‘เวิลด์แบงก์’ชี้โควิดทำแรงงานไทยเตะฝุ่น 7 แสนคน


เพิ่มเพื่อน    

 

29 มิ.ย. 2564 นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) กล่าวในงานสัมมนา เปิดตัวรายงาน “ภาวะประชากรสูงวัยและตลาดแรงงานในประเทศไทย” ว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ถือเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นประเด็นท้าทายต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงตลาดแรงงาน ซึ่งรัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลไกในการคุ้มครองทางสังคม ตลาดแรงงาน รวมถึงประชากรสูงวัยที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นให้สามารถรับมือและเข้าใจกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

“ภาวะประชากรสูงวัยในไทย ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในไทย และอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคตได้ ดังนั้นการมีนโยบายที่ดี จึงมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนตลาดแรงงานอย่างมาก และทำให้ตลาดแรงงานไทยมีความยั่งยืน ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดี” นางเบอร์กิท กล่าว

นางสาวฟรานเชสก้า ลามานน่า นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมถึงการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งและเป็นแรงกดดันสำหรับตลาดแรงงานในไทย โดยงานหลายอย่างถูกแทนด้วยระบบอัตโนมัติ นั่นหมายความว่าแรงงานจะต้องมีการเพิ่มทักษะให้มากขึ้น ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญและเป็นโอกาสที่ดีของตลาดแรงงานไทยที่จะเร่งดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนผ่านที่จะเกิดขึ้น แต่ปัจจัยเสี่ยงเรื่องภาวะประชากรสูงวัยในตลาดแรงงานไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานไทย และจะมีผลสูงมากในเรื่องการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือน

ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า อัตรากำลังของวัยทำงานในตลาดแรงงานไทยลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ในส่วนของไทยมีอัตรากำลังวัยทำงานหดตัวเป็นอันดับ 3 รองจากเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ขณะที่ประชากรสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี กลับมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก 7% เป็น 14% โดยที่สหรัฐฯ ใช้เวลาถึง 69 ปีสำหรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรในลักษณะดังกล่าว

นอกจากนี้ไทยยังมีแรงงานนอกระบบมากกว่า 50% ของกำลังแรงงานทั้งหมด สะท้อนว่าแรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคม และการดูแลด้านสุขภาพโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ขณะที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไทยยังประสบปัญหาความยากจนอยู่ แต่ปัจจุบันอัตราความยากจนค่อย ๆ ดีขึ้น แต่หากไม่มีนโยบายเรื่องการจัดการแรงงานที่ดีพอ งานที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอทำให้ประชากรอยู่ได้อย่างเพียงพอ

นายแฮรี่ โมรอซ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลก กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 2/2563 ตลาดแรงงานไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้ตำแหน่งงาน 7 แสนตำแหน่งหายไปจากตลาดแรงงาน รวมถึงชั่วโมงการทำงานก็ลดลงด้วย ส่งผลกระทบต่ออัตราค่าแรงงานในระบบ ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา แต่เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานอีกครั้ง สะท้อนจากในไตรมาส 1/2564 พบว่า ชั่วโมงการทำงานมีการปรับตัวลดลงกว่าปีก่อน ตรงนี้บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานไทยไม่มีการฟื้นตัว หรือฟื้นตัวได้ช้า แรงงานในภาคอุตสาหกรรมหายไปจำนวนมาก ขณะที่แรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด

“ผลกระทบจากประชากรสูงวัยเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างชัดเจน การหดตัวของวัยทำงานอย่างมากในไทยจะหลายเป็นปัญหาในระยะยาว หากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีนโยบายที่ชัดเจน อาจทำให้ตั้งแต่ปี 2563 – 2583 จะมีแรงงานในวันทำงานลดลงอย่างน้อย 4 ล้านคน ขณะที่ประชากรสูงวัยที่ปรับเพิ่มขึ้น จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงด้วย” นายแฮรี่ กล่าว

นางนภสร ทุ่งสุกใส ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงไตรมาส 1/2564 มีแรงงานที่ต้องออกจากระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 แล้วกว่า 1 ล้านคน ขณะที่ก็มีแรงงานบางส่วนที่สามารถกลับเข้ามาในระบบประกันสังคม รวมถึงแรงงานที่ได้รับการจ้างงานใหม่รวมกว่า 7 แสนคน ส่วนที่เหลือกลายเป็นแรงงานนอกระบบ อาชีพอิสระ หรือไปอยู่ในภาคเกษตร เป็นต้น

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาการขาดรายได้ของแรงงานในระยะสั้นนั้น รัฐบาลได้มีนโยบายในการพยุงรายได้ การเติมเงินให้ผู้ประกันตน เสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการเพื่อพยุงการจ้างงานในระบบผ่านมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมให้แรงงานใหม่ได้มีโอกาสทำงาน ช่วยทำให้ตลาดแรงงานทยอยฟื้นตัวได้ดีขึ้น และสามารถพยุงการจ้างงานในระบบได้หลายหมื่นอัตรา

อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานยังเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดินหน้ามาตรการระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในระบบรายเล็กให้สามารถอยู่รอดได้ โดยการช่วยจ่ายค่าจ้างแรงงานแทนนายจ้าง ไม่เกิน 50% หรือไม่เกิน 6 แสนบาท สำหรับนายจ้างหรือสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีแรงงานไม่เกิน 200 คน ซึ่งสะท้อนว่าในภาวะวิกฤติของโควิด-19 แรงงานที่ถูกกระทบ รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานพยายามดูแลให้มีการรักษาสภาพการจ้างงานในตลาดให้ยาวที่สุด ผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเงินทั้งนายจ้างและแรงงานให้มากที่สุด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"