สายพันธุ์อินเดียบุกกทม. สัปดาห์เดียวเพิ่ม331ราย


เพิ่มเพื่อน    

28 มิ.ย. 64 - ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวสถานการณ์เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ในประเทศไทย ว่า การเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนเม.ย.2564 พบสายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวลต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย โดยจะเห็นว่าสัดส่วนสายพันธุ์เริ่มเปลี่ยนแปลง สายพันธุ์เดลตา(อินเดีย) สัปดาห์วันที่ 13 มิ.ย. พบ 9.76% สัปดาห์วันที่ 13-20 มิ.ย. เพิ่มเป็น 10.43% และสัปดาห์ที่ 20-27 มิ.ย. เป็น 12.30% ขณะที่ สายพันธุ์เบตา(แอฟริกาใต้) เพิ่มขึ้นช้าๆ จาก 0.61% เป็น 1.39% ที่ส่วนใหญ่พบใน จ.นราธิวาส

ทั้งนี้แยกพื้นที่ระหว่างกรุงเทพมหานคร และภูมิภาค พบว่า ภาพรวมของ กทม. สายพันธุ์เดลตาเพิ่มขึ้นจาก 23.67% เป็น 25.66% ขณะที่ในภูมิภาคเพิ่มจาก 2.58% เป็น 5.05% นั่นหมายความว่าสายพันธุ์เดลตามีสัดส่วนมากขึ้น  ทำให้เราเข้าใจว่าในต่างจังหวัด กว่า 90% ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ) ส่วนพันธุ์เดลตาพบบ้าง แต่พบชุกชุมในกทม.

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า จากภาพรวมทั้งประเทศ สายพันธุ์เดลตา มีอัตราเฉลี่ยสะสม 12.30% แต่ข้อมูลเฉพาะในสัปดาห์นี้ สัดส่วนของสายพันธุ์เดลตา ขยับมาอยู่ที่ 16.59% และเพิ่มมากที่สุดคือ กทม. คิดเป็น 1 ใน 3 ของทั้งหมด ส่วนภูมิภาคเดลตาขยับเพิ่มเป็น 7.34% อย่างไรก็ตามหากอัตรายังเป็นแบบนี้ คาดว่าอีก 2-3 เดือน สายพันธุ์เดลตา ในกทม. อาจจะมากกว่าสายพันธุ์อัลฟาเดิม ทั้งนี้ข้อมูลในสัปดาห์นี้ พบสายพันธุ์เดลตาเพิ่ม 459 ราย รวมเป็น 1,020 ราย สายพันธุ์เบต้า เพิ่มอีก 89 ราย สะสม 127 ราย

ข้อมูลการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ล่าสุด (21-27 มิถุนายน 2564) สายพันธุ์เดลตาจากเดิม      661 ราย พบเพิ่มอีก 459 ราย ในเขตสุขภาพที่ 1, 2, 3, 4, 6, 7, 8, 12 และมากที่สุดในเขตสุขภาพที่ 13 (กรุงเทพฯ)  จำนวน 331 ราย  ซึ่งก่อนหน้านี้ช่วงระหว่าง เมษายน-20 มิถุนายน พบสายพันธุ์เดลต้าแล้ว 491 ราย เมื่อรวมกับยอดที่พบใหม่ อีก 331 ราย  ทำให้เฉพาะกทม. มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าจำนวน 822 ราย 
 

นอกจากนี้ ยังพบใน นครสวรรค์ 11 ราย , อยุธยา 7 ราย , กาฬสินธุ์ 6 ราย , อุดรธานี 23 ราย , สกลนคร 22 ราย , เลย 20 ราย , หนองบัวลำภู 12 ราย , พะเยา เพชรบูรณ์ ชลบุรี มหาสารคาม จังหวัดละ 1 ราย , อุทัยธานี หนองคาย จังหวัดละ 2 ราย , ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครพนม 3 ราย และ อุตรดิตถ์ บึงกาฬ จังหวัดละ 4 ราย โดยสังเกตได้ว่าเขตสุขภาพที่ 8 มีเกือบครบทุกจังหวัด ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่พบว่า คนจากกทม. เช่น แคมป์คนงาน เดินทางกลับบ้าน ซึ่งขณะนี้รัฐพยายามเข้าไปควบคุมดูแล เพราะข้อมูลทำให้เห็นว่ามีการกระจายนอกจากสายพันธุ์อัลฟ่า ยังมีสายพันธุ์เดลตาไปด้วย

นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเดิมภาคใต้ไม่มีสายพันธุ์เดลตา แต่วันนี้เราพบที่ นราธิวาส 2 ราย จากการสอบสวนโรคพบว่า เป็นผู้ที่เข้ามาจากรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ขณะที่สายพันธุ์เบต้าเพิ่มขึ้นมา 89 รายในสัปดาห์นี้ เป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 1 ราย ยังมีรอผลตรวจอีก 3 ราย นราธิวาส 84 ราย ส่วน ยะลา 2 ราย พัทลุง 1 ราย เชื่อมโยงคลัสเตอร์โรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคใต้ และ กทม. 1 ราย ซึ่งเป็นที่น่าสนใจของประชาชน แต่ย้ำว่าไม่ได้เป็นการเจอจากในพื้นที่กทม. จากการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ติดเชื้อในกทม. เป็นลูกจ้างในตลาดแห่งหนึ่ง โดยลูกชายจากนราธิวาส เดินทางมาเยี่ยม ในขณะที่เดินทางมาถึงยังไม่มีอาการ แต่เมื่อกลับไปที่นราธิวาสเริ่มไม่สบายแล้วไปตรวจพบเชื้อ จะมีการสอบสวนโรคมาที่ครอบครัวใน กทม. พบว่า พ่อติดเชื้อเช่นกัน ในขณะที่ญาติก็ติดเชื้อเช่นกันและอยู่ในระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรมสายพันธุ์

ส่วนเพื่อนร่วมงานอีก 6-7 ราย ไม่พบเชื้อ จึงสันนิษฐานได้ว่าผู้ป่วย 1 ราย ในกทม. ติดเชื้อมาจากลูกชายที่มาเยี่ยม แม้ขณะที่ไม่มีอาการแต่ก็สามารถแพร่เชื้อได้ โดยขณะนี้พบ 1 รายเรายังล็อกได้อยู่ ซึ่งก็อาจจะหายไป ไม่พบเพิ่มในสัปดาห์หน้า ดังนั้นเราจึงกังวลคือสายพันธุ์เดลตา ที่กำลังคืบคลาน และมีสัดส่วนมากขึ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"