'หมอธีระ'แนะรัฐบาลสื่อสารความจริงให้ชัดเจนลดวิกฤติศรัทธาปชช.


เพิ่มเพื่อน    

28 มิ.ย. 64 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่าสถานการณ์ทั่วโลก 28 มิถุนายน 2564 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 304,046 คน รวมแล้วตอนนี้ 181,846,798 คน ตายเพิ่มอีก 5,653 คน ยอดตายรวม 3,938,424 คน

5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ อินเดีย บราซิล โคลอมเบีย อินโดนีเซีย และรัสเซีย

อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 4,638 คน รวม 34,494,575 คน ตายเพิ่ม 92 คน ยอดเสียชีวิตรวม 619,434 คน อัตราตาย 1.8% 

อินเดีย ติดเพิ่ม 46,592 คน รวม 30,278,912 คน ตายเพิ่ม 973 คน ยอดเสียชีวิตรวม 396,753 คน อัตราตาย 1.3% 

บราซิล ติดเพิ่ม 33,704 คน รวม 18,420,598 คน ตายเพิ่มถึง 655 คน ยอดเสียชีวิตรวม 513,474 คน อัตราตาย 2.8%  

ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 1,578 คน ยอดรวม 5,770,021 คน ตายเพิ่ม 17 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,968 คน อัตราตาย 1.9%

รัสเซีย ติดเพิ่ม 20,538 คน รวม 5,451,291 คน ตายเพิ่ม 599 คน ยอดเสียชีวิตรวม 133,282 คน อัตราตาย 2.4% 

อันดับ 6-10 เป็น ตุรกี สหราชอาณาจักร อาร์เจนติน่า อิตาลี และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น

แถบอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย อย่างชิลี โบลิเวีย แซมเบีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพัน ยกเว้นแอฟริกาใต้ยังเกินหมื่น

แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นคาซักสถาน และมองโกเลียที่ยังหลักพัน 

แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน 

เกาหลีใต้ เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ไต้หวัน ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกงติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

...สงครามโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดในรอบ 102 ปีนั้นยังคงลามต่อเนื่องมากว่า 1.5 ปี แม้โลกจะเริ่มมีอาวุธป้องกันอย่างวัคซีนมาใช้ แต่ยังเจอปัญหาท้าทายทั้งเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ความเพียงพอ ความครอบคลุม และเรื่องไวรัสที่กลายพันธุ์

บางประเทศในโลกสามารถจัดการการระบาดได้ดี เช่น อเมริกา แม้จะเคยระบาดหนักมากถึงราวสี่แสนคนต่อวัน แต่การเลือกใช้ความรู้ที่ถูกต้องมาชี้นำนโยบาย ปรับรูปแบบการบริหารจัดการของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง mRNA vaccines ก็พิสูจน์ให้โลกเห็นได้ว่าสามารถกดการระบาดลงมาได้ถึง 100 เท่า จนล่าสุดลดลงมาเหลือเพียง 4,638 คน

บางประเทศ อย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดการของภาครัฐ มีนโยบายที่เข้มแข็งชัดเจน ใช้มาตรการล็อคดาวน์ระยะสั้นเพื่อจัดการโรคระบาดตั้งแต่เนิ่นๆ แม้เจอไม่กี่เคสก็รีบล็อคดาวน์และปูพรมตรวจในพื้นที่เสี่ยง ก็ทำให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตปกติได้เร็ว ช่วยลดจำนวนคนป่วยและคนเสียชีวิตได้ และประคองเศรษฐกิจไปได้พร้อมกัน ในขณะที่เรื่องวัคซีนที่ใช้ ก็เน้นการใช้ความรู้ที่ถูกต้อง เลือกชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย ตัวใดมีความเสี่ยงชัดเจน ก็ตัดสินใจที่ปรับเปลี่ยน

สำหรับไทยเรา ตอนนี้สถานการณ์การระบาดรุนแรง กระจายไปทั่ว ไม่ได้จำเพาะเจาะจงกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทุกคนในสังคมล้วนมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้เสมอ ดังนั้นจึงต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด

...การสื่อสารสาธารณะ จำเป็นจะต้องบอกความจริง ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ประชาชนกำลังเผชิญ ก็จะทำให้สร้างความเชื่อมั่นได้

...แผนในการจัดการโรคระบาดนั้น รายละเอียดของทุกมาตรการควรได้รับการบอกกล่าวเล่าแจ้งแก่ประชาชน เพื่อให้ได้ทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมตัวเตรียมใจ และร่วมแรงร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้ 

...สัจธรรมที่เราเห็นจากบทเรียนทั่วโลกคือ การใช้ความรู้ที่ถูกต้อง วางแผนเป็นระบบ โปร่งใส เลือกใช้คนให้ถูกคนถูกงาน เลือกอาวุธต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพจริง และสื่อสารความจริงอย่างชัดเจน ก็จะทำให้มีโอกาสชนะศึกได้มากขึ้น    

หาไม่แล้ว ก็จะเกิดปัญหาทั้งเรื่องการหลงทิศหลงทาง (loss of direction), ความหวาดกลัวที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมของผู้ปฏิบัติงานหน้างานเพราะสับสนในทิศทาง (Pervasive fear), การบริหารจัดการและดำเนินการล้มเหลว (Implementation failure) และวิกฤติ

ความเชื่อมั่นศรัทธา (Crisis of trust) และจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การเจ็บป่วยมากมาย และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว

ผลลัพธ์ของการจัดการระลอกสองและสามที่ผ่านมากว่าครึ่งปี ชี้ให้เห็นชัดเจน ถึงเวลาที่ควรปรับเปลี่ยนกลไกนโยบายสุขภาพท่องเที่ยวเดินทาง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับประชาชนอย่างพวกเราทุกคน ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"