กรมการแพทย์รักษ์โลกสั่งรพ.ในสังกัดเลิกใช้ถุงพลาสติกรับยา แจกถุงผ้าให้ใส่แทน


เพิ่มเพื่อน    


 

4มิ.ย.61 -กรมการแพทย์ สั่งโรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดเลิกใช้ถุงพลาสติกใส่ยา  หันมาใช้ถุงผ้าแทน เริ่ม 1ต.ค.นี้ เผยรพ.ใช้ถุงพลาสติกใส่ยาปีละกว่า 9 ล้านใบ กลายเป็นขยะ ทำลายสิ่งแวดล้อม

 


 ที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  มีการแถลงข่าว “กรมการแพทย์รักษ์โลก พกถุงผ้าใส่ยากลับบ้าน”โดย  นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า  ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาสำคัญของดลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งแม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง แต่ก็มีความเกี่ยวเนื่องกันเพราะเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยของประชาชน โดยสาเหตุมาจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ตลอดจนปัญหาจากขยะ และในวันที่ 5 มิ.ย.ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งในปี 2561ประเด็นหลักในการรณรงค์ คือ “Beat Plastic Pollution”และมีคำขวัญว่า “รักษ์โลก เลิกพลาสติก” โดยถุงพลาสติกต้องใช้เวลา 450 ปี ในการย่อสลาย โดยกรมการแพทย์มีการใช้ถุงพลาสติกจำนวน 9 ล้านใบ คิดเป็นเงิน2.5ล้านบาทซึ่งหากสามารถลดการใช้ได้จะสามารถลดปัญหาขยะและค่าใช้จ่ายได้มาก ดังนั้น จึงมีการรณรงค์ให้สถาบัน/โรงพยาบาลของกรมการแพทย์จำนวน 30 แห่ง ให้เลิกใช้ถุงพลาสติก โดยหันมาใช้ถุงผ้าใส่ยากลับบ้านแทน โดยขณะนี้ พบว่า 18 แห่งได้มีการยกเลิกการใช้ไปแล้ว อาทิ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี และอีก 12 แห่ง กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการ โดยกำหนดว่า ในวันที่ 1 ต.ค.นี้จะต้องมีการยกเลิกการใช้ในทุกหน่วยงาน


นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาขยะถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งในขณะที่ตนดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ได้เดินทางไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใน จ. บุรีรัมภ์ เราพบว่ามีการป่วย จากปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ จำพวกจอคอมพิวเตอร์ จอทีวี ที่มีการเอามาทิ้ง จำนวนมากเนื่องจากได้รับพิษจากสารตะกั่ว โดยโรคที่พบจากขยะดังกล่าว เช่นโรคโลหิตจาง โรคผิวหนังจากการปนเปื้อน ภูมิแพ้จากการสัมผัส และหากผิวหนังได้รับสารปรอทเข้าไปสู่ร่างกาย อาจทำให้ตับวาย ไตวาย ได้ นอกจากนี้ในเด็ก จะพบภาวะสมองเสื่อม ชัก เพราะบางทีพ่อแม่ทำงานทาสี แล้วเด็กนำมาเข้าปาก กินบ้าง ทั้งนี้การที่จะไปห้ามประชาชนทำ เป็นสิ่งที่ยาก แม้ว่าชาวบ้านบางส่วนจะรู้ว่าเสี่ยง บางคนก็มีการป้องกันโดยการใส่ถุงมือในการสัมผัส เพราะรายได้จากการนำไปขายดีมาก บางครั้งก็ทำเป็นทอดๆมีการชำแหละแบ่งส่วนกันไปขายอย่างไรก็ตาม ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะจากพลาสติกหรือขยะ พิษนั้นตัวเลขจริงๆ ยังอยู่ระหว่างรวบรวม เนื่องจากมีการทำงานร่วมกันหลายส่วน ซึ่งได้มอบหมายให้ทาง รพ.นพรัตน์ฯ ประสานขอข้อมูลกับทาง กรมควบคุมโรคแล้ว ซึ่งแม้ว่าจะพบผู้ป่วยมากขึ้น แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่า เกิดจากอัตราโรคที่เพิ่มขึ้นจริงๆ หรือการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพที่มากขึ้นจึงทำให้พบมากขึ้นหรือไม่ 


สำหรับงบในการจัดเตรียมถุงผ้านั้น จากที่ตระเวนตรวจเยี่ยมตาม รพ.ต่างๆในสังกัด พบว่ามาจาก 2 ส่วน คือ 1.รพ.เตรียมเอง โดยในครั้งแรกเป็นการประชาสัมพันธ์ก็จะแจกฟรี แต่หากครั้งต่อไปไม่ได้ถือถุงผ้าที่แจกฟรีมาโรงพบาบาลก็จะต้องเก็บเงินในการให้ถึงผ้าใบใหม่ หรือ 2 . บางทีได้จากการทำจิตอาสา เช่น รพ.ธัญลักษณ์  ให้ผู้ป่วยได้เย็บถุงผ้าเพื่อเป็นการบำบัดฟื้นฟู นอกจากนี้บางแห่งก็มีคนให้การสนับสนุนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ จากการสำรวจและจัดทำแบบสอบถามภายหลังดำเนินกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ปี 2560 – 2561 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนเข้าใจ เห็นด้วยกับมาตรการนี้ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"