีการระบาดฉุกเฉินก็จะมีการลดถอยตามสัดส่วน 

  นพ.โอภาส กล่าวว่า ดังนั้น ก็ขอชี้แจงว่าทางกระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่จัดหาวัคซีน และจัดสรรให้กับ รพ.หรือหน่วยงานต่างๆ ตามแผนของ ศบค.   แต่การบริหารจัดสรรขึ้นอยู่กับคณะกรรมการโรคติดต่อของแต่ละพื้นที่ หรือหน่วยงาน องค์กรที่ได้รับไปจะต้องมีการบริหารจัดการเอง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"