ถ้าจะจับฉันบังคับให้เซ็นอะไรที่หลอกลวงราษฎรแล้ว - เป็นยิงตัวตาย!


เพิ่มเพื่อน    


พระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 ก็ทรงมีความคิดริเริ่มจะให้มีการปกครองในระบอบประชาธิไตยในประเทศไทยแล้ว แต่ทรงวินิจฉัยว่า ประชาชนยังไม่พร้อมกับการปกครองที่ประชาชนจะมีอำนาจในการปกครอง เพราะประชาชนยังขาดการศึกษา ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การที่มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน ที่เข้าใจและจะขึ้นมามีอำนาจปกครองประเทศจะเป็นอันตรายมากกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชน 

พระมหากษัตริย์จึงทรงกระทำการแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ให้การศึกษาโดยส่งคนไปเรียนต่อต่างประเทศ รัชกาลที่ 6 สร้างดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองเพื่อฝึกข้าราชการให้เรียนรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตย และพอถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ก็ทรงเตรียมล่างรัฐธรรมนูญ

ในขณะเดียว ข้าราชการที่ได้รับทุนจากพระมหากษัตริย์ให้ไปเรียนต่อในต่างประเทศจำนวนหนึ่งได้เริ่มก่อตั้งกลุ่ม ตั้งคณะเพื่อจะปฎิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมิได้คำนึงความไม่พร้อมของประชาชนตามข้อวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ และมากระทำการสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 7

ซึ่งนับถึงปัจจุบันข้อวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์ก็ยังคงถูกต้อง  เพราะการชิงสุกก่อนห่ามทำให้ประชาชนยังคงไม่เข้าใจประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ยังคงมีคนเพียงบ้างกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากการปกครองประเทศ

ก่อนวันที่คณะราษฎร์จะประกาศปฎิวัติยึดอำนาจจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 นั้น พระองค์ได้ทรงร่างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่พระองค์ได้เตรียมการที่จะมอบรัฐธรรมนูญการปกครองในระบอบประชาธิไปไตยให้ประชาชนเรียบร้อบแล้ว 

และในวันที่เสด็จแปรพระราชฐานไปวังไกลกังวลที่หัวหิน ได้ทราบนำรัฐธรรมนูญฉบับร่างนั้นไปด้วย เพื่อทบทวน ตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย แต่คณะราษฎร์ได้ใช้โอกาสที่พระเจ้าอยู่หัวแปรพระราชฐานนั้นทำการปฎิวัติ

คณะราษฎร์ได้ให้เหตุผลส่วนหนึ่งของการปฎิวัติที่ให้ร้ายต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายประการ 
และหลังจากปฎิวัติสำเร็จ พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมดที่เคยรับราชการบริหารงานแผ่นดินกับรัชกาลที่ 7 ต้องตกระกำลำบาก เช่นกรมพระยาดำรงราชานุภาพต้องย้ายไปอยู่ที่ปีนัง ไม่มีเงินแม้กระทั่งจะซื้อหนังสือซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์รักได้ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เป็นข้าราชการตำแหน่งใหญ่ที่สุด โดนยึดบ้าน (ปัจจุบันคือแบงค์ชาติ) ต้องย้ายไปอยู่ที่อินโดนีเซีย

และหลังจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้ยอมลงพระนามกับคณะราษฎร์แล้ว ได้เกิดข้อพิพาทหลายครั้งระหว่างคณะราษฎร์และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ในเรื่องที่ไม่องค์ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญในหลายๆ ข้อ จนนำมาสู่การเสด็จไปอยู่ที่อังกฤษ ตามมาด้วยการสละราชสมบัติและสวรรคตที่อังกฤษในที่สุด

......................................................................

จากบันทึกไว้ในหนังสือ "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งเล่าว่า

ไม่ช้าก็มีเสียงติติงว่าในหลวงขี้ขลาด จะเสด็จไปไหนก็พกเอาปืนเล็กไปด้วยติดพระองค์ พวกเจ้าบางคนหัวเราะเยาะว่าปืนเล็กเท่านั้นจะไปทำอะไรใครได้

แต่ข้าพเจ้าได้ยินในหลวงตรัสว่า

"ปืนนี้มีลูกอยู่ 2 ลูก ลูกหนึ่งสำหรับหัวหญิง (สมเด็จพระราชินี) ก่อนลูกหนึ่ง แล้วฉันเองหนึ่งลูกเป็นเสร็จ เพราะถ้าจะจับฉันบังคับให้เซ็นอะไรที่หลอกลวงราษฎรแล้ว - เป็นยิงตัวตาย!"

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัส หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

.......................................................................

หลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมพรรษา 47 พรรษา ที่ประเทศอังกฤษ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย บันทึกไว้ว่า

“เสด็จพ่อ (กรมพรยาดำรงราชานุภาพ)ทรงรับหนังสือพิมพ์ไปทอดพระเนตรแล้วก็ปล่อยโฮออกมาพักใหญ่.

เราซึมเซาไปหลายวัน, เพราะความหวังที่จะรวมคนไทยได้มาหมดไปอย่างไม่นึกคิด.

เราหวังอย่างสนิทว่าโชคร้ายต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว, จะถวายความรู้และความสำเร็จแก่พระปกเกล้าฯ ได้ดีกว่าแต่ก่อน.”

.......................................................................

อัษฎางค์ ยมนาค

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"