ชาวพม่าต้านรัฐบาลทหารหันรณรงค์สนับสนุนโรฮีนจา


เพิ่มเพื่อน    

ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาทั้งนักเคลื่อนไหวและพลเรือนชาวพม่าร่วมกันแสดงพลังสนับสนุนชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจา ด้วยการสวมชุดดำถ่ายรูปชูสามนิ้วต่อต้านรัฐประหารแล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ดันแฮชแท็ก "สีดำเพื่อโรฮีนจา" ฮิตติดเทรนด์ทวิตเตอร์เมียนมา

    รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564 กล่าวว่า การรณรงค์ของฝ่ายต่อต้านรัฐประหารเมียนมา ซึ่งขยายวงกว้างรวมถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆ ของเมียนมาด้วย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนชาวเมียนมาในระดับกว้างขวางอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก จากที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงความเห็นใจต่อชะตากรรมของชาวโรฮีนจา ที่ถูกมองมาช้านานว่าเป็นพวกที่รุกล้ำข้ามชายแดนมาจากบังกลาเทศ

    หลายสิบปีที่ผ่านมา ชาวโรฮีนจาถูกปฏิเสธสัญชาติเมียนมา, ไม่มีสิทธิและไม่สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐ และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ

    เมื่อวันอาทิตย์ นักเคลื่อนไหวและพลเรือนชาวเมียนมาใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางแสดงการสนับสนุนชาวโรฮีนจา โดยพากันโพสต์ภาพถ่ายสวมชุดสีดำ ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วต่อต้านรัฐประหาร พร้อมติดแฮชแท็ก "#Black4Rohingya" ลงโซเชียลมีเดีย

    "พวกคุณทุกคนและพวกเราทุกคนในเมียนมาต้องได้รับความยุติธรรม" ทินซา ชุนเล ยี นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิคนดังของเมียนมา เขียนลงทวิตเตอร์

    สื่อท้องถิ่นยังเผยแพร่ภาพการชุมนุมประท้วงขนาดเล็กที่นครย่างกุ้ง โดยผู้ประท้วงสวมชุดดำชูป้ายภาษาพม่าว่า พวกเขากำลังประท้วงเพื่อชาวโรฮีนจาที่โดนกดขี่

    ถึงช่วงบ่ายวันอาทิตย์ แฮชแท็กสีดำเพื่อโรฮีนจาติดเทรนด์นิยมในทวิตเตอร์เมียนมา โดยมีการกล่าวถึงมากกว่า 180,000 ครั้ง

    การแสดงความสนับสนุนชาวมุสลิมโรฮีนจาโดยชาวเมียนมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธเชื้อสายพม่า ในวันอาทิตย์ เป็นท่าทีที่แตกต่างอย่างยิ่งจากเมื่อหลายปีก่อน ที่แม้แต่การใช้คำเรียก "โรฮีนจา" ยังเป็นชนวนก่อความขัดแย้งได้

    การปราบปรามนองเลือดของกองทัพเมียนมาที่รัฐยะไข่เมื่อปี 2560 ผลักดันให้ชาวโรฮีนจาราว 740,000 คน หนีข้ามชายแดนเข้าสู่บังกลาเทศ พร้อมกับคำบอกเล่าเรื่องการข่มขืน, ฆ่าหมู่และวางเพลิง แต่กองทัพเมียนมาอ้างเหตุผลสนับสนุนการปราบปรามว่าเพื่อกำจัดกลุ่มก่อความไม่สงบที่โจมตีที่มั่นของฝ่ายความมั่นคงและสังหารเจ้าหน้าที่ นางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนยังเคยเดินทางไปกรุงเฮกด้วยตนเอง เพื่อต่อสู้คำกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

    โร เน ซัน ลวิน นักเคลื่อนไหวชาวโรฮีนจาคนดังซึ่งมีฐานอยู่ในยุโรป กล่าวกับเอเอฟพีว่า มีความพยายามรณรงค์ทางออนไลน์ทุกปีเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ แต่การรณรงค์เมื่อวันอาทิตย์เป็นครั้งแรกที่เขาได้เห็นความนิยมที่แพร่สะพัดภายในเมียนมาเช่นนี้

    ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (เอ็นยูจี) ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารที่ประกอบด้วยอดีตสมาชิกรัฐสภา แกนนำชนกลุ่มน้อยและฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร ก็เคยออกแถลงการณ์หยิบยื่นไมตรีต่อชาวโรฮีนจา โดยเชิญให้พวกเขามาจับมือและมีส่วนร่วมในการปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิ

    รัฐบาลทหารเมียนมาระบุว่าเอ็นยูจีเป็นพวกก่อการร้าย ขณะที่พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ปฏิเสธคำเรียกโรฮีนจา โดยกล่าวว่าเป็นคำที่สมมติขึ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"