'ผศ.ดร.วรัชญ์'เฉลยวัคซีนที่ใช้เป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จในการเปิดประเทศจริงหรือ?


เพิ่มเพื่อน    

19 มิ.ย.64- ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก  Warat Karuchit ว่าวัคซีนที่ใช้ เป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จในการเปิดประเทศจริงหรือ? 

มีคนส่งภาพนี้ของสื่อแห่งหนึ่งมาให้ผมดู ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบสามประเทศ ซึ่งฉีดวัคซีนสามยี่ห้อที่ต่างกัน ซึ่งวัคซีนที่ไทยใช้สองยี่ห้อนั้นเป็นตัวอย่างของการเปิดประเทศไม่สำเร็จ ซึ่งดูแล้วใครๆก็คงตีความได้ว่า ยี่ห้อของวัคซีนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงของความสำเร็จของการเปิดประเทศ และไทยเปิดประเทศไม่สำเร็จแน่นอน เพราะใช้วัคซีนสองยี่ห้อนี้ ผมเลยลองมาวิเคราะห์ดูว่ามันเป็นจริงหรือไม่นะครับ  

-- เคสของประเทศชิลี --  

ประเทศชิลีฉีด Sinovac เป็นหลัก และเกิดการระบาดระลอกใหม่จริง 

... แต่สิ่งที่สื่อไม่ได้พูด คือ ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า กรณีชิลีนั้นมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดการระบาดแม้ว่าจะฉีดวัคซีนระดับสูง นั่นคือ 

- รัฐบาลชิลีประมาท ที่ยกเลิกการล็อกดาวน์เร็วเกินไป และเปิดประเทศให้ประชาชนท่องเที่ยวได้อย่างไม่จำกัด รวมทั้งเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เดือน พ.ย.  แต่เริ่มฉีดวัคซีนเดือน ธ.ค. ดังนั้นในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ที่เป็นวันหยุดยาวของชิลี ประชาชนจำนวนมากจึงเดินทางท่องเที่ยวและไปเยี่ยมญาติทั้งที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 

- นอกจากนั้น การที่รัฐบาลชิลีรณรงค์ว่าการฉีดวัคซีนจะช่วยทำให้โควิดหมดไป ทำให้คนที่ฉีดเข็มแรก หรือแม้แต่ยังไม่ได้ฉีด เกิดความประมาท คิดว่าพอเริ่มฉีดวัคซีน ก็จะไม่มีการแพร่ระบาดแล้ว

- ยิ่งไปกว่านี้น ชิลียังโชคร้ายต้องเจอกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์บราซิล ที่แพร่ระบาดเร็วกว่าเดิม และลดประสิทธิภาพของวัคซีนด้วย (ส่วนอิสราเอล ไม่มีโควิดสายพันธุ์ของประเทศตัวเอง หรือประเทศใกล้เคียงในภูมิภาค) 

-- เคสของประเทศอังกฤษ --

ประเทศอังกฤษฉีด AstraZeneca เป็นหลัก และเกิดการระบาดจนต้องเลื่อนการเปิดประเทศจริง ... แต่สิ่งที่สื่อไม่ได้พูดคือ

- ตั้งแต่เดือน มี.ค. อังกฤษ ก็เริ่มแผนเปิดประเทศ แล้วก็เริ่มเปิดมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ รร. ร้านอาหาร ผับ บาร์ โรงแรม การรวมตัวกัน และใครที่ดูฟุตบอลก็คงเห็นว่านัดสุดท้ายของฤดูกาล ก็อนุญาตให้แฟนบอลจำนวนหนึ่งเข้าไปชมในสนามได้ จนถึงเฟสสุดท้ายที่จะเปิดทุกอย่างเหมือนเดิม แต่เมื่อเจอสายพันธุ์เดลต้า จึงต้องยืดเวลาเฟสสุดท้ายออกไปอีก 1 เดือน แต่ก็ไม่ได้มีการประกาศย้อนไปปิดประเทศแต่อย่างใด (แถมนายกบอริส จอห์นสัน ยังยืนยันว่า AstraZeneca ป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ดี) 

- แต่บางประเทศใกล้เคียงที่ใช้วัคซีน AZ อย่างไอร์แลนด์ และเวลส์ ก็ยังควบคุมสถานการณ์ได้ดี ไอร์แลนด์เตรียมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเร็วๆนี้ ส่วนเวลส์ก็สามารถจัดคอนเสิร์ตรวมได้ถึง 14,000 คน  

- และสิ่งที่สื่อไม่ได้พูดอีกข้อคือ ที่อังกฤษ ไม่ได้ฉีดวัคซีน AZ อย่างเดียวตามภาพ แต่ในจำนวนวัคซีนที่สหราชอาณาจักรฉีดไปทั้งหมดประมาณ 70 ล้านโดสนั้น เป็นวัคซีน AstraZeneca 61% ที่เหลือเป็นวัคซีนของไฟเซอร์ 38% และโมเดิร์นน่า 1% 

ข้อสรุปของโพสต์ผมอันนี้ก็คือ การสรุปว่าชนิดของวัคซีนเป็นปัจจัย "ชี้ขาด" ความสำเร็จของการเปิดประเทศ นั้นน่าจะเป็นการสรุปที่ "ง่ายเกินไป" แน่นอนว่าประสิทธิภาพของวัคซีน ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ แต่ก็คงยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆอีกหลายประการ โดยเฉพาะนโยบายและการบริหารของรัฐบาล และการทำตามมาตรการควบคุมโรคของประชาชน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของวัคซีนที่ฉีดอย่างเดียวเท่านั้น 

อ้อ แล้วก็ไม่แน่ใจว่าทำไมไม่ยกตัวอย่าประเทศจีนด้วยนะครับ ทั้งประเทศฉีดแค่สองยี่ห้อ คือ Sinovac กับ Sinopharm แต่ล่าสุดก็มีผู้ติดเชื้อหลักสิบเหมือนอิสราเอลเลยครับ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"